พม. ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายการคุ้มครองทางสังคมด้านเด็กในระดับพื้นที่ ณ จังหวัดพัทลุง
พม. ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายการคุ้มครองทางสังคมด้านเด็กในระดับพื้นที่ ณ จังหวัดพัทลุง
วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ เทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง นางสาวซาราห์ บินเย๊าะ ที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม เป็นประธานการประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจและเตรียมการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายการคุ้มครองทางสังคมด้านเด็กในพื้นที่ปฏิบัติการจังหวัดพัทลุง
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวภณา ชูเก็น รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโคกม่วง ในการกล่าวต้อนรับ โดยมีผู้แทนหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ ได้แก่ นางนันท์นัดดา ฤทธิ์มนตรี ผู้อำนวยการกองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม นางณิชาพัชฌ์ เพ็ชรพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๑ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง ผู้แทนหน่วยงาน One Home พม.จังหวัดพัทลุง และเจ้าหน้าที่กองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย
นางสาวซาราห์ บินเย๊าะ ที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กและการสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมสำหรับเด็กในบริบทเชิงพื้นที่ จึงได้มีการพัฒนาโมเดล “Child-friendly City” ภายใต้กรอบแนวคิด “5C4F" ซึ่งประกอบด้วย Creative (สร้างสรรค์) Comfort (ปลอดภัย) Connected (เชื่อมต่อ) Child-centred (ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง) Community-based (มีชุมชนเป็นฐาน) Fun (สนุก) For All (สำหรับทุกคน) Friendly (เป็นมิตร) Family-focused (ให้ความสำคัญต่อครอบครัว) เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงกับกลไกที่มีอยู่ในพื้นที่และส่งเสริมการบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มแข็งและให้ความสำคัญต่อการพัฒนา “คน” ในทุกช่วงวัย ดังเห็นได้จากแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของเทศบาลตำบลโคกม่วง
นอกจากนี้ นางนันท์นัดดา ฤทธิ์มนตรี ผู้อำนวยการกองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม ได้นำเสนอรายละเอียดของโมเดล “Child-friendly City” ภายใต้กรอบแนวคิด “5C4F" และตัวอย่างกิจกรรมสำหรับเด็กอายุระหว่าง 0-6 ปี ได้แก่ กล่องรับขวัญ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด และสำหรับเด็กอายุระหว่าง 7-18 ปี ได้แก่ แอปพลิเคชัน “VNjoin” ลาน “ปัน ฟัน แฟร์” และ Family Plus Package
ซึ่งที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อโมเดลดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดยได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาของเด็กในช่วงวัยรุ่นซึ่งที่สำคัญได้แก่ ปัญหายาเสพติด ตลอดจนได้นำเสนอตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมที่มีการดำเนินการในปัจจุบัน อาทิ โครงการเข้าค่ายฤดูร้อนเพื่อปลูกฝังด้านคุณธรรมตามหลักศาสนาอิสลาม การสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อห่างไกลจากยาเสพติด (Safe Zone For All) นอกจากนี้ ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้แสงความสนใจเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน “VNjoin” เพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทางออนไลน์สำหรับเด็กและเยาวชน
สำหรับในการดำเนินการในระยะถัดไป ที่ประชุมเห็นชอบต่อแนวทางการดำเนินการเชิงป้องกันที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว และส่งเสริมการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เห็นชอบให้มีการขับเคลื่อนโมเดล “Child-friendly City” ภายใต้กรอบแนวคิด “5C4F" โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน “VNjoin” เพื่อเป็นช่องทางในการรวบรวมความต้องการของเด็กในระดับพื้นที่ผ่านกลไกสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งจะมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลโคกม่วง หน่วยงาน One Home พม.จังหวัดพัทลุง สถาบันการศึกษาในพื้นที่ และหน่วยงาน พม. โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”