“20 องค์กรสุขภาพภาคใต้” ร่วมสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน

  • photo  , 1451x1088 pixel , 92,113 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 167,932 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 169,642 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 148,714 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 188,292 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 191,326 bytes.
  • photo  , 1000x816 pixel , 142,310 bytes.
  • photo  , 1371x1028 pixel , 98,250 bytes.
  • photo  , 1379x1034 pixel , 101,433 bytes.
  • photo  , 1036x777 pixel , 59,468 bytes.

“20 องค์กรสุขภาพภาคใต้”  สานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน สู่การประกาศเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม และผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

โดยเมื่อวานนี้ (วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2566)  ที่ห้องประชุมโรงแรมอ่าวนางวิลล่า รีสอร์ท ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ ได้มีการประชุมคณะทำงานพัฒนาและขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน

ซึ่งมีหน่วยงานระดับนโยบายอย่างสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ มูลนิธิชุมชนไท และภาคีร่วมพัฒนาอีก 18 องค์กร ประกอบด้วย เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล 5 จังหวัดฝั่งอันดามัน เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด กระบี่-ระนอง-สตูล-พังงา คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 11 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 ศูนย์นิติชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สำนักงานภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคใต้ สมาคมเพื่อนเยาวชนและการพัฒนาสังคมภาคใต้ตอนบน สภาผู้ชมและผู้ฟังฯไทยพีบีเอสและเครือข่ายเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข

เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมระดมความเห็น วิเคราะห์สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ออกแบบวางแผนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เชื่อมโยงและสนับสนุนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน

ในการประชุม มีการระดมความเห็นเพื่อจัดทำนโยบายสาธารณะเชิงประเด็น ส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน และสร้างคณะทำงานสานพลังสู่ สร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ รวมทั้งการประกาศเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม และส่งเสริมสุขภาพกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ที่สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดนโยบายสาธารณะที่ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล

จากกระบวนการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมฯ ทำให้มีประเด็นย่อยที่ภาคีเครือข่ายจะร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะฯ ปี 2566 จำนวน 4 ประเด็นย่อย โดยในแต่ละประเด็นย่อย จะมีหน่วยงานภาคีที่จะเป็นแกนนำ/ผู้รับผิดชอบหลัก และมีแผนงานต่อไป ดังนี้

(1)ประเด็น สถานะบุคคล/การเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ  หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ สปสช.เขต 11 และ กสม. กำหนดแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 7-8 มิ.ย. 2566

(2)ประเด็น นักปกป้องสิทธิชุมชน หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ กสม.

กำหนดแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 31 พ.ค.- 1 มิ.ย. 2566

(3)ประเด็น การพัฒนาคุณภาพชีวิต (เด็กเยาวชนชาวเลเติบโตอย่างสมวัย) หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ มรภ. สมาคมเพื่อเยาวชนฯ,สมัชชากระบี่,พังงา,ระนอง,สตูล,ภูเก็ต

กำหนดแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 26-27 มิ.ย. 2566

(4)ประเด็น การคุ้มครองพื้นที่ทางวัฒนธรรม (พื้นที่ทางจิตวิญญาณ/วิถีชีวิตชาวเล/พื้นที่ทำเล)  หน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ได้แก่ ม.ชุมชนไท,เครือข่ายชาวเลอันดามัน

กำหนดแผนจัดเวทีรับฟังฯ ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย วันที่ 30-31 ก.ค. 2566

โดยศูนย์นิติชาติพันธุ์มหาวิทยาลัยทักษิณ จะมีบทบาทในการสนับสนุนข้อมูล ทบทวนระเบียบกฎหมายที่มีผลกระทบ (เอื้อ- เป็นอุปสรรค) ไม่สอดคล้องกับวิถีฯ/สร้างนักกฎหมายชาติพันธุ์ ทั้ง 4 ประเด็น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น (Issue Health Assembly : IHA)  ประเด็น สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน ต่อไป

สานพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด ร่วมสร้างภาคใต้แห่งความสุข..

ร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพโดย

มูลนิธิชุมชนไท

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน

เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดกระบี่

เครือข่ายสมัชชาอันดามัน

คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต11

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต11

ศูนย์นิติชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.สำนักงานภาคใต้

สมาคมเพื่อนเยาวชนฯ

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส

เครือข่ายเยาวชนชาติพันธุ์ชาวเล

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นายเรียง  สีแก้ว  รายงาน

Relate topics