บทเรียนการขับเคลื่อนภัยพิบัติสู่นโยบายจังหวัดนครศรีธรรมราช
การขับเคลื่อนภัยพิบัติสู่นโยบายจังหวัดนครศรีธรรมราช
เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดนครศรีฯ โดยการสนับสนุนและเสริมความเข้มแข็งของ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคใต้ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของชุมชนและเครือข่ายฯ
เมื่อปี 2560 ภัยพิบัติใหญ่ในพื้นที่ นครศรี และภาคใต้ พอช.สนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนภาคใต้ โดยเฉพาะ นครศรีธรรมราช ได้เริ่มต้นในการเตรียมพร้อมรับมือภัย คือสารตั้งต้น เกินคน เกิดข้อมูล และพื้นที่ปฏิบัติการนำร่อง
มูลนิธิชุมชนไท โดยการสนับสนุนของ สสส. ได้เข้ามาต่อยอด เชื่อมโยงและพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชน ในการทำแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ จนนำไปสู่การก่อเกิด เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติฅนนคร
เครือข่ายฯ โดยทีมคณะทำงานเครือข่าย ได้ใช้ความรู้ ทักษะ ทั้งหมด ในการพิสูจน์ การมีอยู่ของเครือข่ายฯ เมื่อพื้นที่ไหนเกิดภัยพิบัติ ตั้งแต่น้ำท่วม ปี 62 และเหตุภัยพิบัติใหญ่อย่างพายุ ปาบึก เป็นบททดสอบที่สำคัญ ว่า ชุมชนสามารถรับมือภัยพิบัติได้ อย่างปลอดภัย แม้ภัยพิบัติใหญ่ แต่ คนนคร รับมือได้ อย่างทรนง และเข้าช่วยเหลือ สนับสนุนพื้นที่ต่างๆ ตามทฤษฎี “ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเอง ช่วยเขาให้อยู่ได้อย่างปลอดภัย และช่วยเขาให้เขาช่วยคนอื่นได้”
การขับเคลื่อนผ่านตัวตนของเครือข่าย โดยมีฐานที่มั่นที่ก่อเกิดจากสภาองค์กรชุมชน จนได้รับความร่วมมือของ หน่วยงาน อปท. /ท้องที่ /สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครศรีธรรมราช ในการพัฒนาทักษะของอาสาสมัครภัยพิบัติชุมชน กว่า 100 คน ที่พร้อมเผชิญเหตุในพื้นที่
จากรูปธรรมสู่นโยบาย ภายใต้โครงการ การบริหารจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมหลัก การต่อเรือเพื่อชุมชนในการเตรียมรับมือน้ำท่วมในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยงบยุทธศาสตร์จังหวัด เสริมศักยภาพให้ชุมชนต่อเรือ โดยชุมชน รวม 50 ลำ
วันที่ 19 เมษายน 2566 นายสายัน กิจมโน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโครงการอบรม ที่ ศูนย์เครือข่าย ต.ท่าเสม็ด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
โดยมีผู้เข้าร่วม 90 คน จากพื้นที่เป้าหมาย 9 ตำบล และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ชื่นชม และสนับสนุนโครงการ “โครงการนี้ตอบโจทย์พื้นที่จริง เพราะผู้เข้าร่วมสามารถทำเรือเองได้ ซ่อมเรือเองได้ และเป็นเจ้าของเรือจริง ใช้งานได้ในพื้นที่จริง” ไม่ใช่เรือแจก
จากรูปธรรมเล็กๆในพื้นที่ ขยายไปสู่นโยบาย การจัดการภัยพิบัติชุมชน นโยบายส่งเสริมชุมชน และสนับสนุนให้ชุมชนจัดการภัยได้ด้วยตัวเอง
มูลนิธิชุมชนไท พอช. และ สสส. เป็นเพียงกลไกหนุนเสริมให้ชุมชน เครือข่ายเติบโตและเข้มแข็งได้ด้วยตัวเองจนสามารถเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายระดับจังหวัดได้ด้วยเครือข่ายองค์กรชุมชน
ไมตรี จงไกรจักร บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- Health Protect สร้างสรรค์ไอเดียของคนรุ่นใหม่ลดปัจจัยเสี่ยง ภายใต้โครงการ ป้องกันเด็กไทยไม่ตกเป็นเหยื่อบุหรี่ไฟฟ้า (PROTECT NEW GEN) พื้นที่ภาคใต้
- การประชุมวิชาการระดับชาติการแพทย์แผนไทยและการสาธารณสุขวิจัย ครั้งที่ 4 น้อมรำลึก “100 ปี กรมหลวงชุมพรฯกับการแพทย์แผนไทยสู่นวัตกรรมสังคม”
- ออกปากดำนาสืบสานภูมิปัญญาวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนศาลานำวิทยา พัทลุง
- "แผนคุณภาพชีวิตรายบุคคล"
- "งานแม่และเด็ก : ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3 จว.ชายแดนใต้จัดตั้ง Consortiumประสานการขับเคลื่อน"
- "ความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิรองรับการถ่ายโอน รพ.สต.จังหวัดสงขลา"
- กลไกสภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพื้นที่ กรณีเมืองคลองแห สงขลา
- คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) สงขลา
- "ความร่วมมือช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน รพ.สต.สู่อบจ.จังหวัดสงขลา"
- “หลักสูตรลดปัจจัยเสี่ยงและบุหรี่ในโรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนา)” สุไหงโก-ลก นราธิวาส