ภาคีเครือข่ายตรังจัดเวที Kickoff ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์รองรับสังคมสูงวัยในระดับพื้นที่
Smart Ageing @Trang
ภาคีเครือข่ายตรังจัดเวที Kickoff ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์รองรับสังคมสูงวัยในระดับพื้นที่ โดยมี รอง ผวจ. นพ.สสจ. นายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ นายก อบต. 20 แห่ง ผู้นำชุมชนท่องถิ่น 75 แห่ง และคณะสงฆ์ตรัง ร่วมแสดงพันธะสัญญา ประกาศร่วมกันในเวทีเพื่อดำเนินการจัดระบบรองรับสังคมสูงวัย
ในปี 2566 นี้เริ่มต้นก่อนใน 20 ตำบล มีกิจกรรมหลัก เช่น 1) ให้เกิดคณะทำงานระดับพื้นที่ 2) ให้มีแผนบูรณาการขับเคลื่อนสังคมสูงวัย และ 3) ให้เกิดรูปธรรมในการพัฒนาคุณภาพขีวิต
ได้มี 5 ข้อแลกเปลี่ยนต่อเวที Smart Ageing ได้แก่
1.หน่วยงานภาคีและพลเมืองตรัง ตระหนักร่วม ตระหนักก่อน และลงความเห็นว่ารอช้าไม่ได้
2.กลุ่มเป้าหมายคือคนทุกกลุ่มวัยในตำบล ไม่มีใครหล่นหายและขยายให้เต็มจังหวัด
3.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมดุลย์ทุกมิติ
4.สานพลัง ดึงจตุภาคีในพื้นที่มาร่วมกันทำงาน โดยมี อปท. เป็นหลักออกแรงนำ
5.ใช้กติกา ธรรมนูญสุขภาพ ข้อตกลงชุมชน บนฐานข้อมูล ให้เป็นลายลักษ์อักษรที่แปลงไปสู่แผนงาน โครงการได้
ภาคีร่วมจัดงานนี้ได้แก่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง สมาคมแม่บ้านสาธารณสุขตรัง ท้องถิ่นจังหวัดตรัง เทศบาลนครตรัง หน่วยจัดการเชิงพื้นที่ (Node Flagship) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”