พิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU จังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี พ.ศ.2570

  • photo  , 1000x750 pixel , 170,274 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 100,226 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 138,735 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 157,533 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 158,157 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 133,455 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 110,378 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 182,262 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 129,276 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 145,337 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 143,238 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 128,143 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 215,110 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 126,829 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 123,545 bytes.

ทิศทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในบริบทพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้

สถานการณ์ภาพรวมประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่นพื้นที่ 3 จังหวัด โดย ดร.มุทริกา จินากุล  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

-ประเทศไทยมีตัวเลขแม่วัยใสอันดับที่ 14 พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัย 1,200 คน/ปี ทำให้เด็กต้องออกจากระบบการศึกษา สูญเสียโอกาสต่างๆ และต้องมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงลูกมากกว่าพ่อวัยใส แนวทางคือเมื่อเด็กท้องก่อนวัยต้องให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาและระบบสาธารณสุข


ทิศทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในบริบทพื้นที่พหุวัฒนธรรม โดยนางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

-ในการแก้ปัญหาคำนึงถึงบริบทของคนในพื้นที่ ความเชื่อ วิถีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ใช้กลไก พชอ.และความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ เครื่องมือในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมต้องไม่ใช่เครื่องมือที่ถูกคิดจากข้างบนลงมาข้างล่าง

-ในการทำงานใช้หลักเกื้อกูล เมตตา "การให้" เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกลไกช่วยเหลือและสร้างการมีส่วนร่วม


บทบาทคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยนางอุษา เบญจลักษณ์ ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองปัตตานี

-พื้นที่จังหวัดปัตตานีมี 13 อำเภอ ประชากรประมาณ 1.2 แสนคน อ.เมืองมีปัญหาหลากหลายกว่าพื้นที่อื่นๆ

-ในการทำงานใช้ข้อมูลสาธารณสุขมาวางแผนร่วมกัน

-หาคนที่มีเคมีตรงกันทำงานร่วมกัน โดยสาธารณสุขเป็นแม่งาน

-การทำงานใช้ประชาชนเป็นฐาน "ประชาชนเป็นศูนย์กลาง"


บทบาทผู้นำศาสนาต่อการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่ โดยนายดูรอแม อาแว ตัวแทนอิหม่าม อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

-การพัฒนาให้ความรู้กับวัยรุ่น เพื่อให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์แบบต่อไปในอนาคต โดยการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น

-มีการจัดตั้งอนุกรรมการมัสยิด "อิหม่ามน้อย" เพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือประสานงานระหว่างโต๊ะอิหม่ามและเด็ก


บทบาทเยาวชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มเพื่อน  โดยนายมูฮัมหมัดฟัรกีย์ อีแมดะซอ ตัวแทนเยาวชน อ.รามัน จ.ยะลา/น.ส.แอมนาตาซา นอ/น.ส.อุศริน บากา อ.แว้ง จ.นราธิวาส

-การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย จึงมีการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยมีภารกิจในการส่งเสริมการป้องกันและแก้ปัญหา

1) คัดกรองกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มมีปัญหา

2)จัดกระบวนการสร้างความตระหนัก/คุณค่ารักตัวเอง

3)ให้ความรู้ทักษะการป้องกันและการปฏิเสธ

4)สื่อสารผ่านเพจให้คำแนะนำ/ปรึกษา

5)การมีส่วนร่วมกับชุมชน


ยุทธศาสตร์ สสส.ต่อการสนับสนุนสุขภาวะทางเพศในประเทศไทยและในบริบทชายแดนใต้ โดยนายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส.

-เมื่อเด็กหญิงมีภาวะตั้งครรภ์ ต้นทุนชีวิตและศักยภาพของชุมชนระยะยาวจะหายไป

-ยุทธศาสตร์สำคัญคือ "เด็กไม่ท้อง แต่หากท้องต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี" เด็กที่ท้องก่อนวัยต้องได้เรียนต่อจนจบภาคบังคับ โดยมีกลไกระดับชาติและระดับจังหวัดในการเข้ามาช่วยเหลือดูแลเพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง

1)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

3)สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา

4)ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

5)ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

6)นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

7)คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 12

8)กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

9)ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

รายงานจากพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU จังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี พ.ศ.2570  วันที่ 9 พค.66 ณ โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา


ปราณี วุ่นฝ้าย  ภาพและบันทึกเรื่องราว


ชมคลิปย้อนหลัง

Relate topics