จังหวะก้าวของ “ศาลาด่านโมเดล”

  • photo  , 1000x667 pixel , 100,760 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 85,768 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 119,466 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 168,779 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 130,704 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 177,433 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 116,178 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 189,517 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 122,976 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 97,344 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 164,971 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 187,951 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 167,564 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 213,306 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 121,694 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 78,399 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 223,230 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 123,720 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 185,254 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 111,391 bytes.
  • photo  , 2048x1365 pixel , 203,348 bytes.

คณะจัดทำ “ศาลาด่านโมเดล” เสวนาพร้อมลงสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชนในกรอบการท่องเที่ยวปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมโซนต้นแบบของเทศบาลตำบลศาลาด่าน

วันที่ 1 มิ.ย. 66 เริ่มเวลา 09.00 น. ณ ท่าเทียบเรือบ้านศาลาด่าน นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน เป็นประธานการประชุมเสวนาพร้อมต้อนรับคณะจัดทำ “ศาลาด่านโมเดล” โดยมีดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม หัวหน้าทีมวิชาการการวิจัยการจัดการภัยพิบัติและการท่องเที่ยวโดยชุมชนอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติควบคู่การท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย (ศาลาด่านโมเดล)

พร้อมทีมคณะจัดทำ “ศาลาด่านโมเดล” ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่วนเกี่ยวข้องจากเทศบาลตำบลศาลาด่าน ส่วนเกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยผู้นำหมู่บ้านแกนนำชุมชนด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ร่วมประชุมเสวนานำเสนอข้อมูลเสนอแนะความคิดเห็นก่อนส่งขึ้นเรือเพื่อเดินทางสำรวจพื้นที่ ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านศาลาด่าน หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งหยีเพ็ง และหมู่ที่ 5 บ้านโล๊ะดุหยง เพื่อต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจากทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ หรือทางสังคมในปัจจุบัน โดยมีแผนแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชายฝั่ง และการส่งเสริมกลุ่มชาวบ้านและชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนในทุกมิติ

"ศาลาด่านโมเดล” เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากสถาบันการศึกษา คือ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเทศบาลตำบลศาลาด่าน ร่วมกันรวบรวมจัดทำฐานทรัพยากรในพื้นที่ ทั้งฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งภัยคุกคามทางธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม “ศาลาด่านโมเดล” คือ การร่วมคิดร่วมสร้างให้เกิดความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีวัฒนธรรม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ที่ชาวศาลาด่านจะต้องยึดมั่นปฏิบัติ เป็นศาลาด่านโมเดล ด้วยข้อตกลงร่วม

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ เทศบาลตำบลศาลาด่าน


คณะทำงาน “ศาลาด่านโมเดล”

ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม นักวิจัยจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์ซูวารี มอซู สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์ภวัต รอดเข็ม  จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.อ.ตรัง

ลงพื้นที่ร่วมกับ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลศาลาด่าน

นำโดย นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน

นายสุรศักดิ์ ขาวเชื้อ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

เจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยว และนักประชาสัมพันธ์จาก ทต.ศาลาด่าน

พร้อมด้วย

นายบัญญัติ ก๊กใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านโล๊ะดุหยง

นายนราธร หงส์ทอง ชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง

นายโอ้น ช้างน้ำ  ชาวเลอุรักลาโว้ย หมู่บ้านโต๊ะบาหลิว

สำรวจเส้นทางต้นแบบ “ศาลาด่านโมเดล”  โดยอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จะนำไปร่างเป็นแบบ  เส้นทางการท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมต่อไป

ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน

นายอำเภอเกาะลันตา นายนพรัตน์ ศรีพรหม ที่ให้แนวคิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์

นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน  นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล  วิสัยทัศน์การพัฒนาที่กว้างไกล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้นแบบความคิดนโยบายสาธารณะ

ขอบคุณ สสส. ที่ให้การสนับสนุนให้การทำงานทุกอย่างราบรื่น

จากที่เราได้ขยับงาน “ศาลาด่านโมเดล” ภายใต้แผนงาน การขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงด้านฐานทรัพยากร  โดย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ความยากอย่างหนึ่งคือ การตอบคำถามว่า “ศาลาโมเดล” คืออะไร? เป็นอย่างไร?

ศาลาด่าน คือ ตำบลที่เป็นเสมือนหน้าด่านของเกาะลันตา บริหารจัดการเมืองโดย เทศบาลตำบลศาลาด่าน

หากใครที่ได้ไปสัมผัสความเป็นศาลาด่าน  จะเป็นความเฉพาะของพื้นที่ ความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความเฉพาะก็น่าจะนับเป็น “โมเดล” ในเชิงพื้นที่ (Area Based) ได้

การจะสื่อความหมาย ให้ชัดเพื่อสร้างความเข้าใจและทุกฝ่ายเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันก็ยากเช่นกัน

ศาลาด่านโมเดลกับแนวคิดว่า  “การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”  ความปลอดภัย: ทั้งจากมิติจากธรรรมชาติ และจากสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม: มีแผน/แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ที่ดี

จากผลการศึกษาและการดำเนินงาน ได้เดินทางมาถึงครึ่งทางแล้ว  วันนี้ เห็นภาพที่เด่นชัดขึ้น ดีใจว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันว่าศาลาด่านควรเดินไปในทิศทางใด
“การรู้และสามารถดึงความเป็นตัวตน”  จะสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้

โซนต้นแบบ “ศาลาด่านโมเดล” จึงเกิดขึ้น

หมู่ที่ 1: บ้านศาลาด่าน มีหมู่บ้านชาวเลโต๊ะบาหลิว ศูนย์รวมจิตวิญญาณ

หมู่ที่ 5: บ้านโล๊ะดุหยง ล่องเรือชมป่าชายเลน –เรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านเตาเผาถ่าน

หมู่ที่ 4: บ้านทุ่งหยีเพ็ง หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวแบบ Low Carbon

เราเชื่อมั่นว่าศาลาด่านจะเป็นต้นแบบที่ดีได้ ก็เพราะความร่วมมือร่วมใจของชาวตำบลศาลาด่านทุกคน

#ศาลาด่านโมเดล

#ปฏิญญาอ่าวลันตา

#เทศบาลตำบลศาลาด่าน

#สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#สสส


ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม บันทึกเรื่องราว

Relate topics