"สงขลาตรวจ DNA เชิงรุก"

  • photo  , 1000x750 pixel , 183,053 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 174,780 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 228,590 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 186,994 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 243,541 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 197,404 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 173,390 bytes.
  • photo  , 1000x1250 pixel , 235,544 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 182,191 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 245,623 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 150,403 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 174,780 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 173,818 bytes.

"สงขลาตรวจ DNA เชิงรุก"

วันที่ 13 มิถุนายน  2566 โครงการสนับสนุนกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะระดับจังหวัด ร่วมกับสำนักงานยุติธรรมจังหวัดจับมือกับสมาคมอาสาสร้างสุข มูลนิธิชุมชนสงขลาคณะนิติศาสตร์ ม.ทักษิณ และศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง

จัดเวทีสร้างการรับรู้โครงการตรวจ DNAเพื่อยืนยันสถานะบุคคล และประสานส่งต่อช่วยเหลือเคสที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร ณ ชุมชนแหลมสนอ่อน อ.เมือง จ.สงขลา

มีผู้เข้าร่วม 35 คน มีบุคคลตกหล่นทางทะเบียนฯมาร่วม 5 คน มาจากชุมชนป้อมหก แหลมสนอ่อน เก้าเส้ง และต.คลองกวาง อ.นาทวี

การตรวจ DNA จะเป็นหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์สถานะบุคคลและสัญชาติ ในการขอแจ้งเกิดเกินกำหนดหรือขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน รวมถึงขอเปลี่ยนสถานะเป็นคนสัญชาติไทยตามกฏหมา่ย

นางบุณย์บังอร ชนะโชติ เล่าว่าศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเองได้จัดเก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบางมาตั้งแต่ปี 2561 มาถึงปัจจุบัน พบข้อมูลกลุ่มคนไร้บัตรประชาชนจำนวน 28 ราย รวมกับเป็นคนต่างชาติอีก 8 ราย ในการแก้ปัญหาพบว่าแตกต่างกันรายกรณี แต่ก็ได้ช่วยเหลือประสานงานกระทั่งได้บัตรประชาชนไปแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่สามารถหาบุคคลอ้างอิงในการตรวจ DNA ได้

ตัวแทนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสงขลา ได้กล่าวถึงโครงการฯนี้มีเพียงในพื้นที่จังหวัดสงขลาและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการ พร้อมระบุว่าในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่พบปัญหานี้มักจะพบความชุกอยู่ในพื้นที่รอยต่อเช่น อ.ระโนด อ.นาทวี อ.สะเดา การทำงานนี้ได้ประสานกับสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ที่จะอำนวยการ ทางยุติธรรมจังหวัดเป็นผู้ประสานกับมหาดไทยในการตรวจซักประวัติ/กรอกประวัติ ยื่นคำร้อง ร่วมค้นหาบุคคลอ้างอิง และประสานเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์ในการลงพื้นที่ตรวจ DNA

กรณี 5 เคสที่มาในวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนต่างถิ่น มาอยู่ในสงขลากว่า 30 ปี มีเพียงสถานที่เกิดที่อยู่ในความทรงจำ บางคนความจำเสื่อม บางคนอาศัยกับบิดาบุญธรรม บางคนได้ผ่านการซักประวัติจากเทศบาลนครสงขลาไปบ้างแล้ว

ข้อสรุปที่จะดำเนินการต่อไป

1)นัดหมายเคสที่ต้องการความช่วยเหลือ พบกับอำเภอ เพื่อประสานหาบุคคลอ้างอิงในระบบสารสนเทศของมหาดไทย พร้อมกับแกนนำศูนย์บ่อยางฯ คณะนิติศาสตร์ พร้อมนัดหมายกับเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนเพื่อซักประวัติเคสที่เหลืออีกจำนวนหนึ่ง

กรณีเร่งด่วนของต.คลองกวาง ให้ทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นประสานปลัดอำเภอหารือกับสนง.ยุติธรรมจังหวัดถึงโครงการตรวจ DNA นี้ร่วมกัน

2)ประชาสัมพันธ์เพื่อให้บุคคลที่ตกหล่นฯเข้าถึงข้อมูล แสดงตัวเข้าร่วมโครงการ

3)ประสานการทำงานในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง อำเภอเมือง  ทน.สงขลา สนง.ยุติธรรมจังหวัด ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง/พมจ. คณะนิติศาสตร์ม.ทักษิณ สมาคมอาสาสร้างสุข มูลนิธิชุมชนสงขลา กขป.เขต 12 ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง (ควรชวนอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนจังหวัดและสนง.ภาคเข้าร่วมด้วย) เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อ การทำงานช่วยเหลือเคสอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่ต้องการขอสัญชาติไทย กรณีบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ยาวนาน หรือว่าสมรสกับคนไทย

4)ประสานการทำงานร่วมกันกับมหาดไทย กับโครงการคนไทยไร้สิทธิ์ และศอบต.ที่มีการแก้ปัญหาบุคคลตกหล่นฯเช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการเสริมหนุนการทำงานกันและกัน

Relate topics