จังหวะก้าว "สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 187,510 bytes.
  • photo  , 1905x859 pixel , 161,842 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 149,221 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 129,286 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 184,672 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 116,487 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 113,915 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 125,806 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 132,234 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 165,542 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,024 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 186,847 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 129,638 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 172,085 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 143,011 bytes.
  • photo  , 1903x859 pixel , 168,779 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 170,782 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 126,259 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 143,262 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 120,051 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 151,875 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 193,650 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 170,228 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 141,949 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 115,347 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 117,370 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 118,712 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 119,477 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 116,754 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 113,922 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 118,150 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 116,138 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 86,126 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,038 bytes.
  • photo  , 1000x1000 pixel , 547,684 bytes.

จังหวะก้าว "สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์"

ประชุมรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2/2566 (ครั้งที่ 7 ของสงขลา)


วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม VIP คลัง ปตท.

เป็นกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการประกันคุณภาพเกษตรอาหารปลอดภัย ด้วยการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สู่พื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร

รูปแบบกลไกแบบห่วงโซ่คุณค่าพัฒนาการเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จังหวัดสงขลา ที่ได้รอยห่วงโซ่เครือข่ายภาคี และแนวทางนำสู่แผนยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดสงขลา โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม ได้แก่ อบจ. สงขลา  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์สงขลา  UNDP (โครงการพัฒนาสหประชาชาติ ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง) ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา  สำนักงานเกษตรสงขลา  สาธารณสุขจังหวัด สงขลา มหาวิทยาลัย ทักษิณ สงขลา/พัทลุง มอ. หาดใหญ่  มทร. รัตภูมิ สงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏ (สตูล) โรงพยาบาลบางกล่ำ เทศบาลเมืองสิงหนคร สภาเกษตรกรสงขลา สมาพันธ์ SME ภาคใต้ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพัทลุง สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสตูล รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ของสงขลา และหน่วยงานจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้

สรุปกิจกรรม ดังนี้

1.พิธีกล่าวเปิดงาน มอบเกียรติบัตร ให้หน่วยงานองค์สนับสนุน (อบจ สงขลา  ปตท. SME ภาคใต้ UNDP-โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน))

2.การมอบเกียรติบัตรเกษตรกรดีเด่น ผู้ตรวจแปลงดีเด่น ผู้ดูแลระบบ OAN ดีเด่นระดับภาค โรงเรียนต้นแบบความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนต้นแบบเกษตรกรรม

3.การประกาศปฏิญาว่าด้วยความร่วมมือ "ปฏิญาสิงหนคร (วันสิงหนคร)

4.ลงนาม MOU ระหว่างโรงพยาบาลบางกล่ำและสหกรณ์การเกษตรบางกล่ำ-สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนบางกล่ำ

5.กิจกรรมประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์มาตรฐานแบบมีส่วนร่วม SDGsPGS โดยประธานในการประชุมรับรอง คือ ผศ.ดร. นุกูล อินทระสังขา และ คณะกรรมการรับรองระดับจังหวัดจาก 45 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ วิชาการ เอกชน ภาคประชาสังคม ที่ผ่านการกลั่นกรอง และผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จำนวน 53 แปลง โดยเป็นแปลงอินทรีย์ 19 แปลง รวมพื้นที่  65 ไร่ และ ปรับเปลี่ยน 33 แปลง พื้นที่ 95.75 ไร่

6.กิจกรรมแสดงสินค้าพืชผลเกษตรอินทรีย์ จากแปลงที่ผ่านการรับรอง จาก 8 อำเภอ

7.กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อน โดยสาธารณสุขจังหวัดสงขลา จาก 47 ตัวอย่าง  (โดยมี 2 ตัวอย่างเป็นการทดสอบพืชแนวกันชนที่ไม่ได้อยู่การขอรับรอง) ผลปรากฏมีความปลอดภัย ทั้ง 47 ตัวอย่าง ผลผลิตพืชแนวกันชนมีสารปนเปื้อน

8.กิจกรรมเรียนรู้ สังคมเกษตรกรรมคาร์บอนค่ำ และคาร์บอนเครดิต

9.การนำเสนอโครงการนวัตกรนมการเกษตร ของอำเภอสทิงพระ

10.กิจกรรมมอบใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ให้เกษตรกรผู้ผ่านการรับรอง 53 ท่าน

ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ ถือ เป็น นวัตกรรมสังคม เกษตรอินทรีย์ไทย นวัตกรรมอาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร ที่ใช้แนวทาง การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมแบบครบห่วงโซ่ภาคี ที่ขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคม มีภาครัฐหนุนเสริม ที่สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ใช้กลไกพัฒนา  SDGsPGS เพื่อส่งเสริมพื้นที่เกษตรกรรมสงขลา เป็นพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยระบบประกันคุณภาพ SDGsPGS ในจังหวัดสงขลา โดย ยุทธศาสตร์ 1 ครัวเรือน 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาสงขลา สู่ "มหานครเกษตรอินทรีย์"  ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สงขลา และ 14 จังหวัดภาคใต้ รวมถึงฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์ม ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่พร้อมจะยกระดับพื้นที่ สู่นิคมเกษตรกรรม โดย จังหวัดสงขลา เป็น ศูนย์กลาง (Hub of ASEAN) ที่เป็นศูนย์กลางการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย

โดยมีพัทลุง เป็น Gate way สู่ภาคใต้ตอนล่าง ที่เชื่อมโยงอันดามัน อ่าวไทย โดยจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดศูนย์รวมยุทธศาสตร์ BCG ที่เชื่อมโยงเมืองพี่เมืองน้องให้มีศักยภาพที่เข้ามแข็ง

ขอขอบคุณทุกๆ เครือข่ายภาคีในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนสงขลา และภาคใต้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDs) สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และเครือข่ายภาคีแบบมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม  บันทึกเรื่องราว


คำประกาศ ปฏิญญาสิงหนคร (Singhanakhon Declaration)  ว่าด้วยความร่วมมือพันธมิตรเครือข่ายสังคมเกษตรรมคาร์บอนต่ำบนฐานเศรษฐกิจ BCG เพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ปฏิญญาสิงหนคร ว่าด้วยความร่วมมือพันธมิตรเครือข่ายสังคมเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำบนฐานเศรษฐกิจ BCG เพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือเรียกว่า “วันสิงหนคร” (Singhanakhon Day)

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม VIP ศูนย์ฝึกอบรมคลังปิโตรเลียมสงขลา บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ซึ่งเป็นวันที่ประกาศร่วมกันในการสร้างความรับรู้แก่ทุกภาคี ทุกภาคส่วนของ ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย โดยมีสาระสำคัญในบันทึกความเข้าใจ 12 ข้อ

1.ร่วมส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการ สร้างเครือข่ายด้วยงานด้านจิตอาสา และสร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของทุกภาคี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.ร่วมส่งเสริมการสร้างการ พัฒนาระบบอาหารท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา และพื้นที่พันธมิตร แบบครบห่วงโซ่มูลค่า (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ)

3.ร่วมส่งเสริมการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคเกษตรกรรม จากความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่ม SDGsPGS  สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ และเครือข่ายภาคแบบมีส่วนร่วม ประชารัฐ ในการสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยยุทธศาสตร์ "สงขลามหานครเกษตรเกษตรอินทรีย์ และสิ่งแวดล้อม"

4.ร่วมส่งเสริมการ พัฒนาเครือข่าย ฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อร่วมพัฒนารูปแบบเครือข่ายในพื้นที่ของฟาร์มตัวอย่างฯ โดยฟาร์มตัวอย่างฯ เป็นแกนกลาง และพื้นที่กลางในการพัฒนาพื้นที่ ที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคี

5.ร่วมส่งเสริมสังคมเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ บนฐานเศรษฐกิจ BCG ในระดับอำเภอ ตำบลต้น หมู่บ้าน ครัวเรือน เพื่อขับเคลื่อน "สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ และสิ่งแวดล้อม"

6.ร่วมส่งเสริม แหล่งอาหารชุมชนโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในโครงการอาหารกลางวัน และความมั่นคงทางอาหารในโรงเรียน เพื่อสืบสานต่อยอดของ เยาวชนคนรุ่นใหม่ คืนถิ่น รักแผ่นดินเกิด ฟื้นฟู พัฒนา อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างนวัตกรรมชุมชน ที่ส่งผลต่อความมั่นคงด้านทรัพยากร

7.ร่วมเสริมสร้างความรุ่งเรืองของ เศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดสงขลา และพื้นที่พันธมิตร ด้วยภาคการเกษตรและท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่เริ่มจากการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8.ให้การช่วยเหลือกันและกันในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อบรม งานวิจัยจากเกษตรต้นน้ำ ปัจจัยผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยชีวภัณฑ์และการพัฒนาเทคโนโลยีจุลินทรีย์ท้องถิ่น ประกอบการกลางน้ำ การแปรรูป การสร้างนวัตกรรมชุมชน การบ่มเพาะวิชาการวิสาหกิจชุมชน

9.ร่วมส่งเสริมให้มี ตลาดเขียวและอาหารปลอดภัย ตลาด 4 ร. (โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล) เพื่อการเข้าถึงอาหารปลอดภัย และการกระจายอาหารปลอดภัย เพื่อความมั่นคงทางอาหารของประชาชน

10.จัดให้มี เวทีแลกเปลี่ยน เวทีประชุมรับรอง เวที Matching สินค้าเกษตร และเวที MOU ร่วมกัน ในรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนจากบทบาทความสำคัญของหน่วยงาน องค์กร ภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

11.เพิ่มประสิทธิภาพของการทำเกษตร ด้วยเกษตรอัจฉริยะบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ การยกระดับเกษตรกร พัฒนาสู่กระบวนประกอบการชุมชนที่เจริญเติบโตเร็วในภาคชุมชน (Local startup) การเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social enterprise) การขยายการตลาดชุมชน ตลาด MOU กับ Modern Trade และตลาดภูมิภาคและสากล ตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ดีขึ้น

12.ร่วมส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรป่าไม้ เกษตรกรรมยั่งยืน ธนาคารต้นไม้และธนาคารคาร์บอนเครดิต (SDGsPGS) สวนป่าครอบครัว การสร้างแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซค์ เพื่อลดภาวะเรือนกระจก ลดโลกร้อน ด้วยการสร้างเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน ประเมินมูลค่าต้นไม้และคาร์บอนเครดิต 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา

ร่วมประกาศปฏิญญาโดยคณะกรรมการสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และภาคีภาครัฐ เอกชน วิชาการ และประชาสังคม


ขอขอบคุณองค์กรการสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ในโครงการการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS สงขลา (นวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารสงขลา และการยกระดับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำบนฐานเศรษฐกิจ BCG)

ทางคณะผู้จัด ในนามสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย ขอขอบคุณและมอบเกียรติบัตรองค์กรสนับสนุนดีเด่น และเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม  โดยมีรายนามดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (สนับสนุนโครงการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำและเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ใน 16 อำเภอ)

2.อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ (พัทลุง) องค์กรสนับสนุนต้นแบบในงานวิชาการ/วิจัย ในบทบาทห่วงโซ่ และกลไกพัฒนาร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้)

3.บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (องค์กรให้การสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน)

4.บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชุมชน ร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา)

5.สมาพันธ์ SME ภาคใต้ (การเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา)

6.UNDP โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ (สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมบทบาทสำคัญของสังคมในการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ในระดับภาค จังหวัด ชุมชน)

7.ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา (ส่งเสริมงานอบรมและขับเคลื่อนพื้นที่ 16 อำเภอและภาคใต้ เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs)


ขอบขอบคุณ ในการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย

Relate topics