สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับอำเภอ ทั้งระโนด สทิงพระ และสิงหนคร สร้างคุณค่าตาลโตนด การประเมินมูลค่าไม้เพื่อขายคาร์บอนเครดิตจากต้นตาลโตนด
สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับอำเภอ ทั้งระโนด สทิงพระ และสิงหนคร สร้างคุณค่าตาลโตนด การประเมินมูลค่าไม้เพื่อขายคาร์บอนเครดิตจากต้นตาลโตนด ซึ่่งคาดการณ์ว่า จำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านต้น เป็นเป้าหมาย ในระยะ 5-10 ปี
คาดการณ์ค่าคาร์บอนเครดิตอย่างน้อย 500 ล้านบาท จาก ตาล 1 ล้านต้น ที่มีค่าคาร์บอนรวม คิดแบบต่ำกว่ามาตรฐานของค่าคาร์บอนที่วัดต่อต้น ใช้ตัวเลขต้นละ 500 บาท (จากการคำนวณ ของต้นตาลที่มีความโต 150-180 เซนติเมตร มีความสูง 20 เมตร มีอายุ 30 ปี ที่มีค่าคาร์บอน ไม่ต่ำกว่า 500 บาทต่อต้น) ซึ่งในระยะ 5-10 ปี ของการลงตรวจวัดประเมินทุกปี เพื่อเป็นโบนัสให้พี่น้องเกษตรกร จากอาชีพเกษตรกรรม
จึงวางยุทธศาสตร์การจัดวางโครงสร้างการทำงานของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา จึงใช้รูปแบบ 25-25-25 ที่มีโครงการทั้งระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และสู่ 1 หมู่บ้าน 1 TCB-SDGsPGS (ธนาคารต้นไม้คาร์บอนเครดิต) เพื่อจัดการพื้นที่และใช้ Big Data ที่รวมข้อมูลกลาง ที่จะให้ผู้เสนอขาย ผู้ตรวจวัดการประเมิน กรรมการกลั่นกรองอำเภอ กรรมการกลั่นกรองจังหวัด และกรรมการรับรองจังหวัด ใช้เป็น Platform เชื่อมโยงข้อมูล Supply-Demand ที่จะสร้างศักภาพในการจัดการ ออกมาตรฐานรับรองต้นไม้ทุกต้น ให้มี มาตรฐาน TCB-SDGsPGS ที่จะส่งมอบคาร์บอนเครดิต ไปยังผู้ซื้อในระบบทวิภาคี โดยตรงคือ Dubai Holding หรือ กลุ่มโรงกลั่น UAE หรือ ซาอิดิอาระเบีย ที่จะสร้างความเชื่อมั่น ผ่านการตรวจสอบย้อนกลับของข้อมูลต้นไม้ทุกต้น ทุกแปลง
จากการยกระดับพี่น้องเกษตรกร จากผู้ปลูกต้นไม้ และพี่น้องเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ SDGsPGS ซึ่่งมีการเข้าอบรมผู้ตรวจวัดประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อชายคาร์บอนเครดิตของสงขลา และจังหวัดอื่นๆ ในเครือข่ายสมาพันธ์ ซึ่งขณะนี้ มีพี่น้องเกษตรกรสงขลา ได้ขึ้นทะเบียนผู้ตรวจวัดประเมินต้นไม้และคาร์บอนเครดิต ทั้งหมด 112 คน ในรอบ MOU 30 พฤศจิกายน 2566
ซึ่งมีเกษตรกร สมัครเพื่อเข้ารับการตรวจวัดเพื่อเสนอขาย จำนวน 250 แปลง โดยรวมต้นไม้ 40,000 ต้น จากพื้นที่ อำเภอสิงหนคร สทิงพระ ระโนด รัตภูมิ ควนเนียง บางกล่ำ หาดใหญ่ นาหม่อม เทพา สะบ้าย้อย นาทวี สะเดา และอำเภอเมือง
ซึ่งใน 250 แปลง รวมของ พี่สุกัญญา มากสุวรรณ์ (ภรรยานายก อบจ สงขลา และของพี่ปรีชัย (ที่ปรึกษานายก อบจ สงขลา) รวมอยู่ด้วย จึงสร้างแรงพลักลของ สงขลา Go Green และเมืองสังคมคาร์บอนต่ำบนฐานเศรษฐกิจ BCG ให้บรรลุเป้าหมายที่ไม่ไกลเกินเอื้อมของการสร้างสมดุล จาก Carbon Footprint และ Carbon Credit เพื่อลดโลกเดือดให้มนุษยชาติ
อ.สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม บันทึกเรื่องราว
27 กันยายน 2566
Relate topics
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"
- “สช. สานพลังกลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน”
- ”นครศรีธรรมราชโมเดล ปกป้องเด็กและเยาวชน“
- ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
- เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้
- คนรุ่นใหม่ร่วมสร้างนิเวศน์ชุมชนในการลดปัจจัยเสี่ยงชุมชนบ้านบือแรง ต.ลาโละ อ.รือเสาะ นราธิวาส
- ประชุมทีม กขป.เขต ๑๒ ชุดเล็ก
- "ประชุมทีมเลขาร่วมกขป.เขต 12"
- นครศรีธรรมราชพร้อม พร้อมขยายความสุข ให้ทั่วจังหวัด