ก้าวกันต่อ“การพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง” และงานพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล (Trangcare.net)
ก้าวกันต่อ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง” Smart Ageing Trang
กับเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย 26 กันยายน 2566 ณ โรงแรมวัฒนาปาร์ค จ.ตรัง
ภายหลังทีมติดตามเยี่ยมเสริมพลังการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย บูรณาการร่วมกับการเสริมพลังกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ)ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนที่ผ่านมา 5 เวที กับ 20 พื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย
กระบวนการ เปิดการประชุมโดยท่านภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เกาะติดการทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น ต่อด้วยชวนกันเรียนรู้การจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล (Trangcare.net) จาก พี่อนันต์ อัครสุวรรณกุล ที่จะใช้เป็นอีกเครื่องมือสำคัญในการทำงานของพื้นที่ตำบล และการบูรณาการทำงานของหน่วยงานจังหวัด โดยมีกรณีพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพญาที่ได้ทดลองนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบมาเรียนรู้ร่วมกัน
และชวนกันเรียนรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย 1 อำเภอ 1 พื้นที่ อาทิ จากพื้นที่ ต.บางด้วน อ.ปะเหลียน ต.บ่อหิน อ.สิเกา ต.คลองปาง อ.รัษฎา ต.น้ำผุด อ.เมือง ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง เป็นต้น พบว่าทุกพื้นที่มีต้นทุนและศักยภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย บางพื้นที่ขยับโดยมีจุดเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่บางพื้นที่ขยับไปสู่กลุ่มเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ในส่วนมิติประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตบางแห่งมีจุดเน้นด้านสุขภาพ บางพื้นที่ขยับไปถึงมิติด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี เห็นประเด็นการพัฒนากลไกการทำงานที่มีลักษณะพหุภาคีมากกว่าที่จะทำงานเพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย การต่อยอดจากทุนการทำงานเดิมในพื้นที่ ใช้กลไก เช่น ผ่านสภาองค์กรชุมชน กองทุนสุขภาพตำบล โรงเรียนผู้สูงอายุ มีการเชื่อมต่อกับภาคีภายนอก ทั้ง พมจ. อบจ. สสส. มาช่วยในประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมิติต่าง ๆ
โจทย์สำคัญหลังจากนี้ในระดับพื้นที่ตำบล คือการพัฒนากลไกการนำเข้าข้อมูลกลุ่มเป้าหมายรองรับสังคมสูงวัยทั้งระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน ที่มีศักยภาพและมีเข้าใจถึงความสำคัญในกระบวนการนี้ มีการนำเข้าข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาให้เกิดกระบวนการนำใช้ข้อมูลในทั้งระดับหมู่บ้าน และตำบล ที่จะกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาระดับครัวเรือน หมู่บ้าน และตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ปล. เชื่อว่าการขยับงานต่อจากนี้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ "การเตรียมความพร้อมท้องถิ่นเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ" เป็น นโยบาย 1 ใน 10 นโยบายสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
#การพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง ผ่าน trangcare.net
ช่วงเย็นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมลิบง ศาลากลาง
ทีมคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยชุดเล็กนำโดยพี่อนันต์ อัครสุวรรณกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ท่านพมจ.ตรัง ผอ.โก้ จาก สำนักงานพัฒนาชุมชน จ่าจังหวัด ตัวแทนจากสำนักงานจังหวัด ตัวแทนจากสำนักงานสถิติจังหวัด ดร.พิเชตวุฒิ จาก ม.อ.ตรัง พี่ทวี สัตยาไชย ผู้ทรงคุณวุฒิสมัชชาสุขภาพ เข้านำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยผ่าน trangcare.net
เครื่องมือสำคัญในการบูรณาการทำงานของภาคีพัฒนาในระดับจังหวัดเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย และเครื่องมือในการพัฒนาในระดับพื้นที่ตำบลสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งมิติสุขภาพ มิติสังคม มิติสภาพแวดล้อม มิติเศรษฐกิจ และมิติเทคโนโลยี
ภายหลังพี่อนันต์นำเสนอตัวแบบระบบฐานข้อมูลแล้วก็มีข้อคิดสำคัญต่อการปรับระบบฐานข้อมูลจากท่านผู้ว่าฯ
-อยากให้ข้อมูลแสดงผลช่วยชี้เป้าการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การบริหารแผนงานโครงการ /ข้อมูลอะไรที่ยังไม่จำเป็นอาจจะยังไม่ต้องก่อน
-อยากให้เน้นข้อมูลปัญหาสำคัญ ๆ ในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะ มิติรายได้ มิติสุขภาพ และมิติสภาพแวดล้อม
-เมื่อมีการบันทึกข้อมูลแล้ว ระบบสามารถช่วยประมวลผลจัด priority ในการแก้ปัญหา
-การคำนึงถึงความปลอดภัย
-เมื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลแล้วก็ให้มีการมีตำบลต้นแบบในการใช้ระบบฐานข้อมูล / ต้องทำให้ท้องถิ่นอยากใช้ระบบนี้
หลังจากนี้ให้ปรับปรุงระบบแล้วให้มานำเสนอความก้าวหน้าในสัปดาห์หน้า
ทีมทำงานรับการบ้านกันมา
ลุยกันต่อกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย version II
#แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง
เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"
- “สช. สานพลังกลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน”
- ”นครศรีธรรมราชโมเดล ปกป้องเด็กและเยาวชน“
- ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
- เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้
- คนรุ่นใหม่ร่วมสร้างนิเวศน์ชุมชนในการลดปัจจัยเสี่ยงชุมชนบ้านบือแรง ต.ลาโละ อ.รือเสาะ นราธิวาส
- ประชุมทีม กขป.เขต ๑๒ ชุดเล็ก
- "ประชุมทีมเลขาร่วมกขป.เขต 12"
- นครศรีธรรมราชพร้อม พร้อมขยายความสุข ให้ทั่วจังหวัด