เคลื่อนสุขภาวะด้วยกองทุนและกลไกจัดการระดับจังหวัด นำร่องที่ภูเก็ตและสุราษฏร์ธานี
เคลื่อนสุขภาวะด้วยกองทุนและกลไกจัดการระดับจังหวัด
ภูเก็ตและสุราษฏร์ธานี เป็น 2 จังหวัดในภาคใต้ ที่ร่วมกันจัดตั้งกองทุนและมีกลไกกลางในการบริหารกองทุนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทุกกลุ่มวัย เป็นการร่วมทุนระหว่าง สสส. อบจ. สมัชชาสุขภาพจังหวัด Node สสส. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยภูเก็ตจัดตั้งในลักษณะกองทุนเสมือนจริงขับเคลื่อนสุขภาวะคนภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต (Phuket : Health for Future of Life)
ขณะที่สุราษฏร์ธานี เป็นกลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ (กสส.)
ซึ่งทั้ง 2 จังหวัด ได้มีการรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน เป็นกรณีศึกษาในรอบ 1 ปี ให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารแผน สสส. และผู้แทนหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ วันที่ 14 ตุลาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายเรวัต อารีรอบ นายกองค์ อบจ. รับฟังความก้าวหน้า
จังหวัดภูเก็ตนำเสนอโดย ดร.จตุรงค์ คงแก้ว และสุราษฏร์ธานีนำเสนอโดย ดร. ศิริพร เพ็งจันทร์
กองทุนเสมือนจริงเพื่อชีวิตแห่งอนาคตจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นการแปลงจากแนวคิดมาเป็นงานที่จับต้องได้ ด้วยการบูรณาการการทำงานผ่านกลไกกลาง สร้าง platform เกี่ยวกับสุขภาพวะของจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีอยู่ 8 ด้าน ได้แก่ 1.บุหรี่ 2.เหล้า-ยาเสพติด 3.อาหาร 4.กิจกรมทางกาย 5.ความปลอดภัยทางถนน 6.สุขภาพจิต 7.มลพิษจากสิ่งแวดล้อม และ 8.ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
ที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสให้องค์กรชุมชน ชาวบ้าน หน่วยงานทุกภาคส่วน และภาคีเครือข่าย ได้เข้าถึงเงินสนับสนุนในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะใน 8 ประเด็น
ขณะที่คณะอนุกรรมการ“ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต (Phuket : Health for Future of Life) ” ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ติดตาม ประเมิน และพัฒนาโครงการ
ขณะที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี เดิมใช้ชื่อกองทุนเสริมสร้างสุขภาวะ ได้ปรับเป็นชื่อใหม่เป็น กลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ ประเด็นย่อยนำไปสู่การสร้างสุขใน 5 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อุบัติเหตุ อโรคยา เเละอนามัยสิ่งเเวดล้อม มีพื้นที่รูปธรรมความสำเร็จ เเล้ว ที่ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน ขยับเป็นอำเภอสุขภาวะ ด้วยกลไก พชต. เเละ พชอ. และ พื้นที่มะขามเตี้ยแห่งความสุข
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์และแนวทางการขับเคลื่อนต่อ โดยได้เสนอแนวทางการทำให้กองทุนยั่งยืน ได้แก่
1.การวางเป้าร่วม ที่มาจากการวิเคราะห์สถานการณ์ร่วม โดยวางเป็นเป้าร่วม ยุทธศาสตร์ร่วม แผนสุขภาพร่วม ถ้ามีประเด็นกลางในแต่ละระดับก็ร้อยเรียงเป็น series เช่น ต่อไปยัง “สร้างสุขภาคใต้” สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
2.เน้นการสื่อต่อสาธารณะ สร้างกระบวนการทำให้เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะ เพื่อร่วมเข้ามาเป็นกลไกลงไปหนุนการขับเคลื่อน
3.การจัดระบบสนับสนุน โดยมีมีกลไก ทีมทำงาน/กลาง ทั้ง Cb. Km. กลไก รูปแบบ และผลการขับเคลื่อน
4.ประสาน เชื่อม ใช้ เครื่องมือ บุคลากร กลไก ของหน่วยงานสนับสนุน
5.วางหมุดหมายร่วม เป็นเวทีกลางระดับจังหวัด เพื่อนำเสนอเป็น มหกรรมสุขภาพ ตลาดนัดสุขภาวะ สมัชชาสร้างสุข วางเป็นหมุดหมาย ร่วมกันของภาคีพัฒนา
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี