หารือแนวทางในการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพชายแดนใต้
เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น. สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) ร่วมด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกลุ่มเครือข่ายภาคีได้จัดการประชุมออนไลน์ผ่าน Zoom
เพื่อหารือแนวทางในการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมีพันธกิจหลักคือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างความรู้วิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้แห่งความสุข โดยมุ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ
จากการสำรวจการเจริญเติบโตของเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าเด็กในพื้นที่ฯ มีภาวะแคระแกร่น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอในช่วงอายุ ๐-๓ ปี จึงเป็นสาเหตุในการจัดทำโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ ประเด็นท้าทายคือ การส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะให้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภค
โดยตัวแทนจากสมาคมจันทร์เสี้ยวได้ให้ความเห็นว่า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change) โดยสเต็ปของการเปลี่ยนจะแบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ระยะเมินเฉย ระยะลังเล ระยะเตรียมการ ระยะลงมือ และระยะคงที่ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติจนเป็นนิสัย และมีการทำพฤติกรรมใหม่ ไม่หันกลับไปทำแบบเดิมๆ จนกระทั่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ กลายเป็นนิสัยถาวร
โดยในช่วงสุดท้ายของการประชุม สสส. สำนัก ๙ แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะได้เผยถึงโครงการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ๑๐ กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้บ้าน แรงงานนอกระบบ ประชากรข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ LGBTON+ ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ผู้ต้องขังและมุสลิม
โดยการนี้จะเน้นหลักไปยังกลุ่มมุสลิม โดยปัญหาที่พบในกลุ่มเหล่านี้ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในการนี้ สสส. มีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
๑)พัฒนาชุดความรู้ เครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพตามวิถีมุสลิม
๒)เสริมสร้างความตระหนักรู้ทางสุขภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
๓)พัฒนาศักยภาพแกนนำ เครือข่ายในการขยายผล สร้างความตระหนักรู้ทางสุขภาพของมุสลิมไทย
๔)พัฒนาสื่อความตระหนักรู้ทางสุขภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
ทั้งนี้ สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) ร่วมด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และกลุ่มเครือข่ายภาคี และศป.ดส. พร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ศป.ดส.
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”