อบจ.สงขลาหารือร่วมภาคีเครือข่ายเพื่อจัดทำแผนงานร่วมลงทุนเน้น 4 ประเด็นหลักภายใต้กรอบแนวคิด “ประชารัฐ”
“นายก อบจ.สงขลา” เป็นประธานร่วมหารือการดำเนินงานเพื่อจัดทำแผนงานร่วมลงทุนใน 4 ประเด็นหลัก กับภาคีเครือข่ายใน จ.สงขลา
วันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมติณสูลานนท์ ชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
เวลา 09.30 น. นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือการดำเนินงานเพื่อจัดทำแผนงานร่วมทุน
พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ ช่วยชูสกูล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นางปิยนันท์ สิงห์ทอง รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลารักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และ นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองสาธารณสุข ร่วมปรึกษาหารือ
โดย อบจ.สงขลา ได้เข้าร่วมพัฒนาแผนงานร่วมทุนกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2567 ในการขับเคลื่อนงานภายใต้กรอบแนวคิด “ประชารัฐ” มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐที่มีมาตรฐานให้ทั่วถึง เท่าเทียม อย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการจัดทำแผนงานร่วมทุนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทสภาพปัญหาของพื้นที่โดยการบูรการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.ประเด็นยาเสพติด
2.ประเด็นสุขภาพจิต
3.ประเด็นด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
4.ประเด็นการแพทย์ฉุกเฉิน
โดยในช่วงเช้าวันนี้ได้พูดถึงประเด็น 1. ด้านยาเสพติด
หน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ตำรวจภูธรคลองหอยโข่ง ปปส.ภาค9 ศอ.ปส.จ.สงขลา ท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สสจ.สงขลา แรงงานจังหวัดสงขลา พมจ.สงขลา รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ สมาคมเยาวชนจังหวัดสงขลา
เวลา 13.00 น. อบจ.สงขลา ร่วมประชุมปรึกษาหารือการดำเนินงานร่วมทุนกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2567 ในการขับเคลื่อนงานภายใต้กรอบแนวคิด “ประชารัฐ” มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน
โดยทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองสาธารณสุข ร่วมประชุมฯ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐที่มีมาตรฐานให้ทั่วถึง เท่าเทียม อย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการจัดทำแผนงานร่วมทุนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทสภาพปัญหาของพื้นที่โดยการบูรการความร่วมมือของทุกภาคส่วน
โดยในช่วงบ่ายได้พูดถึง ประเด็น 2.ด้านสุขภาพจิต
หน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 จ.สงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สมาคมเยาวชนจังหวัดสงขลา รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์
วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมติณสูลานนท์ ชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ในช่วงเช้าวันนี้ได้พูดถึงประเด็นด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
หน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนเนียง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านบางเหรียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเกาะแต้วสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา สสจ สงขลา
ในช่วงบ่ายได้พูดถึงประเด็นการแพทย์ฉุกเฉิน
หน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.สงขลา (1669)
ภาพ/ข่าว เอญาดา สกูลหรัง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ กองสาธารณสุข อบจ.สงขลา
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”