"งานแม่และเด็ก : ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3 จว.ชายแดนใต้จัดตั้ง Consortiumประสานการขับเคลื่อน"
"งานแม่และเด็ก : ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3 จว.ชายแดนใต้จัดตั้ง Consortiumประสานการขับเคลื่อน"
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 กขป.เขต 12 ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประสานภาคีเครือข่ายประกอบด้วยศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา สปสช.เขต 12 สสจ.สงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี คสช.ตัวแทนเขต 12 กขป.จากสภาวิชาชีพพยาบาล หารือแนวทางขับเคลื่อนงานตั้งครรภ์ไม่พร้อมในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้หลังจาก MOU ร่วมกัน 13 องค์กรเมื่อช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา ประเด็นการจัดตั้ง Consortium “สามจังหวัดชายแดนใต้ปลอดครรภ์วัยรุ่นในปี 2570”
ดร.ซอฟียะห์ นิมะ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ นำเสนอภาพรวมของงานที่ผ่านมา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับความยากจนกับการหลุดจากระบบการศึกษา การใช้ยาเสพติด ภาวะโภชนาการ รวมไปถึงการตั้งครรภ์ซ้ำ
โดยร่วมกับสสส.จับมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอใน 3 จังหวัดจำนวน 33 แห่งร่วมดำเนินการ และร่วมกับกสศ.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. ยะลา อบจ. ปัตตานี จ. สงขลา (สมาคมอาสาสร้างสุข) และนำร่อง อำเภอแว้ง จ.นราธิวาส
สรุปแนวทางจัดตั้ง Consortium ร่วมขับเคลื่อนกับ 13 องค์กรความร่วมมือ
1.ให้แต่ละองค์กร ส่งผู้รับผิดชอบงานมาร่วมเป็นทีมกลาง ประกอบด้วย
1) ศอ.บต.
2)ศูนย์อนามัยที่ 12
3)จังหวัดยะลา
4)อบจ.ยะลา
5)จังหวัดปัตตานี
6) อบจ.ปัตตานี
7) จังหวัดนราธิวาส
8) อบจ. นราธิวาส
9) สปสช เขต 12 สงขลา
10) กขป เขต 12
11)ม.อ.
12)สสส.
13)กสศ
2.สนส.และกขป.เขต 12 ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 12 ร่วมกันยกร่างแนวทางดำเนินการ โดย Mapping ภาคีความร่วมมือ+พื้นที่ปฎิบัติการ (อาทิ 33 อำเภอของพชอ. โครงการแผนงานร่วมทุนสสส. พืิ้นที่ดำเนินการกสศ.) การวิเคราะห์กรอบคิด/ปัจจัยกำหนด/วงจรการทำงานก่อนตั้งครรภ์-ขณะตั้งครรภ์-หลังตั้งครรภ์/รวมถึงกลไกที่เกี่ยวข้องทั้งทางการและไม่เป็นทางการ ในด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ โดยพิจารณาความสัมพันธ์กับชุดสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
จากนั้นประสาน 13 องค์กรร่วมเติมเต็ม ร่วมเป้าหมาย ตัวชี้วัด
3.กำหนดบทบาทของ Consortium ในการประสานการขับเคลื่อน การติดตามประเมินผล รวมถึงการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้กรณีต้นแบบ และร่วมเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับกลไกรับผิดชอบ อาทิ คณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัด สังเคราะห์ต้นแบบจัดทำเมนูโครงการให้กองทุนสุขภาพตำบลนำไปขยายผล
ที่ประชุมยังได้รับทราบความก้าวหน้าครั้งสำคัญคือผลการปรับระบบบริการแบบเชิงรุก ยืดหยุ่นและสอดคล้องวิถีชีวิตหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ระดับเขต รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของหญิงรุ่นใหม่ ทำให้ปีที่ผ่านมาลดอัตราเสียชีวิตแม่และเด็กลงไปอย่างมาก และรับรู้ถึงปัญหายาเสพติดที่ส่งผลต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในท้อง(การให้นมของมารดาทำให้เด็กได้รับยาตั้งแต่เกิด)ที่กำล้งเป็นภัยคุกคามใหม่
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี