เศรษฐกิจหมุนเวียนกับการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษอาหาร สู่ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์เกาะลันตา

  • photo  , 1000x735 pixel , 149,681 bytes.
  • photo  , 1000x640 pixel , 128,928 bytes.
  • photo  , 1000x630 pixel , 114,503 bytes.
  • photo  , 1000x604 pixel , 137,004 bytes.
  • photo  , 960x768 pixel , 173,045 bytes.
  • photo  , 960x768 pixel , 271,655 bytes.
  • photo  , 1000x800 pixel , 125,639 bytes.
  • photo  , 1000x699 pixel , 138,131 bytes.
  • photo  , 1000x641 pixel , 163,902 bytes.
  • photo  , 1000x1265 pixel , 333,328 bytes.

เศรษฐกิจหมุนเวียนกับการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษอาหาร สู่ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์เกาะลันตา

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ’’เศรษฐกิจหมุนเวียนกับการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษอาหาร สู่ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์เกาะลันตา‘‘ ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านต้นทัง จ.กระบี่

การอบรมนี้ได้รับเกียรติจาก คุณชาห์ บวรธนกุศล ปลัดอำเภอเกาะลันตา กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด และดร.นงนุช พูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและหัวหน้าคณะวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สวทช. กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การอบรม

นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญร่วมบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ ดร.ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะมูลฝอยท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนและการใช้ประโยชน์จัดการฐานทรัพยากรเกษตรและชีวภาพ

คุณวิลาวรรณ น้อยภา และคณะนักวิจัย TEI ระดมความคิดเห็นประเมินอุปสงค์และอุปทานการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเศษอาหารในพื้นที่ เพื่อจัดทำเส้นทางการจัดการที่เหมาะสมของพื้นที่

ในช่วงท้ายการอบรม ได้มีการสาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุอินทรีย์ โดยคุณคำรณ หมาดเส็ม และคุณจำนงค์ ศรีวาจา ประธานศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านต้นทังและประธานศูนย์จัดการดินปุ๋ยอำเภอเกาะลันตา เป็นวิทยากร

ทั้งนี้ การอบรมมุ่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเศษอาหารในพื้นที่ให้กับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดการใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน BCG Model ระดับพื้นที่ให้เกิดผลปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ  สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย - TEI

Relate topics