"คำสัญญา หรือธรรมนูญสุขภาพอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์ ตำบลบ่อยาง เทศบาลนครสงขลานคร สงขลา"
"คำสัญญา หรือธรรมนูญสุขภาพอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์ ตำบลบ่อยาง เทศบาลนครสงขลานคร สงขลา"
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลาร่วมกับทน.สงขลาและเครือข่ายจัดเวทีประชาพิจารณ์พิจารณาร่างธรรมนูญสุขภาพอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์ ใน 11 ชุมชนใต้ความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ที่ประชุมให้การรับรองและมีการลงนามความร่วมมือกัน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยพยาบาลฯ
โดยมีข้อตกลงหรือธรรมนูญสุขภาพร่วมกันดังนี้
วิสัยทัศน์ : เด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์ของพื้นที่สระเกษ มีภาวะอาหารและโภชนาการที่ดี เด็กสูงดีสมส่วน มีความรอบรู้และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ
แนวทางดำเนินการ : สร้างค่านิยมร่วม สร้างแนวร่วมการทำงาน บนพื้นฐานบูรณาการความรู้ บูรณาการเครื่องมือ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนากลไกการทำงานร่วม
พื้นที่เป้าหมาย 11 ชุมชนในเขตความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
กลุ่มเป้าหมาย เด็กเล็ก 0-5 ปีและหญิงมีครรภ์
ประกอบด้วยหมวดหมู่สำคัญ ดังนี้
หมวด 1 การสร้างค่านิยมร่วมในการบริโภค
ข้อที่ 1 ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กทารกแรกเกิดถึง 1 ปี กินนมแม่มากกว่านมผงสำเร็จรูป
ข้อที่ 2 ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องส่งเสริมให้เด็กเล็กอายุ 3-5 ปี กินผัก ผลไม้อย่างน้อยวันละ 1 ทัพพี และดื่มนมรสจืดอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว/กล่อง
ข้อที่ 3 ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ร้านค้า ไม่ควรส่งเสริมให้เด็กเล็ก 3-5 ปี ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้กล่อง ลดการกินขนมถุงขนมซองที่ไม่มีประโยชน์
ข้อที่ 4 สมาชิกในชุมชนร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค ด้วยรูปแบบการผลิตที่เหมาะสมกับชุมชน
ข้อที่ 5 ครอบครัว/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สมาชิกในชุมชน/ร้านค้า ร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็กเล็ก 3-5 ปี
ข้อที่ 6 ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล/เทศบาลนครสงขลา/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องดูแลให้เด็กในชุมชนทุกคนได้กินอาหารมื้อเช้า และได้รับสารอาหารที่เหมาะสมทุกมื้อ
ข้อที่ 7 ครอบครัวร่วมกันสร้างเมนูอาหารสุขภาพประจำครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 เมนู
ข้อที่ 8 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เทศบาลนครสงขลา โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร่วมกันสร้างนวัตกรรมด้านอาหารและโภชนาการ เช่น อาหารที่ช่วยให้เด็กกินผักได้ง่าย
ข้อที่ 9 ครอบครัว/ชุมชน/เทศบาลนครสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องได้รับโภชนาการที่เหมาะสม
ข้อที่ 10 สมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 3 มื้อต่อสัปดาห์
หมวด 2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
ข้อที่ 1 เทศบาลนครสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับชุมชนในรูปแบบคณะกรรมการลงสุ่มตรวจหาสารตกค้างปนเปื้อนอาหารในตลาดสดหรือตลาดนัดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง และมีการรายงานผลการตรวจให้ชุมชนรับรู้ พร้อมมีมาตรการควบคุม เข้มงวดผู้ประกอบการ
ข้อที่ 2 เทศบาลนครสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาร้านค้าชุมชนเป็นต้นแบบทางสุขภาพในการจำหน่ายวัตถุดิบ อาหารปลอดภัย ลดหวาน มัน เค็ม หรือไม่จำหน่ายขนมหรือสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
ข้อที่ 3 เทศบาลนครสงขลาและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ลงเยี่ยมเสริมพลังสถานศึกษาอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง เพื่อร่วมวางแผนและหาแนวทางในการส่งเสริมอาหารและโภชนาการสมวัย
ข้อที่ 4 เทศบาลนครสงขลาร่วมกับชุมชนสำรวจพื้นที่ว่าง เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่การผลิตอาหารปลอดภัยทั้งในชุมชนและสถานศึกษาที่รับผิดชอบ
หมวด 3 การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ
ข้อที่ 1 เทศบาลนครสงขลานครสงขลา ประธานชุมชน อสม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกันสำรวจข้อมูล จัดทำแผนที่เดินดิน วิเคราะห์องค์กรชุมชน ค้นหากลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเป้าหมายเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และจัดทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อปรับลดพฤติกรรมปัจจัยเสี่ยง
ข้อที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ
ข้อที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เทศบาลนครสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาหลักสูตรความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีและหญิงตั้งครรภ์ที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน
ข้อที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนนำหลักสูตรการพัฒนาความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการไปใช้ในการเรียนการสอน สร้างจิตสำนึกและการรับรู้ในการบริโภคให้กับผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กเล็ก 3-5 ปี
หมวด 4 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ข้อที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ที่มีทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลนครสงขลาเข้าร่วมโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารก ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก/โฟเลต และไม่มีภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์
ข้อที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับการฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
ข้อที่ 3 หญิงตั้งครรภ์ทุกคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน
ข้อที่ 4 หญิงหลังคลอดทุกคนได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์มาตรฐาน
ข้อที่ 5 เทศบาลนครสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้มีหน่วยบริการ/ระบบบริการที่รองรับหญิงตั้งครรภ์หรือเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีที่เข้าไม่ถึงสิทธิ์
ข้อที่ 6 เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ต้องได้รับการประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน
หมวด 5 การพัฒนากลไกความร่วมมือ
ข้อที่ 1 เทศบาลนครสงขลาออกประกาศแต่งตั้งคณะทำงานที่มีองค์ประกอบหน่วยงาน เครือข่าย ตัวแทนชุมชน ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพให้บรรลุผล
ข้อที่ 2 คณะทำงานรายงานผลการดำเนินงานปีละครั้ง และปรับปรุงธรรมนูญสุขภาพทุก 3 ปี
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”