"พ.ว.ก.สงขลา" ภาคีเครือข่ายโครงการรวมพลังชาวสงขลาให้ทุกครัวเรือนมีบ้าน เพราะความสุขเริ่มที่บ้าน

  • photo  , 1000x750 pixel , 159,851 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 82,933 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 72,908 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 88,512 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 75,629 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 96,866 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 95,669 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,735 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 135,429 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 91,265 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 97,083 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 102,764 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,599 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 98,070 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 102,108 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 93,993 bytes.

"พ.ว.ก.สงขลา"

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)นำโดยรักษาการผอ.สำนัก 9 ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา รมต.พม.  ทีมประเมิน  นัดภาคีเครือข่ายโครงการรวมพลังชาวสงขลาให้ทุกครัวเรือนมีบ้าน:ความสุขเริ่มที่บ้าน ที่รับงบจากสสส. มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันกับทีมวิชาการ บ.เอกชนในเรื่องการปรับสภาพบ้านและการจัดสิ่งอำนวบความสะดวก ในฐานะที่สงขลาเป็น 1 ใน 5 จังหวัด sandbox ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใช้การสร้างหุ้นส่วนทางสังคมมาสร้างสุขภาวะให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยน รับทราบแนวทางความร่วมมือในจังหวัดสงขลาที่มีการเชื่อมโยงงานระหว่างพมจ. อบจ.และเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ โดยมีการพัฒนาระบบสนับสนุนทั้งข้อมูลกลาง การจัดบริการสาธารณะด้านต่างๆ และร่วมรับฟังบทเรียนจากภาคเอกชนที่สสส.สนับสนุนให้ช่วยสังเคราะห์งานการปรับสภาพบ้าน ปัจจัยเอื้อ กลไก และกรณีศึกษาต่างๆ เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับภาคียุทธศาสตร์ รวมถึงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ใช่แค่ปรับสภาพบ้านแต่ยังเอื้อให้การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

พร้อมให้ข้อเสนแนะต่อการดำเนินการของสงขลา ว่านิยามบ้านแห่งความสุขให้ชัดเจนว่ามิได้หมายถึงปริมาณของจำนวนบ้านที่มีการสนับสนุนงบประมาณให้มีการปรับปรุง ปรับสภาพ หากยังขยายแนวคิดไปถึงการสร้างสุขภาวะให้กับผู้อยู่อาศัยในครอบครัว (สงขลาวางเป้า 500 หลัง)

พร้อมกับรองรับกลุ่มเป้าหมายที่ตกหล่นเข้าไม่ถึงบริการ และการปรับแนวคิดการบริหารจัดการเชิงระบบของหน่วยงานภาคีที่มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย

ที่สำคัญ ก็คือการเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับกระทรวงในการปรับแก้ระเบียบเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงาน  หากทำได้ สงขลาจะเป็น Social Lab ที่น่าสนใจในการเรียนรู้ และขยายผลเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการนำแนวคิดแนวทาง กลไก และระบบต่างๆ เป็นการสร้างมาตรฐานกลาง ให้จังหวัดต่างๆนำไปต่อยอดปรับให้เข้ากับบริบทของตนต่อไป

Relate topics