เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมสู่รูปธรรมระดับพื้นที่สู่การพัฒนา เติมเต็ม ต่อยอด และขยายผล

  • photo  , 1393x1045 pixel , 109,733 bytes.
  • photo  , 1353x1016 pixel , 60,102 bytes.
  • photo  , 1776x1184 pixel , 121,486 bytes.
  • photo  , 1368x1027 pixel , 94,976 bytes.
  • photo  , 1036x1166 pixel , 153,725 bytes.

เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

วันที่ 5 มีนาคม 2567 นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ บรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผู้เข้าร่วมมาจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข นักศึกษาปริญญาโท เครือข่ายสร้างสุขภาคใต้ เครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ทั้งทางออนไลน์และออนไซต์ราว 100 คน

เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ภายใต้ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการ “จัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม" เลขาธิการ สช. ได้ย้ำให้เห็นถึงหลักการทำงานที่ดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการและเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เน้นการนำไปขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม

การขับเคลื่อนงานของ สช. ได้ให้ความสำคัญกับ “การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในทุกกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายสาธารณะ” อันเป็นแนวทางที่สำคัญในการสร้างนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้มานั้น จะต้องมีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมและความต้องการของคนทุกกลุ่มวัยให้เป็นปัจจุบัน

โดยมีผู้ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีความสำคัญ เช่น การปรับกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาเป็นรูปแบบสมัชชาสร้างสุขในระดับภาค ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 การสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของภาคีเครือข่ายภาคใต้ การจัดกลุ่มประเด็นนโยบายสาธารณะให้มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และการนำเครื่องมือต่างๆ ลงมาให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นนำไปใช้ได้อย่างสอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเครือข่าย

ในช่วงบ่ายมีผู้แทนเครือข่ายจะนะยั่งยืนมาเสนอเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของนโยบายที่ได้นำมาปฏิบัติให้เห็นว่ามีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไร

และตำบลชะแล้ ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพแห่งแรกของประเทศที่ขับเคลื่อนโดยแบ่งระบบสุขภาพชุมชนออกเป็น 14 ระบบที่เกิดจากแรงขับในชุมชนที่อยากเห็นคนชะแล้มีความสุข การกำหนดความสุขร่วม การประสานภาคีมาเป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้ อยู่บนความคาดหวังจากคำว่าแห่งแรกของประเทศไทย มีกลไกสำนักขับเคลื่อนธรรมนูญ ถอดบทเรียนปรับปรุงพัฒนา มีเพื่อนเกลอมาดูงานนำไปขยายผลไม่ต่ำกว่า 100 แห่ง

ขอบคุณข้อมุลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics