"ประชุมเชิงปฏิบัติการประเด็นยาเสพติดในชุมชน" สงขลา
"ประชุมเชิงปฏิบัติการประเด็นยาเสพติดในชุมชน"
วันที่ 2 เมษายน 2567 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสงขลาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เชิญผู้สนใจเข้ารับทุนสนับสนุนโครงการ ทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วมเรียนรู้และวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาของประเด็นยาเสพติดในชุมชน โดยมีทีมวิทยากรจาก รพ.หาดใหญ่ รพ.สงขลา สสจ.สงขลา รพ.ธัญญาลักษณ์ ร่วมสังเคราะห์บทเรียนการทำงาน ณ ห้องประชุมศูนย์บริบาลผู้สูงอายุอบจ.สงขลา
ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงก็คือ การตีตราทางสังคมหรือทัศนคติต่อผู้เสพย์ว่าเป็นคนไม่ดีของสังคมทำให้ครัวเรือนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะปกปิดไม่ยอมรับปัญหา ประกอบกับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่มีหลายฝ่ายต้องทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง ตลอดจนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับชุมชนในการรับมือ ทั้งในแง่โทษภัย อาการเตือน รวมถึงแนวทางที่จะใช้ในการป้องกัน ทั้งนี้โครงการเน้นการทำงานกับกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วยกลุ่มเสี่ยงเสพย์หน้าใหม่ (ว่างงาน ไม่เรียนหนังสือ อยากลอง ต้องการการยอมรับ ฯลฯ) และกลุ่มเสี่ยงเสพย์ซ้ำ (อายุ 14-70 ปี เป็นกลุ่มที่พบในพื้นที่จ.สงขลา)
ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนบทเรียนและนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมดีๆที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมโครงการ พร้อมนัดหมายการพัฒนาโครงการที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมต่อไป
ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”