"ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก กขป.เขต 12"
"ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก กขป.เขต 12"
วันที่ 9 เมษายน 2567 (บ่าย) กขป.เขต 12 จัดประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก ณ ศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 และผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมี ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ รองประธาน กขป. อนุกรรมการ ภาคีเครือข่ายที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ วิชาการ ประชาสังคมเข้าร่วม
เริ่มด้วยการทบทวนแนะนำงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12และงานประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก นำเสนอผลการดำเนินงานปี 2566 จากนั้นภาคีเครือข่ายร่วมนำเสนอแผนงานโครงการปี 2567 รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการทำงานร่วมกัน มีข้อสรุปสำคัญใน 2 ด้านดังนี้
1)การพัฒนาระบบบริการเพื่อลดการเสียชีวิตของแม่และเด็ก รวมถึงคุณภาพชีวิต
-สปสช.เขต 12 รายงานอัตราการเสียชีวิตปี 65 พื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้อยู่ที่ 36 คนต่อประชากร 1 แสนคน ปี 66 จำนวนลดลงเหลือ 23 คน(ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21 คน) ปี 67 จะมีการปรับแนวทางสนับสนุนงบประมาณ จัดทำเป็น sandbox เฉพาะพื้นที่ 3 จว.ดำเนินการผ่าน MCH Board ลดอุปสรรคการเข้าถึงบริการ โดยปรับงบบริการต่อหัวและงบ PPA ระดับจังหวัดและCUPให้ผู้ปวยลงทะเบียนใช้บริการที่หน่วยบริการใดจะได้รับการบริการต่อเนื่องจนสิ่้นสุดครบวงจร รวมถึงพัฒนาอสม.ที่เป็นหมอคนที่ 1 ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ และสนับสนุนกิจกรรมผ่านกองทุนสุขภาพระดับตำบล กรรมการจะยกทีมลงเยี่ยมเสริมพลังให้กำลังใจ MCH Board พัฒนาระบบบริการ 1 จว. 1 ห้องคลอดที่มีระบบ Telemedicine จากรพ.จังหวัดไปยังรพ.ชุมชน พร้อมปรับระบบส่งต่อ
-ศบ.สต. ได้พัฒนาหลักสูตรสำหรับพ่อแม่ก่อนแต่งงาน ดำเนินการเชื่อมโยงกับหลักศาสนา ร่วมกับศูนย์อนามัยเขต 12 และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ พัฒนาระบบบริการ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการให้บริการและบูรณาการงานร่วมกัน
-แผนงานร่วมทุนฯ ปัตตานี ส่งเสริมกิจกรรมโภชนาการแม่และเด็ก รวมถึงวัคซีน
-วพบ.สงขลา ส่งเสริมภาวะโภชนาการแม่และเด็ก พัฒนากำลังคน ผ่านงานวิจัยและหลักสูตร นำไปสู่การสร้างการรับรู้ของอสม.และชุมชน พร้อมกับพัฒนารูปแบบบริการ ได้จัดทำธรรมนูญสุขภาพ MOU กับท้องถิ่นและชุมชน มีตัวอย่างพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ 11 ชุมชนภายใต้ศูนย์บริการสาธารณสุข ทน.สงขลา พบปัญหาแม่ซีด เด็กน้ำหนักเกินและเตี้ย ทุพโภชนาการ กำลังพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้อสม.ลงเยี่ยมบ้าน ประเมินภาวะโภชนาการให้รู้ระดับเขียว เหลือง แดง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการสมวัย
-ศอ.บต.ร่วมกับยูนิเซฟดำเนินการ 5 ตำบลนำร่อง ให้เด็กสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการสมวัย วัคซีน ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ส่งต่อให้พมจ./สสจ.และอปท.ออกข้อบัญญัติดูแลระยะยาว
-อบจ.ปัตตานี เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาสุขภาพของพื้นที่ สนับสนุน 35 โครงการ โดยมีบางแห่งเป็นพื้นที่ sandbox ตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน-2500 วัน plus มีการ MOUกับผู้นำศาสนา สร้างช่องทางสื่อสาร ระบบส่งต่อ การขึ้นทะเบียนข้อมูลกลุ่มเด็ก ทำงานร่วมกับพชต.และพชอ.
-อบจ.สงขลา แผนงานร่วมทุนฯกับสสส.สนับสนุนกิจกรรมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของเด็กในสถานศึกษาไม่ต่ำกว่า 16 โครงการ
ข้อเสนอแนะสำคัญ
1.จากคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ต้องการให้เพิ่มการรับรู้ของสังคมต่อปัญหาการเสียชีวิตของแม่และเด็กมากขึ้น ปัจจุบันรู้กันภายในบุคลากรผู้ให้บริการ และเพิ่มบริการวัคซีนและโภชนาการให้กับหญิงตั้งครรภ์ไปด้วยกัน
2.อปท. สสจ. ดำเนินการมหัศจรรย์ 1000 วันขยายไป 2500 วันเพื่อดูแลเด็กและมารดาหลังคลอด ต้องการให้สปสช.ระดับเขตออกรายงานเพื่อให้ทีมงานระดับพื้นที่เข้าถึงข้อมูลการรับบริการ
3.ระบบบริการ วิเคราะห์ข้อมูลรายกรณี มีระบบข้อมูลรายงานสถานการณ์ ข้อมูลการเสียชีวิตสู่สังคม
2)การตั้งครรภ์ไม่พร้อม และเด็กนอกระบบและในระบบการศึกษา
-สนส.ม.อ. ร่วมกับสสส. กสศ. อบจ.และพชอ.ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จำนวน 33 แห่ง และ13องค์กรที่มีการลงนาม MOU ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมตาม 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา บริการสุขภาพ สวัสดิการ ชุมชน วิชาการ/ความรู้/นวตกรรม
-สมาคมอาสาสร้างสุข ร่วมกับกสศ. ทำกิจกรรมกับเด็กนอกระบบ พบช่องว่างเรื่องข้อมูลของเด็กที่มีหลายสังกัดของการศึกษา แต่ไม่มีระบบส่งต่อข้อมูลกันและกัน และท้องไม่พร้อม พบมากในเขตเมือง กลุ่มเหล่านี้ไม่มีการวางแผนครอบครัว มีความซับซ้อนในความสัมพันธ์ มีกลไกระดับจังหวัดและระดับปฎิบัติการ(ตำบล)
-สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ ดำเนินกิจกรรมท้องไม่พร้อม พบปัญหาเด็กแต่่งงานตั้งแต่อายุน้อย ทำให้พบปัญหาเด็กเลี้ยงเด็ก(ลูก)ตามมา มีการทำแท้งเถื่อน การกินยาขับเลือดในกลุ่มปกปิดการตั้งครรภ์ และการขายบริการทางเพศ ส่วนใหญ่พบในเขตเมือง
-เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ทำกิจกรรมกับเด็กในเขตพรมแดน ที่มีปัญหาพ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล พบปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มเยาวชนที่อายุน้อย ได้ทำการคัดกรอง สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ มีกลไกรุ่นพี่/พี่เลี้ยงทำหน้าที่แทนพ่อแม่
ข้อเสนอแนะ
1.ร่วมกับกขป.ในการทำงานร่วมกับ 13 องค์กรในนามสภาที่ปรึกษา
2.การทำงานโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน มีกลไก CMของพื้นที่ประสานงาน เกาะติดรายบุคคลวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกับสหวิชาชีพ มีการเยี่ยมบ้านร่วมกันและมีกลไกจังหวัดประสานหนุนเสริมเติมเต็ม
3.พัฒนาระบบข้อมูลกลางในการดำเนินงานที่คำนึงถึงสุขภาวะบุคคลในภาพรวมมากกว่าเน้นแค่เฉพาะประเด็นและมีข้อมูลระดับครัวเรือนหรือสร้างสุขภาวะครัวเรือนไปด้วย
4.การตั้งครรภ์ไม่พร้อมเชื่อมโยงกับคุณภาพและสุขภาวะของครอบครัว และการศึกษา และมีมิติการทำงานเชิงพื้นที่...เขตเมือง ชนบท ชานเมือง พรมแดน
5.สร้างความรอบรู้ การเชื่อมโยงปัญหาและข้อเท็จจริงที่พบกับหลักการทางศาสนาที่ถูกต้อง
6.เขตสุขภาพที่ 12 เสนอการทำงานร่วมกัน sandbox ในพื้นที่เสี่ยง/เขตเมือง
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”