เวทีสรุปบทเรียนงานที่อยู่อาศัยจังหวัดสงขลา
สรุปบทเรียนงานที่อยู่อาศัยจังหวัดสงขลา
วันที่ 26 เมษายน 2567 สสส.ส่งทีมไรซ์อิมแพคบริษัทเอกชนมาร่วมถอดบทเรียนการทำงานที่อยู่อาศัยของจังหวัดสงขลา โดยมี พมจ. กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด ทม.สะเดา อบต.ท่าข้าม เขตการศึกษาพิเศษ มูลนิธิชุมชนสงขลา สมาคมคนพิการจังหวัดร่วมให้ข้อมูล ณ ห้องสรพงษ์ โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่
เริ่มจากการวิเคราะห์ในมุมของผู้รับบริการ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกก่อนได้รับบริการ ระหว่างการรับบริการและหลังรับบริการจากนั้นดูมุมมองของเจ้าหน้าที่หน้างาน งานเบื้องหลังและงานสนับสนุน
-ข้อมูลความต้องการสำรวจก่อนรับบริการมาจากหลายแหล่ง ได้แก่ TPmap Appของท้องถิ่นที่สร้างขึ้นเฉพาะ จากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จาก iMed@home เมื่อได้มาแล้วในส่วนของท้องถิ่นจะมีการตรวจสอบคัดกรองอีกครั้ง ตามระบบหรือแนวปฏิบัติที่กลไกระดับท้องถิ่นกำหนด จากนั้นส่งต่อเข้าสู่แผนของหน่วยงานที่มีงบประมาณตามระบบที่กำหนด บางส่วนระดมทุนเอง โดยมีหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้แก่ พมจ. CSR กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด กาชาดจังหวัด มูลนิธิคนช่วยคน มูลนิธิชุมชนสงขลา สมาคมอาสาสร้างสุข สภาองค์กรชุมชน/พอช. อปท. มหาวิทยาลัย
-ระหว่างดำเนินการ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการปรับเล็ก กลาง ใหญ่ ที่อปท. ชุมชน นักกายภาพจะดูร่วมกัน
-หลังปรับสภาพบ้าน พมจ.ลงเยี่ยม อปท.ร่วมกับหน่วยสนับสนุนร่วมกันติดตาม กองทุนฟื้นฟูได้พัฒนาระบบโปรแกรมบ้านสร้างสุขโดยใช้แบบประเมิน ICF มาสนับสนุนการดำเนินงานตั้งแต่สำรวจ นำเข้าแผนและติดตามผล
ปัญหาอุปสรรคที่พบ
1)ข้อมูลจากการสำรวจยังต้องคัดกรองหากลุ่มเป้าหมายจริง เนื่องจากความรีบเร่งและรวบรัดของหน่วยนโยบายทำให้ไม่ได้ข้อมูลจริง และควรมีข้อมูลความต้องการในภาพรวมระดับจังหวัดมากำหนดนโยบายรองรับ
2)การปรับสภาพบ้านไม่เป็นไปตามแบบ ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับผลกระทบ
3)ช่างยังมีน้อย หาช่างมาปรับสภาพบ้านยากและความเข้าใจของกองช่างที่จะต้องปรับสภาพบ้านให้เอื้อกับคนในบ้าน
4)การไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยเฉพาะบางเขตพื้นที่
5)การทำงานร่วมกัน ยังขาดตัวแทนกลไกสภาองค์กรชุมชน บ้านมั่นคง การเคหะ
ปัจจัยความสำเร็จ มาจากคนโดยเฉพาะกองสวัสดิ์ที่จะต้องเป็นนักประสานสิบทิศ นโยบายของผู้บริหาร ท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน การมีองค์กรสนับสนุนระดับจังหวัดทั้งภาครัฐส่วนภูมิภาค(พมจ./จังหวัด) ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ประชาสังคม เอกชน มีกองทุนฟื้นฟูฯที่สามารถปรับแก้ระเบียบภายในพื้นที่ได้ มีกลไกความร่วมมือพหุภาคีที่เกาะติด มีความต่อเนื่องในการทำงาน มีความไว้วางใจต่อกัน มีระบบสนับสนุนรองรับคือ ข้อมูล งบประมาณ
Relate topics
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"
- “สช. สานพลังกลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน”
- ”นครศรีธรรมราชโมเดล ปกป้องเด็กและเยาวชน“
- ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
- เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้
- คนรุ่นใหม่ร่วมสร้างนิเวศน์ชุมชนในการลดปัจจัยเสี่ยงชุมชนบ้านบือแรง ต.ลาโละ อ.รือเสาะ นราธิวาส
- ประชุมทีม กขป.เขต ๑๒ ชุดเล็ก
- "ประชุมทีมเลขาร่วมกขป.เขต 12"
- นครศรีธรรมราชพร้อม พร้อมขยายความสุข ให้ทั่วจังหวัด