พัฒนาศักยภาพการสื่อสารสาธารณะ ครั้งที่ 2 โครงการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ 2
งานดี สื่อสารเป็น ตามสไตล์คนรอบรู้สุขภาพ
หลังจากที่แกนนำนักสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้โครงการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ 2 ได้ดำเนินโครงการของตนเองมาแล้วร่วม 6 เดือน เริ่มเห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของคนในพื้นที่กันบ้างแล้ว
ก็ถึงเวลาได้ขยับการสื่อสาร จากการสื่อสารเพื่อบริหารจัดการโครงการ เป็นการสื่อสารสาธารณะมากขึ้น
ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2567 นี้ ณ โรงแรมเดอะ เบด เวเคชั่น อ.เมืองสงขลา โครงการย่อยทั้ง 9 ชุมชน จึงเข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพการสื่อสารสาธารณะ ครั้งที่ 2 โดยมีคุณฮาริส มาศชาย เป็นกระบวนกร
ในครั้งนี้ ได้เรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ อย่าง story telling canvas ที่มาช่วยกระตุ้นและจัดระเบียบทิศทางการสื่อสารให้คมชัดมากขึ้น
ผู้เข้าร่วมกว่า 20 คน จาก 9 ชุมชนได้มีโอกาสผลิตผลงานสื่อจากการดำเนินงานโครงการกันอย่างสนุกสนาน โดยยึดหลักสำคัญคือต้องมี key message หรือใจความสำคัญ ที่ต้องการสื่อสารให้ชัดเจน
ภายหลังการเข้ารับการอบรมนี้ แต่ละชุมชนจะต้องกลับไปฝึกฝน พัฒนาการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะยกระดับตนเองสู่นักสื่อสารความรอบรู้ด้านอาหารและสุขภาพในชุมชนต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ หรอยไร้โรค ณ ชายแดนใต้
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”