"ประชุมอนุกรรมการและเครือข่ายเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต12"

  • photo  , 1000x750 pixel , 125,062 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 42,424 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 84,395 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 117,575 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 63,852 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 91,003 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 101,343 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 132,903 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 121,011 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 79,618 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 100,886 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 183,636 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,347 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 129,845 bytes.
  • photo  , 1045x1567 pixel , 97,618 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 172,205 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 144,135 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 107,584 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 107,401 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 141,891 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 106,206 bytes.
  • photo  , 1000x1092 pixel , 135,430 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 80,686 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 112,406 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 119,857 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 100,786 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 117,453 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 142,087 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 172,869 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 112,857 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 115,437 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 228,724 bytes.

"ประชุมอนุกรรมการและเครือข่ายเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต12"

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 อนุกรรมการกขป.เขต 12 และภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยสมาคมยางพาราไทย สภาพัฒน์ฯ ภาคใต้ สถาบันนโยบายสาธารณะม.อ. พัฒนาที่ดินเขต 12 สกก.เขต 5 เศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สภาเกษตร กส.จังหวัด สมัชชาสุขภาพจังหวัด สมาคมผู้บริโภตจังหวัด สช. สปสช.เขต 12 สสจ. กองทุนฟื้นฟูฯจังหวัด มูลนิธิชุมชนสงขลา มูลนิธิสวนยางพาราแบบวนเกษตรเพื่อความยั่งยืน จัดประชุมเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและร่วมกำหนดแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงาน ณ ห้องระเบียงแก้ว โรงแรมเซาน์เทิร์นแอร์พอร์ต หาดใหญ่

ที่ประชุมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาที่คุกคามเกษตรกร และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ 5 ข้อได้แก่

1.สวนยางยั่งยืน,หนึ่งไร่หลายแสน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การรับรองมาตรฐาน และสร้างรายได้ให้เกษตรกร การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวสวนยาง

2.ส่งเสริมการตลาดอาหารสุขภาพ ส่งเสริมการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร การเชื่อมโยง Maching Model จากแหล่งผลิตสู่ร้านอาหาร (Form Fram to Table)

3.ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์และพันธุกรรมท้องถิ่น

4.ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในครัวเรือน

5.ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอในระดับหมู่บ้าน/ตำบล

ปัญหาสำคัญก็คือ ผลผลิตยางพาราในภาพรวมของประเทศลดลง31% ส่งผลต่อรายได้เกษตรกรลดลงไปด้วย บวกกับ EUDR ที่มีกฏหมายปลอดการทำลายป่าควบคุมพืช 7 ชนิดส่งผลต่อเกษตรกรโดยตรงที่จะต้องสามารถตรวจสอบที่ดินการผลิตว่าอยู่ในพื้นที่ป่าหรือไม่ รวมถึงการเปลี่ยนยางเป็นทุเรียน ปาล์ม การเผชิญโรคใบไม้ร่วงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ใบเล็กลง ผลผลิตลดลง โดยมี 10 ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ คือ ต้นทุนการผลิต ราคา การเข้าสู่สังคมสูงวัยของเกษตรกรและผู้บริโภค การปลูกพืชแทรม ค่าจ้าง บุคลากรทางการเกษตร ความรู้ เทคโนโลยี น้ำ และนโยบาย

รวมถึงระบบอาหารของภาคใต้ เรามีพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร 22 ล้านไร่  พื้นที่เกษตร 70% เป็นปาล์ม ยาง การผลิตยังไม่เพียงพอโดยเฉพาะข้าว ไข่ เนื้อ พื้นที่ผลิตอาหารลดลง การบริโภคยังไม่ครอบคลุมอาหาร 5 หมู่ ประชากรเริ่มมีการป่วย NCD เด็กเล็ก 0-5 ปี เตี้ย แคระแกร็น อาหารจากประเทศเพื่อนบ้านไม่มีมาตรฐาน

สำหรับงบประมาณปี 2567 ข้อมูลโครงการจากงบกลุ่มจังหวัด จังหวัด และภาคีเครือข่าย(ขาดข้อมูลจังหวัดสตูล พัทลุง ตรัง) ผ่านระบบสารสนเทศกลาง www.AHsouth.com ประกอบด้วยโครงการจำนวน 230 โครงการ งบ 193,755,113.96 ล้านบาท

ในจำนวนนี้เป็นงบกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 114 โครงการ งบ 4,025-120,000 บ. กิจกรรมโครงการ ส่วนใหญ่ทำกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค/อย.น้อย ตรวจเลือดเกษตรกร โภชนาการเด็กเล็ก/ปฐมวัย เกษตรปลอดภัย ปลูกผักปลอดสารพิษ/ผักสวนครัว สมุนไพร ตลาดอาหารปลอดภัย/ตลาดเขียว ตามลำดับ

งบพัฒนาจังหวัด กิจกรรมโครงการของหน่วยงานเดียวกันในแต่ละจังหวัดส่วนใหญ่มีชื่อและกิจกรรมเหมือนกัน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยมีจุดเน้น : เกษตรแปลงใหญ่/มาตรฐานสินค้า/เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ/ระบบตลาด/พืชอัตลักษณ์ GI/โครงการพระราชดำริ ส่วนโครงการเกษตรอินทรีย์/เกษตรกรรมยั่งยืนมีน้อย

งบกลุ่มจังหวัด จุดเน้นกิจกรรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรของแต่ละจังหวัด โครงการพระราชดำริ BCG Model ปศุสัตว์

ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรื่องราว


อาหารคือชีวิต ชีวิตจะเป็นอย่างไรถ้าขาดอาหารและอาหารไม่ปลอดภัย

"พื้นที่อาหารในภาคใต้มีแนวโน้มลดลง มองย้อนหลัง ๑๐ ปีและแนวโน้มยางพารายังเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก แม้ว่าราคาอาจจะผันผวน  การที่จะทำให้เกษตรกรเลิกปลูกยางคงเป็นไปไม่ได้  แต่ควรมีการเพิ่มพื้นที่อาหารในสวนยาง  เป็นการปลูกแบบผสมผสานที่สร้างมูลค่ามากกว่าการปลูกยางที่เป็นพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว

จากงานวิจัยของสถาบันนโยบายสาธารณะภาคใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ทราบว่ามิติการมีอาหารเพียงพอในภาคใต้ดีกว่าภาคอื่นๆ หากไม่มั่นคงบ้างก็แค่ระดับบางเบาบางประเด็น ในเรื่องของการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ-กินไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อปัญหา NCD ภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็ก ๕ ปี ซึ่งหากมีโภชนาการไม่เพียงพอ จะมีไอคิวที่ต่ำกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ

ระบบอาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ส่งผลต่อเรื่องสุขภาวะ ในประเด็นความปลอดภัยทางอาหารเป็นประเด็นที่น่ากังวล จากข้อมูลจังหวัดสามชายแดนภาคใต้ การบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยจากการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กาแฟแปรรูป และการผลิตที่ไม่ปลอดภัย เช่น กุ้งแห้งมีสีผสมอาหาร ซึ่งหากมีการปรับและยกระดับจะทำให้เกิดการกระตุ้นรายได้ครัวเรือนและการเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้มากขึ้น  นอกจากนี้สถานการณ์การผลิตข้าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนไม่เพียงพอต่อการบริโภคในพื้นที่ รวมทั้งอาหารจำพวกไข่ และเนื้อสัตว์ด้วย"      ดร.เพ็ญ สุขมาก ผอ.สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.

ปราณี วุ่นฝ้าย  บันทึกเรื่องราว

ขอบคุณภาพจาก บัณฑิต มั่นคง และปราณี วุ่นฝ้าย

Relate topics