ประชุมรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS สงขลา ปี 2567
วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ประชุมรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS สงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้สนับสนุนงบประมาณให้กองส่งเสริมการเกษตร จัดทำโครงการสงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมบ้านภูลิตา ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง
นายกไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นประธานเปิดงานในวันนี้ ได้ ให้นโยบาย และข้อคิดเห็น การขับเคลื่อนสงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ โดย การส่งเสริมที่ต้นน้ำ คือแหล่งผลิต ที่จะต้องได้มาตรฐานรับรอง รวมทั้งชุมชนมีการรวมกลุ่ม กันอย่างเข้มแข็ง ซึ่งเป็น จุดแข็งสำคัญของระบบรับรองแบบชุมชนมีส่วนร่วม นอกจากนั้น จะต้องมีการเชื่อมโยงสินค้า เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่า จากความเป็นสินค้าอินทรีย์ให้ได้ทั้งส่วนของการแปรรูปในการเชื่อมโยงกับการตลาด ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้เปิดตลาดเกษตร ในทุกอำเภอ ก็อยากให้ เครือข่าย ที่ได้รับรองมาตรฐาน เกษตร อินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม ได้มีการเปิดร้านจัดจำหน่าย ในตลาดเกษตร ตลอดจน เชื่อมโยงไปสู่ตลาดอื่นๆ อันที่จะทำให้ เกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นรูปธรรม
วันนี้มีการประชุมรับรองแปลง ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย ส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน หลายภาคส่วนและหลายสาขา ซึ่งถือว่ามีองค์ประกอบที่น่าเชื่อถือมากสามารถเชื่อมโยง ในการต่อยอด สินค้าเกษตร ไปสู่ เครือข่ายต่างๆ ได้ดี
การประชุมวันนี้จะมีการพิจารณา รับรองเกษตรอินทรีย์ ระยะปรับเปลี่ยน จำนวน 31 แปลง พื้นที่ 116.25 ไร่ รับรองอินทรีย์ จำนวน 35 แปลง พื้นที่ 113 ไร่
การขับเคลื่อนโครงการสงขลาหมานครเกษตรอินทรีย์ นี้ ได้จัดอบรมหลักสูตรผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGSPGS ในปี 2562-2566 จำนวน 968 คน ร่วมเดินหน้าจัดตั้งกลไกเพื่อการขับเคลื่อนการทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง ปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนาข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลแปลง และทำแผนลงตรวจแปลง
ปี 2562-2563 มี จำนวน 91 แปลง ระหว่าง 18 พฤศจิกายน 2562 - 19 ตุลาคม 2563
ปี 2563-2564 มี จำนวน 220 แปลง ระหว่าง 20 ตุลาคม 2563 - 4 มกราคม 2564
ปี 2564 มีจำนวน 92 แปลง ระหว่าง 5 มกราคม - 20 ตุลาคม 2564
ปี 2565 มีจำนวน 101 แปลง ระหว่าง 21 ตุลาคม 2564- 24 สิงหาคม 2565
ปี 2565-2566 มีจำนวน 220 แปลง ระหว่าง 25 สิงหาคม 2565- 4 เมษายน 2566
ปี 2566 มีจำนวน 150 แปลง ระหว่าง 5 เมษายน 2566 - 24 สิงหาคม 2566
ปี 2567 มีจำนวน 66 แปลง ระหว่าง 25 สิงหาคม 2566 -10 กรกฎาคม 2567
ระบบของ sdg pgs มีจุดแข็งอีกเรื่องคือในระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ที่มีการนำเข้าข้อมูลได้อย่างละเอียด สามารถตรวจสอบได้ เป็นข้อมูลให้คณะกรรมการ ได้พิจารณา และ สร้างความมั่นใจ ให้กับผู้บริโภค
สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”