"ประชุมทีมอนุและเครือข่ายประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต12"

  • photo  , 1704x961 pixel , 204,592 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 115,609 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 165,579 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 170,655 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 152,436 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 118,853 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 124,952 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 128,854 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 125,658 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 104,179 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 101,306 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,058 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 144,504 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 144,391 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 203,698 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 188,921 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 127,741 bytes.

"ประชุมทีมอนุและเครือข่ายประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต12"

วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 จัดประชุมอนุกรรมการและเครือข่ายประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ณ ห้องประชุมคณะนิติศาสตร์ ม.ทักษิณ โดยมีกขป. จากภาคส่วนต่างๆ สคร.ที่ 12 รพ.จิตเวช สงขลา สรรพสามิตรที่ 9 มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย สมาคมหมออนามัย ม.ทักษิณ หน่วยจัดการอาสาสมัคร ม.อ. โดย มีรศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ รองประธานกขป.เขต 12 เป็นประธานการประชุม มีทีมวิชาการ เลขานุการร่วมจากสธ. สปสช. และสช.ร่วมดำเนินการประชุม

ชี้ประเด็นปัญหาสำคัญคือ ภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อเยาวชนที่มีอายุสูบน้อยลงไปเรื่อยๆ มีการพัฒนาทั้งรูปแบบและกลิ่น มีความเชื่อผิดๆว่าไม่อันตราย สถานศึกษาเองก็พบครูยังไม่มีความรู้ถึงอันตราย โดยสถิติแม้จะดีขึ้นแต่ภาคใต้ก็ยังมีคนสูบบุหรี่สูงกว่าทุกภาค โดยมีสตูล และพื้นที่ 3 จว.อยู่ลำดับต้น บุหรี่นี้รวมไปถึงควันบุหรี่มือสองที่อยู่ในที่สาธารณะเช่นกัน และชี้ว่าคนที่เสพย์แล้วจะเลิกได้ยากมาก มีแต่การหักดิบเท่านั้นที่จะเลิกได้ การเป็นเมืองชายแดนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการจำหน่ายหาซื้อได้ง่าย พบปัญหาบุหรี่หมดอายุที่มาเลเซียนำมาขายคนไทย พบช่องว่างกม.ในการควบคุมนักท่องเที่ยว ขณะที่แอลกอฮอล์ พื้นที่ 3 จว.มีการควบคุมได้ดีเป็นพิเศษ แต่ก็สัมพันธ์กับปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ ในส่วนสารเสพติดอื่น นำมาสู่ปัญหาสุขภาพจิต/ภาวะซึมเศร้า การพนัน การติดเกมส์ ทะเลาะวิวาท และนำมาสู่จิตเวชคลุ้มคลั่งอีกด้วย

พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาสำคัญ

1.สร้างความตระหนักร่วมกันกับกระทรวงศึกษา เปลี่ยนความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่อันตราย สร้างค่านิยมใหม่ โดยเฉพาะกับเด็กประถม/มัธยม สร้างความรู้รณรงค์ผ่านสื่อรูปแบบใหม่ๆ อาทิ บอร์ดเกมส์ ร่วมกับสถาบันการศึกษาสื่อสารเรื่องเล่าเชิงสังคมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง พร้อมวิจัยเพื่อใช้ความรู้ในการรับมือ

2.ขยายผลต้นแบบการรับมือในชุมชน/มัสยิด ที่สามารถลดจำนวนผู้สูบในชุมชน ใช้ข้อมูลสถิติการเก็บระยะยาวเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลง และร่วมกับคณะกรรมการระดับจังหวัด/อบจ. เชื่อมโยงงานปัจจัยเสี่ยงกับปัญหา NCDs การท่องเที่ยวปลอดภัย อุบัตุเหตุ

3.ร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประสานการทำงานเชิงรุกข้ามพื้นที่ 3 จว.มายังจังหวัดอื่น ขยายผลการควบคุมแอลกอฮอล์ ร่วมกับพชอ.ในการทำงานระดับเขต

4.ถอดบทเรียนการดำเนินงาน พบ รมต.ยุติธรรมเพื่อขยายผลการทำงาน

ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงมีเป้าประสงค์สำคัญ

1.ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่

และเป้าหมายเฉพาะ

1.ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

2.สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

3.ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

สำหรับโครงการงบประมาณปี 2567 ในพื้นที่เขต 12 พบโครงการจำนวน 328 โครงการ งบรวม 116,673,664.62 ล้านบาท(ระบบสารสนเทศ www.AHsouth.com)

ในจำนวนนี้ดำเนินการผ่านงบกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 284 โครงการโดยมีกิจกรรมหลักของโครงการ ได้แก่ การป้องกันยาเสพติด CBTX บำบัดโดยชุมชนเป็นฐาน การทักษะการป้องกัน/ความรู้ การคัดกรอง/รณรงค์กิจกรรมโรงเรียน/To Be Number One การรับมือบุหรี่ไฟฟ้า ลดบุหรี่ด้วยสมุนไพร กิจกรรมในศาสนสถาน

ในส่วนงบพัฒนาจังหวัด พบกิจกรรมโครงการ จุดเน้น : การป้องกันและลดปัญหา การบำบัดรักษา/ฟื้นฟู การสร้างภูมิคุัมกัน TO BE NUMBER ONE

งบกลุ่มจังหวัดและงบภาคีเครือข่าย กิจกรรมโครงการเน้นลดกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด บุหรี่ไฟฟ้า

Relate topics