กยท. ร่วมกับ อบจสงขลาและาคีเครือข่ายร่วมบูรณาการส่งเสริมอาชีพชาวสวนยางอย่างยั่งยืน
กยท. อบจสงขลา ร่วมบูรณาการส่งเสริม อาชีพชาวสวนยาง
วันที่ 28 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้มีการพบปะหารือระหว่าง ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และผู้บริหาร การยางแห่งประเทศไทย ว่าที่ร้อยตรีศุภชัย จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง และ นายคารม คงยก ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่ กองส่งเสริมการเกษตร อบจ.สงขลา และอาสาสมัครเกษตรอบจ. สงขลา
โดยทั้งสามฝ่ายได้ข้อสรุปในการจะช่วยกันส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรชาวสวนยาง
จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ปลูกยางพารา 2,195,792 ไร่ เกษตรกร 139,734 ครัวเรือน ผลผลิต 411,181 ตัน มูลค่าประมาณ 33,000 ล้านบาท นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของจังหวัดสงขลาเป็นอย่างยิ่ง
ในปัจจุบัน จะมีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ในการส่งเสริม ยางพารา ได้แก่การยางแห่งประเทศไทย ที่ดูแลเรื่อง การ วิจัยและ ส่งเสริมการปลูก ส่งเสริมการให้ทุน ส่งเสริมอาชีพชาวสวนยาง ส่งเสริมการตลาดผ่านตลาดกลางยางพารา ส่วนหน่วยงาน กรมวิชาการเกษตร กองการยาง และศูนย์ควบคุมยาง จะดูแลเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย พรบ.ยาง นอกจากนั้นจะมีกลไกที่สำคัญคือผู้ประกอบการ แปรรูป น้ำยางพารา และผู้ส่งออก ที่ช่วยให้ธุรกิจยางพาราในการหมุนเวียน
สำหรับนโยบายการส่งเสริมการยางพาราในปัจจุบัน มีการจำกัดพื้นที่ปลูกแทน ลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่จะมาเพิ่มโครงการ ส่งเสริมอาชีพเสริมชาวสวนยาง และโครงการสวนยางยั่งยืนให้มีเพิ่มมากขึ้น
โครงการปลูกแทนสวนยางอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย ให้ผลผลิตน้อย กยท. จะให้มาทุนปลูกแทนไร่ละ 16,000 บาท ใน 3 รูปแบบให้เลือก
1.ปลูกแทนด้วย “ยางพันธุ์ดี”
2.ปลูกแทนด้วย “ไม้ยืนต้น ไม้ผล ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ”
3.ปลูกแทนแบบ “เกษตรกรรมยั่งยืน”
และอีกโครงการที่น่าสนใจคือส่งเสริมการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน กยท. จะสนับสนุนค่าพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์บางส่วน 1,500 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 10 ไร่ หรือ15,000.- บาท
แนวทางสวนยางยั่งยืนซึ่งเป็นการทำสวนยางที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีการจัดการรูปแบบการปลูกยางใหม่ โดยให้มีต้นยางเพียง 40-44 ต้น/ไร่ จากรูปแบบการปลูกยางเดิม 76-80 ต้น/ไร่ มีการปลูกพืชร่วมยาง เช่น ผักพื้นบ้าน ผลไม้ พืชสมุนไพร ไผ่ กาแฟ เป็นต้น หรือมีการทำเกษตรผสมผสาน เช่น เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงผึ้ง ทำฟาร์มเห็ด เลี้ยงปลา เป็นต้น
รวมทั้งมีการปลูกไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นตะเคียนทอง จำปาทอง ไม้สัก พะยูง ยางนา โดยมุ่งหวังให้เกษตรชาวสวนยางมีรายได้มั่นคงเพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีสุขภาพที่ดี สร้างสมดุลชีวิตให้กับเกษตรกรในระยะยาว ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ทาง กยท จะให้เป้าหมายผ่าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จำนวน 1,300 ไร่ ในโครงการส่งเสริมสวนยางยั่งยืน 1,500 บาท/ไร่ โดย ให้อาสาสมัครเกษตร อบจ ที่มีอยู่ในทุกตำบล ทำการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับทราบและรับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการแจ้งรายชื่อและรวบรวมรายชื่อที่ประธานอาสาสมัครเกษตร อบจ ของแต่ละอำเภอ
จากนั้นจะรวบรวมรายชื่อภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เพื่อนำส่งแก่ กยท จังหวัดสงขลา ต่อไป
ธัชธาวินท์ สะรุโณ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี