เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน(ขสย.) รุกทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 ไฟเขียวนำร่อง 18 พื้นที่ 6 จว.ลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ไฟฟ้า
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน รุกทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 ไฟเขียวนำร่อง 18 พื้นที่ 6 จว.ลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ไฟฟ้า
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 12 จัดประชุมตัวแทนกองสุขภาพตำบล 18 พื้นที่ 6 จังหวัด เพื่อชี้แจงและสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาจากบุหรี่ไฟฟ้า อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างสปสช.เขต 12 กขป.เขต 12 และเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน(ขสย.) ณ ห้องประชุมชั้น 3 สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 โดยมีนายสายันต์ อาจณรงค์ รักษาการ ผอ.สปสช.เขต 12 และ นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ประธานกขป.เขต 12 ร่วมกล่าวเปิดการประชุม
ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากความริเริ่มของเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน ที่ขยายผลการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยง และร่วมกับกขป.เขต 12 ซึ่งทำงานในลักษณะเครือข่ายแนวราบ ประสานการทำงานร่วมกัน ได้กำหนดประเด็นในการขับเคลื่อน บุหรี่และปัจจัยเสี่ยงเป็น 1 ใน 4 ประเด็นโดยมีนายอับดุลปาตะ ยูโซะ กขป.ตัวแทนภาคประชาสังคมในส่วนของเยาวชนและเป็นแกนนำ ขสย.(เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน)ดำเนินงาน
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน เคลื่อนไหวทางสังคม ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างแกนนำเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ภาคใต้ ได้หารือกับสนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกขป.เขต 12 มาก่อนหน้านี้ มีข้อสรุปให้เชิญตัวแทนกองทุนสุขภาพตำบลทั้ง 18 แห่งมาเพื่อสร้างความรับรู้และมีส่วนร่วมการดำเนินงาน
โครงการดังกล่าว ต้องการสร้างพื้นที่นำร่อง พัฒนาแกนนำและสร้างความรอบรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าให้กับกลุ่มเยาวชน ภายใต้แนวคิดหลัก "วัยรุ่นใต้ล่างรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า" ดำเนินการโดยขสย.และแกนนำใน 6 จว.
การประชุมรอบนี้เพื่อนำเสนอแนวคิดการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ นำไปสู่การกำหนดกิจกรรมการแก้ปัญหาให้ตรงจุด พร้อมอบรมสร้างความตระหนักรู้และเท่าทันด้วยการรณรงค์ และทำมาตรการเชิงนโยบาย
กลุ่มเป้าหมาย : พื้นที่ละ 100 คน ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายหลัก : 50 คน เด็กในสถานศึกษา ป.4-6 หรือ ม.1-ม.3 หรือเด็กที่หลุดนอกระบบการศึกษา กลุ่มเป้าหมายรอง: 50 คน ได้แก่ พ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชน
ตัวชี้วัด : มีข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน ได้ชุดกระบวนการทำงานและแนวทางการแก้ปัญหา ได้เครือข่ายแกนนำเยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้มาตรการเชิงนโยบายระดับพื้นที่ ได้พื้นที่สุขภาวะต้นแบบ
ทั้งนี้ทางเครือข่ายจะมีโครงการกลาง และมีคณะทำงานในแต่ละตำบลเขียนโครงการนำเสนอตามระบบขอการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบล มีระยะเวลา 9 เดือน งบ 50,000 บ.ต่อแห่งหรือปรับลดได้ตามความเหมาะสม กิจกรรมหลักประกอบด้วย การประชุมคณะทำงาน การเก็บข้อมูลคัดกรอง/วิเคราะห์ การอบรมให้ความรู้และเน้นทักษะ ความเท่าทัน มีเวทีสานพลังสร้างข้อตกลง และสรุปบทเรียน
การดำเนินงานดังกล่าวสามารถใช้เงินจากแหล่งทุนอื่นได้ และยังพร้อมปรับปรุงเพิ่มเติม รวมถึงหารือการทำงานร่วมกันระหว่างแกนนำขสย.และเจ้าหน้าที่กองทุนหรืออปท.
ที่ประชุมเห็นชอบการโครงการดังกล่าว พร้อมมีข้อเสนอแนะในบางกิจกรรม และรับทราบข้อกังวลและปัญหาการทำงาน อาทิ กิจกรรมที่ควรดำเนินการคือ ทำให้กล่มเยาวชนเห็นผลกระทบจากความเป็นจริง วัดผลกระทบที่เห็นระยะสั้น มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนร่วมกัน สามารถติดตามประเมินผล
ความร่วมมือดังกล่าวเป็นแนวทางใหม่ที่จะเสริมหนุนพื้นที่ โดยนำประเด็นร่วมของเขต 12 มาดำเนินการร่วมกับอปท.ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีขสย.ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและประสานการดำเนินงาน สร้างแกนนำรุ่นใหม่ โดยมีกขป.เขต 12 สปสช.เขต 12 ร่วมให้ข้อเสนอแนะและสนับสนุนการทำงาน
ชาคริต โภชะเรือง เลขานุการ กขป.เขต 12 (บันทึกเรื่องราว)
ขอบคุณภาพจาก สปสช.เขต 12
Relate topics
- หนุงเสริมพลังโครงการ“การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน” บ้านบางใหญ่ สุราษฏร์ธานี
- หนุนเสริมพลังโครงการเครือข่ายสุขภาวะยุคใหม่สร้างเมืองปลอดภัยห่วงใยคุณภาพชีวิตชาวบ้านหาร สงขลา
- นายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ ร่วมแลกเปลี่ยน “แนวคิดจัดตั้งสมาคมฯ: เสียงจากประชาชนสู่การขับเคลื่อนสันติภาพ”
- UNDP และกระทรวงพม. เดินหน้ารับมือความท้าทายท่ามกลางสังคมสูงอายุและภาวะโลกรวน
- โซ่ข้อกลางเพื่อประชาชน: สันติวิธี เส้นทางสู่สันติสุขที่ยั่งยืนที่ชายแดนใต้
- หารือการขับเคลื่อนงานตามโครงการ “วัยรุ่นใต้ล่างรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า” พื้นที่สตูล
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า