สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นวัตรกรรมทางความคิดเพื่อชุมชนเข้มแข็งชุมชนปันรักบ้านปันสุขตำบลท่าข้าม สงขลา
สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นวัตรกรรมทางความคิดเพื่อชุมชนเข้มแข็ง
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามได้จัดพิธีมอบบ้าน ตามโครงการพัฒนากลไกและความร่วมมือในการปรับสภาพบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน
เดิมบ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านไม้ มีสภาพชำรุดทรุดโทรม บ้านหลังนี้สร้างใหม่ทั้งหลัง จากความเสียสละทั้งทรัพย์สิน วัสดุ อุปกรณ์แรงกาย แรงใจ เวลา ความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้มีส่วนร่วมทุกๆ ท่าน มูลค่าการก่อสร้างจำนวนกว่า 140,000 บาท แต่ที่มากกว่ามูลค่าของการสร้างบ้านหลังนี้คือ การแบ่งปันของทุกคน บ้านแห่งความแบ่งปัน
และบ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่มีกระบวนการชัดเจนและเป็นที่มาของโครงการนวัตกรรมท้องถิ่น ชุมชนปันรัก บ้านปันสุข ซึ่งเป็นโครงการนวัตกรรมที่เสนอเข้าร่วมรับการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประเภทโดดเด่น และได้รับรางวัลชมเชย จากสำนักนายกรัฐมนตรี
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามขอขอบคุณภาคส่วนต่างๆ
สมาคมอาสาสร้างสุข สนับสนุนแนวความคิด สนับสนุนผ้ามือสอง โดยกองสวัสดิการสังคมนำมาจำหน่ายจนเป็นที่มาในการก่อตั้ง “กองทุนท่าข้ามปันสุข” ขึ้น และยังสนับสนุน อบต.ท่าข้ามเรื่อยมา
มูลนิธิคนช่วยคน สนับสนุนแนวความคิดการระดมทรัพยากรในการสร้างบ้าน สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา สนับสนุนงบประมาณ 40,000 บาท เพื่อหนุนเสริม
กองพันมณฑลทหารบกที่ 42 ที่อบต.ท่าข้ามประสานขอความอนุเคราะห์ไปเพื่อมาเป็นแรงงานหนุนเสริมชุมชน ท่านผู้บังคับการกองพัน นายทหาร น้องๆ พลทหารที่ปลดประจำการไปแล้ว แต่ความประทับใจในความขยันขันแข็งยังคงอยู่
ผู้นำชุมชนหมู่ที่ 2 และจิตอาสา ที่มีความเข้มแข็ง ที่ช่วยเหลือแรงงานการก่อสร้างหนุนเสริมกับทหาร
วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ อนุเคราะห์ การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
วงดนตรีลูกทุ่งวัฒนธรรมไหดำ จัดกิจกรรมดนตรีจิตอาสา เพื่อระดมทุนเพื่อหนุนเสริมการสร้างบ้าน ตามสถานที่ต่างๆ เชื่อว่าหากท่านไม่เสียสละมากพอคงไม่ทำขนาดนี้ มืดค่ำ ดึกดื่น บางวันฝนตก แต่เราก็ร่วมกันระดมทุนเพื่อช่วยเหลือ เพื่อแบ่งปันคนในชุมชน นี่คือสิ่งที่มันเกิดชึ้นจากการเสียสละ
ร้านวัสดุก่อสร้าง Do home ที่วันที่มาร่วมแสดงความยินดี โดยการแนะนำของคุณจิระโรจน์ เจ้าของตลาดนัดเกาะหมี ซึ่งทำให้เราได้เพิ่มเติมเครือข่ายในการสร้างบ้านให้คนยากลำบากในพื้นที่ตำบลได้อีกทาง
จิตอาสา ญาติน้องที่ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก เพื่อให้บ้านหลังนี้ สร้างความสำเร็จ อาหารรสชาตดี พร้อมขนมหวานให้ทุกคนอิ่มเพื่อได้มีแรงทำงาน
กองสวัสดิการสังคม ที่ตั้งใจ มุ่งมั่นและทุ่มเท ช่วยกันฝ่าฟันอุปสรรค
กองทุนท่าข้ามปันสุข ที่จัดตั้งขึ้น โดยกองสวัสดิการสังคม ตอนนี้ระดมทุนได้ 100,000 กว่าบาท รายได้ทั้งจากการขายผ้า จากผ้าปันสุขซึ่งทุกครั้งที่ขาย นั่นคือเวลากลางคืน น้อยครั้งที่จะเป็นกลางวัน หากเราไม่เสียสละมากพอคงไม่ทำกิจกรรมดนตรีจิตอาสาที่ใช้ดนตรีเป็นสื่อหาทุนช่วยสร้างบ้าน
ฝนตกก็ไม่ย่อท้อ ค่ำคืน ดึกดื่น และเป็นวันหยุดราชการ แต่ก็ยังทุ่มเท การบริจาคผ้าจากเพื่อน ๆ ประชาชนที่เห็นกระบวนการในการทำแล้วอยากจะช่วยหนุนเสริม การบริจาคเงิน การแข่งขันนกกรงหัวจุกการกุศล หรือบริจาคสิ่งของ โดยระยะหลังๆ จะมีการแจ้งความประสงค์ในการช่วยเหลือ นี่คือความสำเร็จ
วันนี้เป็นวันสำคัญส่งมอบบ้านให้น้อง โดยทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความยินดี บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน เชื่อว่าบ้านหลังนี้จะอยู่ในความทรงจำของผู้ได้รับ และเป็นความชื่นใจของผู้ให้ ขอบคุณจากหัวใจ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ มูลนิธิคนช่วยฅน และคุณนุชรี ศรีพรมทอง ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (คนต้นเรื่อง)
Relate topics
- พมจ.สงขลา เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน(ขสย.) รุกทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 ไฟเขียวนำร่อง 18 พื้นที่ 6 จว.ลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ไฟฟ้า
- ทีมวิชาการสร้างสุขภาคใต้ ชี้จุดร่วมทำนโยบายรับมือภัยพิบัติ
- "สงขลาพัฒนาระบบรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์"
- "ประชุมภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบผู้ดูแลผู้ป่วยจังหวัดสงขลา"
- สช.ผนึกกำลัง สกช. พอช. หารือขอบเขตความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะปี 2568
- หยุดความรุนแรงในเด็กและสตรีขับเคลื่อนโดยกลไก พชอ. สู่ พชต. ในตำบลพื้นที่นำร่องตำบลบ่อยางและตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา
- “รวมพลังเด็กนครศรีฯ เท่ได้ไม่ต้องสูบ“ เวทีสาธารณะป้องกันนักสูบหน้าใหม่ Smart No Smoking จังหวัดนครศรีธรรมราช
- การประชุมหารือ กขป.และเลขาร่วมเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ เขตพื้นที่ 11 พ.ศ. 2568
- ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรม “โปรแกรมการอบรมคู่มือพ่อแม่ (Parenting Education Sessions: PES) ยะลา