ประชุมทีมปรับสภาพบ้านและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานสำหรับคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง จ.สงขลา"

  • photo  , 1200x900 pixel , 162,647 bytes.
  • photo  , 1200x867 pixel , 116,603 bytes.
  • photo  , 1200x900 pixel , 127,320 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 119,187 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 185,378 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 109,948 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,290 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 107,513 bytes.

ประชุมทีมปรับสภาพบ้านและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานสำหรับคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง จ.สงขลา"

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ภาคีเครือข่ายจ.สงขลา ประกอบด้วย อบจ./กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด พมจ. สสจ. พช. รพ.สงขลา คณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ มูลนิธิฅนช่วยคน สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา/มูลนิธิชุมชนสงขลา หารือการปรับสภาพบ้านให้กับคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทองต่อ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางดำเนินงาน เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายแดง(รัฐจ่าย)และเหลือง(รัฐร่วมจ่าย) มีข้อสรุปแนวทางดำเนินงานร่วมกันดังนี้

1)จำนวนคนพิการทั้งสิ้น 904 คน จากการนำข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ พช.(รายได้ เกณฑ์ความยากจน) พมจ.(สวัสดิการทางสังคม) สสจ.(สุขภาพ) มาดูร่วมกัน ปรากฏว่าข้อมูลที่หน่วยงานมียังไม่สามารถคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่จะช่วยเหลือในปีนี้จำนวน 300 คน(กลุ่มแดง) จำนวนวงเงินในการปรับสภาพบ้าน 40,000 บาทได้ ตามเกณฑ์ดังนี้

1.รายได้เฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนต่อคนต่อปี ต่ำกว่า 40,000 บาท

2.มีสมาชิกในครัวเรือนเป็นกลุ่มเปราะบาง

3.ด้านสุขภาพ เป็นผู้ป่วยติดเตียงช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีคนดูแล(สมาชิกในบ้านหรือ CG)

4.ที่อยู่อาศัยต้องปรับปรุง

5.ไม่มีบัตรคนพิการ

6.ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ

ให้มีการสำรวจใหม่ ทั้ง 904 คน โดยแบ่งความรับผิดชอบในระดับอำเภอ ประกอบด้วยทีมรับผิดชอบของ อบจ. พมจ. และสสจ. นัดส่งข้อมูล 18 ธค.

กรณีกลุ่มสีเขียว มีเกณฑ์เรื่องรายได้สูงกว่า 100,000 บาทเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนต่อคนต่อปี ต่ำกว่า 40,000 บาท การช่วยเหลือจะเป็นการให้ความรู้การปรับสภาพบ้าน

กรณีกลุ่มสีเหลือง มีเกณฑ์เรื่องรายได้เฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนต่อคนต่อปีสูงกว่า 40,000-100,000 บาทเฉลี่ย บวกกับเกณฑ์อีก 5 ข้อ

2)คณะสถาปัตย์และวิทยาลัยเทคนิค รพ.สงขลา นัดออกแบบบ้านมาตรฐานสำหรับคนพิการติดเตียง ซึ่งประกอบด้วย

1.โครงสร้างที่อยู่อาศัย

2.สิ่งก่อสร้าง

3.สภาพแวดล้อม(แสงสว่าง กลิ่น สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ)

4.วัสดุอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น รวมถึงการเชื่อมโยงกับรถรับส่งไปพบแพทย์ การใช้ Telemedicine ซึงต้องมีข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลตัวบ้าน การออกแบบเฉพาะในแต่ละหลัง รวมถึงรายละเอียดวัสดุ ประมาณราคา

ในส่วนนี้จะมีการนัดหมายกำหนดมาตรฐานกลาง (9 ธค.เวลาบ่ายสอง)และให้ความรู้กับทีมนักเรียนสถาปัตย์และวิทยาลัยเทคนิคลงพื้นที่ไปดำเนินการออกแบบบ้านแต่ละหลังต่อไป

รายละเอียดวัสดุจะนำมาสู่ความร่วมมือระดับจังหวัดในการรับบริจาคจากภาคเอกชนและครือข่าย รวมถึงระดมแรงงานลงปรับสภาพบ้านร่วมกับอปท.ในพื้นที่

เบื้องต้น อ.จามิกร แจ้งว่าได้ประสานบ.ไดนาสตี้ร่วมบริจาคกระเบื้อง

3)ผู้ดูแล ประกอบด้วยทีม CG ในระบบ นักบริบาล ผู้ช่วยคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการของพมจ. ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯกำลังพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

4)ความร่วมมือกับอปท./อำเภอในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติเศรษฐกิจ สังคม เริ่มด้วยการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานตามสิทธิ์ในแต่ละด้านของคนพิการและสมาชิกในครอบครัว โดยนำร่องใน 4 อปท.ผ่านโครงการหุ้นส่วนทางสังคม พ.ว.ก.

1.ลงสำรวจด้วยแบบประเมินการปรับสภาพบ้านและเข้าถึงสิทธิพื้นฐานคนพิการติดเตียง เพื่อประสานส่งต่อการเข้าถึงสิทธิ์พื้นฐานด้านต่างๆ

2.คัดกรองสุขภาวะรายคนสำหรับสมาชิกในครัวเรือนเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ใช้แบบคัดกรองระบบกลุ่ม iMed@home เน้นการทำงานระดับครัวเรือน

3.ร่วมกันทำแผนและกติกาชุมชนร่วมปรับพฤติกรรมและช่วยเหลือ

5)Data center พัฒนาโดยอบจ./กองทุนฟื้นฟูฯ นำเสนอและรายงานผลการทำงานร่วมกัน

นัดหมายประชุมครั้งต่อไป 23 ธันวาคม 2567 เวลาบ่ายโมงครึ่ง

ชาคริต โภชะเรือง  บันทึกเรื่องราว

Relate topics