สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
"ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
จังหวัดสงขลาโดยความร่วมมือระหว่างกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โครงการพ.ว.ก.หุ้นส่วนทางสังคม สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา สสจ. พช. รพ.สงขลา คณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาลัยเทคนิค มูลนิธิฅนช่วยคน มูลนิธิอาสาสร้างสุข มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกันปรับสภาพบ้านให้กับคนพิการติดเตียงและประสานการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน 4 มิติ ดังแนวทางดำเนินงานร่วมกันดังนี้
1)กลุ่มเป้าหมาย จำนวนคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทองทั้งสิ้น 904 คน นำข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ พช.(รายได้ เกณฑ์ความยากจน) พมจ.(สวัสดิการทางสังคม) สสจ.(สุขภาพ) มาดูร่วมกัน พร้อมวางเกณฑ์ในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย-เขียว-เหลือง-แดง จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแดง ตามเกณฑ์ดังนี้
1.รายได้เฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนต่อคนต่อปี ต่ำกว่า 40,000 บาท
2.มีสมาชิกในครัวเรือนเป็นกลุ่มเปราะบาง
3.ด้านสุขภาพ เป็นผู้ป่วยติดเตียงช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีคนดูแล(สมาชิกในบ้านหรือ CG)
4.ที่อยู่อาศัยต้องปรับปรุง
5.ไม่มีบัตรคนพิการ
6.ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
วางเป้าหมาย ปรับสภาพบ้านให้ได้ 500 หลัง โดยจำนวน 300 คน กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด ดูแลในกลุ่มแดง ซึ่งจะได้รับงบช่วยเหลือ จำนวนวงเงินในการปรับสภาพบ้าน 40,000 บาท(รวมค่าแรง) โดยระดมทุนจากภาคส่วนต่างๆ เพิ่มเติม และพมจ.ให้ความช่วยเหลือในส่วนคนพิการและผู้สูงอายุ 200 หลัง
กรณีกลุ่มสีเขียว มีเกณฑ์เรื่องรายได้สูงกว่า 100,000 บาทเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนต่อคนต่อปี ต่ำกว่า 40,000 บาท การช่วยเหลือจะเป็นการให้ความรู้การปรับสภาพบ้าน กรณีกลุ่มสีเหลือง มีเกณฑ์เรื่องรายได้เฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนต่อคนต่อปีสูงกว่า 40,000-100,000 บาทเฉลี่ย บวกกับเกณฑ์อีก 5 ข้อ กลุ่มนี้จะมีการสมทบหรือร่วมจ่ายตามความเหมาะสม
2)สร้างองค์ความรู้ และกำหนดมาตรฐานกลาง คณะสถาปัตย์และวิทยาลัยเทคนิค รพ.สงขลา ออกแบบบ้านมาตรฐานสำหรับคนพิการติดเตียง ซึ่งประกอบด้วย
1.โครงสร้างที่อยู่อาศัย(เสา หลังคา)
2.สิ่งก่อสร้าง(พนัง ห้องน้ำ)
3.สภาพแวดล้อม(มีหน้าต่างระบายอากาศ มีแสงสว่างเพียงพอ มีแสงส่องถึง ประตูทางเข้าที่กว้างเพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายเตียง มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการชำระล้างร่างกาย การทำความสะอาดพื้นที่ มีพื้นที่พอเพียงสำหรับการดูแล/ผู้ดูแล ราวจับ ทางลาด ประตู หน้าต่าง อุปกรณ์ชำระล้าง/การระบายของเสีย ม่าน ฉากกั้น วัสดุปูพื้นกันลื่น สุขภัณฑ์ กระเบื้องมุงหลังคา ตู้/ชั้น ที่เก็บยา ระบบไฟฟ้าฯลฯ)
4.วัสดุอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น(เตียง รถเข็น ที่นอนลม เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ที่ให้อาหารทางสายยาง) รวมถึงการเชื่อมโยงกับรถรับส่งไปพบแพทย์ การใช้ Telemedicine พิจารณาร่วมกับข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลตัวบ้าน นำมาสู่การออกแบบเฉพาะในแต่ละหลัง รวมถึงรายละเอียดวัสดุ ประมาณราคา และให้ความรู้กับทีมนักเรียนสถาปัตย์และวิทยาลัยเทคนิคลงพื้นที่ไปดำเนินการออกแบบบ้านแต่ละหลัง
รายละเอียดวัสดุแต่ละหลังในภาพรวมจะนำมาสู่ความร่วมมือระดับจังหวัดในการรับบริจาคจากภาคเอกชนและครือข่าย รวมถึงระดมแรงงานลงปรับสภาพบ้านร่วมกับอปท.ในพื้นที่
3)ผู้ดูแลคนพิการ ประกอบด้วยทีม CG ในระบบ นักบริบาล ผู้ช่วยคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการของพมจ. รวมถึงผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯกำลังพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
4)ความร่วมมือกับอปท.ประสานกองทุนฟื้นฟูฯ ขอสนับสนุนงบประมาณในการปรับสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นตามความเหมาะสม โดยใช้งบจากกองทุนฟื้นฟูฯ หลังละไม่เกิน 40,000 บาท พร้อมค่าแรงทีมช่างหรืออาสาสมัครในการปรับสภาพบ้าน
บูรณาการงบกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในกรณีที่ต้องการปรับสภาพบ้านมากกว่างบที่มี
นำแบบที่ช่างอาสาจัดทำรวมถึงการวิเคราะห์วัสดุอุปกรณ์ประกอบ นำมารวบรวมเพื่อระดมบริจาคหรือขอสนับสนุนจากภาคเอกชน ร่วมกับพมจ. และจังหวัด
ติดตามประเมินผล ว่าการดำเนินงานนี้สามารถช่วยเหลือคนพิการติดเตียงใน 4 ด้านสำคัญหรือไม่ ได้แก่
•ส่งเสริมความสามารถการใช้ชีวิตประจำวัน
•ส่งเสริมทางด้านจิตใจ
•ส่งเสริมการกินอาหาร
•ส่งเสริมการขับถ่าย
นอกจากนั้นยังร่วมกับอปท./อำเภอในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติเศรษฐกิจ สังคม เริ่มด้วยการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานตามสิทธิ์ในแต่ละด้านของคนพิการและสมาชิกในครอบครัว โดยนำร่องใน 4 อปท.ผ่านโครงการหุ้นส่วนทางสังคม พ.ว.ก. ตามขั้นตอนดังนี้
1.ลงสำรวจด้วยแบบประเมินการปรับสภาพบ้านและเข้าถึงสิทธิพื้นฐานคนพิการติดเตียง เพื่อประสานส่งต่อการเข้าถึงสิทธิ์พื้นฐานด้านต่างๆ
2.คัดกรองสุขภาวะรายคนสำหรับสมาชิกในครัวเรือนเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ใช้แบบคัดกรองระบบกลุ่ม iMed@home ของมูลนิธิชุมชนสงขลาเน้นการทำงานระดับครัวเรือน มีการติดตามผล วัดซ้ำเพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลง
3.ร่วมกันทำแผนและกติกาชุมชนร่วมปรับพฤติกรรมและช่วยเหลือ
5)Data center พัฒนาโดยอบจ./กองทุนฟื้นฟูฯ นำเสนอและรายงานผลการทำงานร่วมกันในภาพรวมระดับจังหวัด
ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี
- จังหวะก้าว งานสร้างสุขภาคใต้ปี 2568