"พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
"พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
วันที่ 12 ธันวาคม 2567 แผนงานร่วมทุนฯสงขลา จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาฯ โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คนประกอบด้วยทีมพี่เลี้ยง 8 คน กองเลขา 4 คน ตัวแทนโครงการย่อย 8 คน ณ ห้องสมุดศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ แบ่งกิจกรรมเป็น 2 รอบ
ภาคเช้า สรุปบทเรียนการดำเนินงานในช่วงต้นน้ำ และกลางน้ำ เริ่มจากการบอกเล่าบทเรียนจากกิจกรรมกลางที่นำแผนงานร่วมทุนทั้ง 15 แห่งมาพบกัน จ่ากนั้นได้ทบทวนเป้าหมาย และกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาทั้งหมดพร้อมกับสรุปบทเรียนที่มี
โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.ต้นน้ำ : อุปสรรคใหญ่ที่พบก็คือ การปรับฐานคิดของทีมงานโครงการย่อย ที่คุ้นชินกับการทำงานตามประสบการณ์เดิม อาทิ การทำกิจกรรมแบบ event ขาดความต่อเนื่อง รับผิดชอบโดยตัวบุคคลมากกว่าทีม หรือการทำกิจกรรมที่มีหน่วยงานมาเป็นผู้ "ทำให้" อยู่เบื้องหลังไม่คุ้นกับการลงมือทำด้วยตัวเอง
ทีมให้ความสำคัญกับกลไกพี่เลี้ยง และใช้ต้นไม้ปัญหา/บันไดผลลัพธ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโครงการ ในส่วนพี่เลี้ยงของสงขลา มีการจับคู่เป็น "บัดดี้" กันในระดับโซน เพื่อเสริมหนุนกันและกัน และเป็นการประคับประคองโดยผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า นับเป็นจุดเด่นของสงขลา
การพัฒนาโครงการ มีข้อเสนอแนะว่าควรดำเนินการอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งแรกนัดหมายผู้รับผิดชอบหลัก เลขา และการเงินของผู้สมัครส่งโครงการมาร่วมทำความเข้าใจแนวคิด แนวทาง และจัดทำต้นไม้ปัญหา/บันไดผลลัพธ์กลางร่วมกัน ก่อนนัดพี่เลี่ยง ประสานแกนนำภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมาระดมความเห็นร่างโครงการจากต้นไม้ปัญหา และประชุมครั้งที่ 2 จัดทำบันใดผลลัพธ์ กิจกรรมต่างๆของโครงการ
โดยเน้นการใช้ทุนเดิมที่มีในพื้นที่มาต่อยอด ได้แก่ ทุนมนุษย์(ความรู้/ทักษะ/ปัญญา) ทุนทางสังคม(เครือญาติช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ กลุ่ม ชมรม) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ(ดิน น้ำ อากาศ พืช สมุนไพร) ทุนทางกายภาพในชุมชน(สถานที่สาธารณะ สถานที่สำคัญ) ทุนการเงิน(เงินออม กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสวัสดิการ รายรับรายได้สิทธิประโยชน์)
สิ่งสำคัญ คือ องค์ประกอบของคณะทำงานควรมีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียและเป็นภาคีสำคัญในพื้นที่ โดยเฉพาะอปท./กองทุนสุขภาพตำบล รพ.สต. ซึ่งแผนงานร่วมทุนต้องการประสานการทำงานอย่างใกล้ชิด
ในส่วนปัญหาการเปิดบัญชี มีข้อเสนอแนะให้ทางอบจ.ออกหนังสืออย่างเป็นทางการถึงสำนักงานเขตของธนาคาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อโครงการย่อย
ทั้งนี้ควรมีวงกลางสำหรับภาคียุทธศาสตร์ทั้ง 2 ประเด็นเพื่อการประสานความร่วมมือและประสานส่งต่อการทำงานให้กับพื้นที่โครงการย่อย มีการจัดการความรู้เพื่อสร้างตัวแบบ มีบัญชีทีมวิทยากรที่มีความสามารถสนับสนุนโครงการย่อย
2.กลางน้ำ การติดตามหนุนเสริม โดยพี่เลี้ยงและกองเลขา(ไปช่วยดูการเงิน ความถูกต้องของเอกสาร)เป็นไปในลักษณะการเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ "ติดตามแบบไม่่ให้เกร็ง เรียนรู้ไปด้วยกัน"
ปัญหาที่พบก็คือ บางโครงการไม่กล้าเริ่มต้นทำกิจกรรม รอให้พี่เลี้ยงหรือผู้รับผิดชอบบอกให้ทำ หรือมีข้อกังวลว่าจะทำผิด ทีมการเงิน ข้อมูล บางโครงการไม่ทำตามระบบเอกสารที่ทีมกลางกำหนด แต่ใช้ประสบการณ์เดิมทำงาน เป็นต้น
มีข้อเสนอให้จัดทำแบบฟอร์มติดตามผลและเสริมหนุนการทำงาน มีแบบฟอร์มกลางที่มีชื่อโครงการ ผลลัพธ์ กิจกรรม ตัวชี้วัด เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของโครงการ และเช็คลิสรายการกิจกรรม และเอกสารสำคัญประกอบการทำกิจกรรมว่าครบถ้วน สมบูรณ์หรือต้องแก้ไขอะไรอย่างไร
การรายงานงวด 1 ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ เนื่องจากโครงการจำนวนหนึ่งเพิ่งเริ่มทำกิจกรรม มีบางโครงการเพิ่งทำสัญญา ประกอบกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ มีข้อเสนอแนะช่วยเสริมหนุน
1)พื้นที่ดำเนินการด้วยตนเองและส่งมายังอบจ. ตามกำหนด 2)ให้นัดหมายแกนนำทั้ง 3 ส่วนที่เกี่ยวข้อง ตือ ผู้รับผิดชอบ เลขา การเงิน มาจัดทำรายงานงวดผ่านระบบติดตามไปพร้อมกัน โดยนัดหมายให้มาพร้อมพี่เลี้ยงระดับโซนๆละครึ่งวัน ในวันที่ 26-27 ธันวาคม 2567
บทสรุปสำคัญ การดำเนินงานโครงการสุดท้ายเป็นไปเพื่อ "เรียนรู้ ต่อยอดฐานทุนเดิม เพิ่มทุนทางสังคม ลดปัจจัยเสี่ยง ทำให้พื้นที่หรือชุมชนมีความเข้มแข็ง"
ภาคบ่าย อบรมการใช้แบบคัดกรองรายบุคคล iMed@home แบบบริหารติดตามโครงการ www.happynetwork.org และเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อยที่เพิ่งทำสัญญาล็อตสุดท้าย พร้อมจัดระบบสนับสนุน การจัดตั้ง Admin การนัดหมายการทำงานต่อไป
Relate topics
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"
- “สช. สานพลังกลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน”
- ”นครศรีธรรมราชโมเดล ปกป้องเด็กและเยาวชน“
- ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
- เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้
- คนรุ่นใหม่ร่วมสร้างนิเวศน์ชุมชนในการลดปัจจัยเสี่ยงชุมชนบ้านบือแรง ต.ลาโละ อ.รือเสาะ นราธิวาส
- ประชุมทีม กขป.เขต ๑๒ ชุดเล็ก
- "ประชุมทีมเลขาร่วมกขป.เขต 12"
- นครศรีธรรมราชพร้อม พร้อมขยายความสุข ให้ทั่วจังหวัด