เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”

  • photo  , 1280x853 pixel , 135,037 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 105,150 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 110,766 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 115,033 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 194,768 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 97,492 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 83,943 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 65,652 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 91,598 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 119,996 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 125,994 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 138,705 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 175,278 bytes.
  • photo  , 1108x958 pixel , 128,834 bytes.
  • photo  , 1080x1080 pixel , 114,653 bytes.
  • photo  , 1280x1280 pixel , 163,783 bytes.

เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”

เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ร่วมกับกลุ่มไม้ขีดไฟ และมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า (พื้นที่ภาคใต้) ภายใต้โครงการ “ปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ณ โรงแรมเซาท์เทอร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยมีเยาวชนในพื้นที่ปฏิบัติการจาก 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช กระบี่ และนราธิวาส พร้อมเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 60 คน เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า และออกแบบมาตรการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

ซึ่งจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ปฏิบัติการทั้ง 3 พื้นที่พบว่า 93.12% ของเยาวชนรู้จักบุหรี่ไฟฟ้า และ 44.93% เคยทดลองใช้ โดยมีแหล่งซื้อทั้งจากชุมชนและช่องทางออนไลน์ ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึง ส่งผลให้ปัญหานี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความขาดแคลนการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด และการขาดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน ยิ่งเพิ่มความรุนแรงของสถานการณ์

โดยในการประชุมครั้งนี้ ขสย. ได้นำเสนอข้อเสนอสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1) จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ไฟฟ้า

2) บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควบคุมการนำเข้า การครอบครอง และการขายบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นยาเสพติดให้โทษ

3) สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา ไปจนถึงหน่วยงานรัฐ เพื่อผลักดันการปกป้องเด็กและเยาวชนอย่างรอบด้าน


เครือข่ายฯ ขสย. ย้ำว่าการป้องกันเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย โดยข้อเสนอที่ได้จากเวทีครั้งนี้จะถูกขยายผลสู่การดำเนินงานในระดับประเทศ เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในระยะยาว

ขอบคุณข้อมูลจาก อับดุลปาตะ ยูโซะ กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 12

Relate topics