ที่อยู่อาศัย" มีหลายบทบาทในมิติการพัฒนา จากกรณีศึกษาบริบทของชุมชนมิตรเมืองลุง ชุมชนภารดร ชุมชนบ่อนวัวเก่า และชุมชนหัวป้อม สงขลา
วันอาทิตย์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
นายธาราศานต์ ทองฟัก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมราง นางณัฐนิชา อรรคฮาดจันทร์ หัวหน้าโครงการฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.มณฑล จันทร์แจ่มใส อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร นายอดิเรก แสงใสแก้ว อุปนายกและเลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
นายวิรัช เตรียมพงศ์พันธ์ ที่ปรึกษาโครงการบ้านมั่นคง ผศ.ดร.ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม นายจามิกร มะลิซ้อน อาจารย์ประจำ หลักสูตรการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา
เพื่อร่วมลงพื้นที่ศึกษาบริบทของชุมชนมิตรเมืองลุง ชุมชนภารดร ชุมชนบ่อนวัวเก่า และชุมชนหัวป้อม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนที่เช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก่อสร้างโครงการบ้านมั่นคง ภายใต้ โครงการแก้ไขปัญหาชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง ของเมืองสงขลา
ทางคณะอาจารย์ได้ให้แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้สอดคล้องกับการอยู่ร่วมกันระหว่างไม่ว่าจะชุมชน เมือง และหารือแผนที่จะยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนในอนาคต รวมถึงการศึกษาพื้นที่รูปแบบการอยู่อาศัยของชุมชนเพื่อรองรับกับการพัฒนาในอนาคต และมีการศึกษารายละเอียดผัง รูปแบบบ้านและการพัฒนาภายใต้โครงการบ้านมั่นคงเดิม รวมถึงการออกแผนในการจัดระบบผังบ้านของชุมชนให้มีมั่นคง ยั่งยืน ของชุมชนในอนาคตต่อไป
สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมราง : รายงาน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน - CODI
"ที่อยู่อาศัย" มีหลายบทบาทในมิติการพัฒนา เช่น บทบาททางสังคม บทบาททางการเงินและบทบาททางเศรษฐกิจ
'Housing' is an economic or productive asset when it is used to generate income either through renting out a portion of the house or property or through using the house to sell services and goods or for manufacturing.
หากมองปัญหาที่อยู่อาศัยในเชิงโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการออกแบบชุมชนที่อยู่อาศัยและการออกแบบ ‘บ้าน‘ ด้วยรูปแบบการอยู่อาศัยที่ตอบสนองความต้องการและเหมาะสมกับความสามารถการจ่ายของแต่ละครัวเรือน เราอาจใช้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการฟื้นฟูชุมชนเมือง ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย และฟื้นฟูชุมชนใหม่ ยกระดับฐานเศรษฐกิจของชุมชน ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจเมือง
เมืองและชุมชนเมืองทั้งหมดก็จะได้ประโยชน์จากการพัฒนาในส่วนย่อยของเมืองร่วมกัน โดยเฉพาะเมืองสงขลาที่ที่ดินส่วนใหญ่ในย่านสำคัญเป็นที่ดินรัฐ ของกรมธนารักษ์ กองทัพเรือ และหน่วยงานรถไฟ ที่มีชุมชนผู้มีรายได้น้อยอาศัยในที่ดินรัฐ ในหลายพื้นที่ของเมือง ชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยในที่ดินรัฐมีสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่แออัด และยากจน ไม่สามารถใช้โครงสร้างที่มีอยู่ของชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากสภาพทางกายภาพและที่อยู่อาศัยที่แออัด เปลี่ยนเป็นโครงสร้างใหม่ที่เหมาะกับการอยู่อาศัยและเป็นพื้นที่กิจกรรมใหม่ทางเศรษฐกิจของชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้คนในชุมชนให้พ้นจากความยากจน
สภาพทางกายภาพที่ยังขาดการปรับปรุงและฟื้นฟู เป็นจุดอ่อนของชุมชนและเมืองสงขลาที่ไม่สามารถใช้ทุนทางกายภาพ เนื้อเมืองที่ถูกละทิ้งขาดการพัฒนา และทุนมนุษย์ ’ผู้คน‘ ในพื้นที่เหล่านี้ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเมือง
น่าสนใจว่าการฟื้นฟูชุมชนผู้มีรายได้น้อยในย่านเมืองเก่าสงขลาในที่ดินรถไฟ ที่คณะอนุกรรมการบ้านมั่นคงได้มีโอกาสลงพื้นที่ร่วมติดตามการทำงานและรับฟังประเด็นปัญหาต่างๆ จากตัวแทนชุมชน 4 ชุมชน 589 ครัวเรือน ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บางชุมชนมาตั้งถิ่นฐานกว่า 60 ปี ตั้งแต่ปี 2502 มีสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่แออัด แต่ยังใช้ประโยชน์ที่ดินไม่หนาแน่น มีโอกาสจัดระบบการอยู่อาศัยใหม่ จัดระบบความสัมพันธ์ใหม่ เพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม (social infrastructure) เพิ่มพื้นที่และกิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชน ที่มีการวางแผนสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ สนับสนุนยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตเป็นฐานเศรษฐกิจของเมืองสงขลา เปลี่ยนสถานะและความสัมพันธ์ของชุมชนแออัดที่บุกรุกในที่ดินรถไฟ ให้ได้รับสัญญาเช่าได้อยู่อาศัยอย่างมั่นคงในระยะยาว (ถึงแม้ว่าปัจจุบันรฟท.จะกำหนดระยะเวลาสัญญาเช่าครั้งละ 3 ปี) เปลี่ยนสถานะของชุมชนผู้มีรายได้น้อย จาก ‘ผู้ไร้เสียงในสังคมเมืองสงขลา’ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองสงขลา และเติบโตไปร่วมกัน ได้รับความยอมรับและมีศักดิ์ศรีในการอยู่ร่วมกับคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมเมือง
ในการหารือระหว่างตัวแทน 4 ชุมชนร่วมกับนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสงขลา ที่สำนักงานเทศบาล มีแนวทางร่วมกันในการพัฒนา ระหว่าง 4 ชุมชน เทศบาล และพอช. และเพื่อให้ชุมชนสามารถมีสถานที่ประสานงานและเป็นพื้นที่ทำงาน เทศบาลเมืองสงขลาจะสนับสนุนพื้นที่ทำงานและประสานงานของชุมชนในพื้นที่ของเทศบาล และให้การสนับสนุนจนกว่ากระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนจะสามารถส่งมอบบ้าน สภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตใหม่ให้กับสมาชิกชุมชนทั้งสี่
หากกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยทั้งเมืองจะขยายไปในพื้นที่อื่นๆ ของเมืองสงขลา เพื่อให้ชุมชนผู้มีรายได้น้อยริมทางรถไฟ ชุมชนริมคลองสำโรง และชุมชนในที่ดินของกรมธนารักษ์ ได้ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสร้างสภาพแวดล้อมกายภาพใหม่ ที่จะเป็นฐานเศรษฐกิจชุมชน เติบโตเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจเมืองสงขลาที่มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ตอนล่าง
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก Virat Treampongphan
Relate topics
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"
- “สช. สานพลังกลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน”
- ”นครศรีธรรมราชโมเดล ปกป้องเด็กและเยาวชน“
- ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
- เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้
- คนรุ่นใหม่ร่วมสร้างนิเวศน์ชุมชนในการลดปัจจัยเสี่ยงชุมชนบ้านบือแรง ต.ลาโละ อ.รือเสาะ นราธิวาส
- ประชุมทีม กขป.เขต ๑๒ ชุดเล็ก
- "ประชุมทีมเลขาร่วมกขป.เขต 12"
- นครศรีธรรมราชพร้อม พร้อมขยายความสุข ให้ทั่วจังหวัด