"กขป.เขต 12 บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง"

  • photo  , 1000x563 pixel , 397,051 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 414,564 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 509,464 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 365,981 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 323,503 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 489,140 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 532,750 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 301,066 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 520,800 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 365,358 bytes.
  • photo  , 1000x528 pixel , 82,515 bytes.

"กขป.เขต 12 บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง"

วันที่ 17 เมษายน 2568 ช่วงเช้าคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 นัดประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อจัดเวทีสาธารณะและสื่อสารทางสังคมในการประชุมกขป.ครั้งที่ 2 ช่วงปลายเดือนเมษายน ผ่านระบบประชุมทางไกล ชี้จุดเน้นเขต 12 ต้องการสร้างความรอบรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าควบคู่กับการกระตุ้นการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับมหาดไทย สาธารณสุข พาณิชย์และการศึกษา มีผู้เข้าร่วม 25 คน ประกอบด้วย กขป.(รองประธาน/กรรมการ/เลขา/ทีมวิชาการ) ศูนย์วิจัยม.อ. ศูนย์อนามัยที่ 12 ขสย. เครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า สสม.

เริ่มด้วยการพิจารณาและเติมเต็มร่าง system map ประเด็น วิเคราะห์ปัจจัยกำหนดสุขภาวะที่เกี่ยวข้องกับประเด็น โดยเฉพาะจุดคานงัดสำคัญที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย 1)การสื่อสารเชิงลึก สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ถึงโทษ/ผลกระทบต่อสุขภาพ 2)การเฝ้าระวังในชุมชน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกัน 3)การบังคับใช้กฏหมายอย่่างจริงจังที่เกี่ยวข้องกับ 5 พรบ.

มีพื้นที่ตัวอย่างมาร่วมนำเสนอ ประกอบด้วย

1.การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยเครือข่ายจ.ปัตตานี ที่มีการทำงานร่วมกับคณะกรรมการควบคุมยาสูบจังหวัด สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค/สมัชชาสุขภาพจังหวัด สคร.12 ศึกษาธิการ พาณิชย์ ตำรวจ สรรพสามิตร สสจ. กรรมการอิสลาม ปกครอง และสภาเด็กและเยาวชน โดยการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง วาง 5 มาตรการรับมือ พร้อม MOU หน่วยงานความร่วมมือ บูรณาการกลไกระดับอำเภอ หมู่บ้าน/ชุมชน จัดทำธรรมนูญ 9 ดี มีการเฝ้าระวัง ควบคู่กับมาตรการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ เขตปลอดบุหรี่ บูรณาการการเรียนการสอน การสร้างแกนนำเด็ก ครู จัดทำสื่อรณรงค์

2.การสื่อสารเชิงลึกเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ ทำงานร่วมกับสสจ.ในพื้นที่จ.ปัตตานี สงขลา ร่วมกับเยาวชนในสถานศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก มีโรงเรียนต้นแบบ 4 แห่ง

โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบาย : ลดจำนวนนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ของครัวเรือนคนใต้

ข้อเสนอ : เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า

1.ร่วมกับคณะแพทย์ม.อ. กับสมัชชาสุขภาพจังหวัด/สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค/สภาอุตสาหกรรมจังหวัด/เครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่/ สคล.ใต้ล่าง/ขสย. ให้ความรู้แก่เครือข่ายการทำงานเพื่อให้รู้เท่าทันในทุกมิติ (กฎหมาย/รูปแบบ/ปัญหา/อันตราย)

2.ร่วมกับศึกษาธิการภาค 5 สสจ. สร้างองค์ความรู้ในการศึกษาระดับประถมศึกษา(เป็นโรงเรียนนำร่อง) สอดแทรกเนื้อหาการรู้เท่าทันเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าให้แก่เด็กและเยาวชนและครอบครัว

เติมเต็มกลไกการดำเนินงาน

1.กระตุ้นการทำงานของคณะกรรมการยาสูบจังหวัด (ที่มีจ.ปัตตานี/นราธิวาสเป็นต้นแบบ)ร่วมกับสสจ./พาณิชย์จว./ศึกษาธิการจังหวัด/ปกครองจว./ตำรวจ/สรรพสามิตร/อบจ./รพธ.จังหวัด/คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด/สมัชชาสุขภาพจังหวัด/สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค/สภาอุตสาหกรรมจังหวัด/สภาเด็กและเยาวชน/เครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่/ สคล.ใต้ล่าง/ขสย.ในการขับเคลื่อน ร่วมกับสสส. สปสช.

2.สำรวจข้อมูลกลุ่มเสี่ยง จัดให้มี one plan ร่วมระดับจังหวัด>คัดกรองกลุ่มเสี่ยง/ป่วย>บำบัด รักษา ฟื้นฟู>ป้องกันนักสูบหน้าใหม่>ปรับพฤติกรรมเสี่ยง ปรับสภาพแวดล้อมครอบครัวและชุมชนในพื้นที่/กลไกเฝ้าระวัง/เครือข่าย แกนนำ/ธรรมนูญ 9 ดี>จัดการความรู้/องค์ความรู้ในสถานศึกษา สื่อสารสังคมบังคับ>ใช้กฏหมายอย่างจริงจัง

ต่อยอดและขยายผลพื้นที่ปฏิบัติการ

1.ม.อ.สงขลาจัดทำสื่อรณรงค์ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภาคใต้ จัดทำแผนปฏิบัติการสร้างความร่วมมือ ผลิตบุคลากร/นักรณรงค์/นักกระบวนการ สร้างพื้นที่ทำงานร่วมกันในการรณรงค์ การสื่อสารเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง

2.ร่วมกับอบจ./สสส./สปสช./คณะกรรมการยาสูบจังหวัด ขยายผลพื้นที่ต้นแบบระดับชุมชน/ตำบล-ผ่านกองทุนสุขภาพตำบลฯ เน้นครอบครัวในพื้นที่ 7 จังหวัด  และร่วมกันระดับจังหวัด ได้แก่ ปัตตานี สงขลา พัทลุง

3.ประเมินหลักสูตรและกระบวนการต้นแบบระดับอำเภอที่พัฒนาหลักสูตรสำหรับครูตาดีกา ที่อำเภอตากใบ เพื่อนำไปขยายผล โดยหน่วยงาน/กลไก/องค์กรที่รับผิดชอบ : กขป. ศอบต. ม.อ. และเครือข่าย

นโยบายการป้องกันและปราบปราม

1.บังคับใช้กฏหมาย และออกระเบียบ/แนวปฏิบัติ/คู่มือที่เกี่ยวข้องกับ 5 พรบ. โดยกระทรวงมหาดไทย/สาธารณสุข/ศึกษา/พาณิชย์ ในการห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะจากชายแดน รวมถึงการส่งเสริมป้องกัน

Relate topics