"กขป.เขต 12 เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"

  • photo  , 1000x563 pixel , 335,643 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 456,977 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 370,642 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 364,082 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 367,566 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 332,991 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 361,293 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 420,127 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 257,883 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 466,092 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 363,169 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 372,392 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 355,862 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 344,160 bytes.
  • photo  , 1911x856 pixel , 102,822 bytes.

"กขป.เขต 12 เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"

วันที่ 17 เมษษยน 2568 ช่วงบ่ายคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 นัดประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อจัดเวทีสาธารณะและสื่อสารทางสังคมในการประชุมกขป.ครั้งที่ 2 ช่วงปลายเดือนเมษายน ผ่านระบบประชุมทางไกล ชี้จุดเน้นเขต 12 ต้องการสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการอาหารและการผลิตให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภค มีผู้เข้าร่วม 22 คน ประกอบด้วย กขป.(รองประธาน/กรรมการ/เลขา/ทีมวิชาการ) Node flafship สสส.ยะลา สภาเกษตรกรจังหวัดตรัง ยะลา สนง.พัฒนาที่ดินเขต 12 กษ.สงขลา/พัทลุง สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา

เริ่มด้วยการพิจารณาและเติมเต็มร่าง system map ประเด็น วิเคราะห์ปัจจัยกำหนดสุขภาวะที่เกี่ยวข้องกับประเด็น โดยเฉพาะจุดคานงัดสำคัญที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย

1)ความรู้สำหรับเกษตรกรในการผลิตบนฐานเกษตรนิเวศ

2)ความรอบรู้และการเข้าถึงโภชนาการสมวัย

3)ตลาดนำการผลิต มีการเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค

4)ระบบเฝ้าระวังการใช้สารเคมี

5)การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง 6)เทคโนโลยีและนวตกรรม

มีพื้นที่ตัวอย่างมาร่วมนำเสนอ ประกอบด้วย

1.การส่งเสริมผักปลอดภัย จ.ยะลา ดำเนินการแก้ไขปัญหาผักจากต่างถิ่นและผลิตได้น้อย โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์จังหวัด เพิ่มพื้นที่การผลิต เพิ่มมาตรฐาน GAP เพิ่มมูลค่าการซื่อขายและการบริโภค ร่วมกับสภาเกษตรกรที่ชี้เป้าพื้นที่ สวพ.มาร่วมตรวจ GAP ร่วมกับสสจ. และสสส. ดำเนินการส่งเสริมไป 47 โครงการ มีตัวแบบ 2 แห่งคือ นูริสฟาร์ม และเกษตรชุมชน ยือโร๊ะ หน้าถ้ำ โดยเฉพาะนูริสฟาร์มได้พัฒนาผงผักแปรรูปเพื่อให้บริโภคได้ง่าย

2.เกษตรอัตลักษณ์วิถีชุมชนสีเขียว จ.สตูล ภายใต้แนวทางชุมชนสีเขียวที่มีการส่งเสริมเกษตร 5 ด้าน ได้แก่ เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอัตลักษณ์ ประมง เกษตรนิเวศ การท่องเที่ยว โดยเน้นการส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์ระดับชุมชน เช่น ทุเรียนพื้นบ้าน หัวมัน(พื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์)

และร่วมกันร่างข้อเสนอเชิงนโนบาย ประกอบด้วย

-เติมเต็มการผลิตอาหารปลอดภัย

1.ส่งเสริมการผลิตและเข้าถึงอาหารปลอดภัย ขับเคลื่อนโมเดลและขยายผล ร่วมกับNodeชุมชนน่าอยู่ในจังหวัดปัตตานีและยะลา Node flagship จังหวัดยะลา แผนบูรณาการอาหารปลอดภัย จ.พัทลุง และจ.สงขลา รวมถึงการขับเคลื่อนอุทยานกล้วยร่วมกับภาคเอกชน

2.ศูนย์อนามัยที่ 12 ขยายผลผงผักหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปทดแทน เสริมภาวะขาดภาวะโภชนาการของเด็กเล็กในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้

3.กองทุนสุขภาพตำบล อปท. สสจ. รพ.สต./งานปฐมภูมิ สมาคม SME เครือข่าย YSF  ร่วมส่งเสริมร่วมกันสร้างความรอบรู้การบริโภค “กินอาหารเป็นยา” ส่งเสริมโภชนาการสมวัย เชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้ครัวเรือนเป็นพื้นที่สร้างความมั่นคงทางอาหาร มีคลังอาหาร มีเมล็ดพันธุ์ในครัวเรือน มีพืชสมุนไพร และมีการสื่อสารรณรงค์ในเรื่องอาหารปลอดภัยในชุมชน ส่งเสริมอาหารปลอดภัยครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้านสู่ครัวโลก ขยายตลาดเขียว/ตลาดชุมชนเพื่อการเข้าถึงอาหารปลอดภัย

ต่อยอดการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม

1.ยกระดับเกษตรกรรุ่นใหม่ พัฒนาต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม มีกลไกสนับสนุนการทำผลิตและการตลาดที่ยั่งยืน เชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นตลาดเล็กที่มั่นคงสร้างโมเดลของตัวเอง โดยเครือข่ายเกษตรกร ร่วมกับกลไกภาคเอกชน  SME หอการค้า บริษัทประชารัฐ ฯลฯ

เรียนรู้การรับมือภาวะโลกเดือด

1.เครือข่าย 5 สถาบันการศึกษา สสก.5 ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ส่งเสริมการใช้เกษตรนิเวศ ส่งเสริมการจัดทำแผนรักษาพื้นที่ทำสวนสมรมในพื้นที่จ.ยะลา สงขลา สตูล จำนวน 80 ครัวเรือน ในการรับมือภาวะโลกเดือด ศึกษาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างนวัตกรรมในการเก็บรักษา/แปรรูปอาหารให้อยู่ได้นานในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อความอยู่รอดและการอนุรักษ์สวนสมรมให้เป็นมรดกเกษตรโลก

2.สสก. กส.ในพื้นที่เขต 12 ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์ในแต่ละจังหวัด นำเรื่องนี้ไปสู่นโยบาย softpower มีกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช ผลักดันพืชท้องถิ่น แปลงรวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่น ลดขั้นตอนการขอขึ้น GI

พัฒนากลไกเฝ้าระวังและสื่อสารทางสังคม

1.คณะกรรมการอาหารปลอดภัย/สสจ./เกษตรจังหวัดและเครือข่ายเกษตรกร ร่วมเฝ้าระวัง กวดขันและรายงานผลการใช้สารเคมี 3 ชนิดในพื้นที่ รวมถึงการดูแลสินค้าการเกษตรที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ขยายผลสวนยางยั่งยืน

1.กยท.ส่งเสริมการปลูก/การตลาด โดยการพัฒนากระบวนการ การจัดการผลผลิตในแปลงสวนยางยั่งยืน

Relate topics