เครือข่ายตลาดสุขภาพอีกหนึ่งกลไกการขับเคลื่อนงานประเด็นยุทธศาสตร์เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ

  • photo  , 960x960 pixel , 154,674 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 75,266 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 83,434 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 58,815 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 81,530 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 80,428 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 49,979 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 71,665 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 74,694 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 91,116 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 114,663 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 205,516 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 136,833 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 74,827 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 88,471 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 70,501 bytes.

วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒  ประชุมอนุกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ นัดเครือข่ายตลาดสุขภาพมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมหนุนการขับเคลื่อนของจังหวัดสตูล ณ หลาดพญาบังสา จังหวัดสตูล

๑.เรียนรู้การขับเคลื่อนที่่น่าสนใจของ บ.หุ่นไล่กากรุ๊ป วิสาหกิจเพื่อสังคม เกิดเมื่อ ๗ ปีที่ผ่านมาโดยทีมงานสนง.กองทุนฟื้นฟูฯ จากการลงพื้นที่เห็นผลผลิตที่ดี แต่พบปัญหาว่ามีเบื้องหลังเป็นเกษตรพันธะสัญญา ทำให้มีกลไกการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภคได้ซื้อผลผลิตในราคาที่สูงทั้งที่ผลิตในพื้นที่ หุ่นไล่กาเป็นสัญลักษณ์ในการปกป้องฐานทรัพยากร ทำหน้าที่เป็นคนกลางประสานจุดรับซื้อ นำสินค้าไปจำหน่าย โดยมีเครือข่าย เขา นา เล เป็นฐานการผลิตแต่ก็พบปัญหาค่าขนส่งสูง ต่อมาได้เชื่อมโยงกับสสส.ทำตลาดเขียว ให้ผู้ผลิตพบผู้บริโภค หุ่นไล่กาจับสินค้ามาทุกประเภท ค่อยๆเรียนรู้ปรับตัวไปเรื่อยๆ ภาคีต่างๆก็มาหนุนเสริม เช่น อบจ.ทำสติ๊กเกอร์เมนูสตูลสีเขียว สนง.กองทุนฯมีหน้าที่ไปสนับสนุนผู้ผลิต ไม่ได้ทำการตลาด ต่อมาก็ได้ประสานเครือข่ายอื่นๆอีก ได้แก่ พอช. ผู้บริโภค มาทำเกษตรอินทรีย์ จัดทำมาตรฐานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย ทำ MOU กับ 40 หน่วยงาน มีทีมลงตรวจแปลง เหล่านี้ทำให้เห็นปัญหากลไกการขับเคลื่อนจึงได้ตั้งบริษัทหุ่นไล่กากรุ๊ป วิสาหกิจเพื่อสังคมขึ้น ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนมาชวนร่วมงานอาหารทะเลที่กรุงเทพฯ จึงพบบทเรียนคนสนใจสุขภาพ การบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ใช้บัตรรูดเงิน ที่เกษตรกรจะต้องปรับตัวตาม ล่าสุดมีการเปิดกรีน outlet แต่ก็พบปัญหาของเหลือที่จะต้องแปรรูป อาหาร ทำปุ๋ยร่วมกับร้านบุหงารัมไป เคยไปออกร้านกับศูนย์การค้าที่หาดใหญ่ และกำลังเปิดตลาดแบบสบายๆสัปดาห์ละครั้งแต่พบปัญหาฝนตก ผลผลิตที่ไม่พอ

๒.หลาดพญาบังสา เห็นโอกาสที่สตูลมีธรรมชาติสวยงาม กำลังส่งเสริมข้าวอัลฮัมดูลิลล๊ะห์เป็นสินค้าเด่นของพื้นที่ เปิดตลาดจำหน่ายสินค้ามาเป็นปีที่ 9 ทำร่วมกันในนามกลุ่ม มีร้านค้า ๒๐-๓๐ ร้าน มีมุมสินค้าสุขภาพบางร้าน

มีทีมงานจังหวัดพัทลุง ตรัง สงขลา และสตูลมาร่วมแลกเปลี่ยน นำประสบการณ์การทำตลาดสุขภาพที่มีหลากหลายรูปแบบ ผมสรุปความสำคัญที่จะแนวดำเนินการต่อ ตามนี้ครับ

๑)ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ Mapping ภาคีเครือข่ายผู้ผลิต/ผลผลิตเด่น ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ หาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากเครือข่ายเดิม (เครือข่ายผู้ผลิตที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรกร แต่สามารถทำให้งานเกษตรเป็นของทุกคน ใครก็ได้ เช่น มาจากผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ข้าราชการเกษียณ) คัดกรองกลุ่มเกษตรกร ทำแผนธุรกิจ ร่วมกันส่งเสริมการตลาดมี ๔ รูปแบบ

๑.รูปแบบเยี่ยมถึงสวนชมถึงแปลง จัดทัวร์สุขภาพ เชื่อมโยงกลุ่มสุขภาพลงเยี่ยมถึงแปลง มีการตลาดแบบออนไลน์

๒.ตลาดชุมชน ตลาดสีเขียว เน้นการเคลื่อนกับอปท./รพ./เครือข่ายเกษตร/YSF/องค์กรชุมชน/ภาคเอกชน เสริมพืชอัตลักษณ์เข้ามาในตลาด(GI/อปท.จดคุ้มครองพันธุ์พืช) เติมความสุขเข้าไปในแนวคิดตลาด เชื่อมด้านสุขภาพกับการท่องเที่ยว ตรวจสอบผ่านห้อง lap มีการจัดการแบบมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของร่วม

๓.ผลิตเชิงพาณิชย์ ร่วมกับภาคเอกชน และร่วมกับเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานข้ามพื้นที่ ข้ามเครือข่าย นำผลผลิตไปจำหน่ายในลักษณะ Event

๔.ตลาดเคลื่อนที่ ขายตรง ปรุงเป็นเมนูสุขภาพ/ปิ่นโตสุขภาพ

๒) การพัฒนาศักยภาพ การทำแผนธุรกิจ การทำแผนการผลิต การแปรรูป การสร้างมาตรฐาน การทำคิวอาร์โค้ด การประขาสัมพันธ์ ควรมีหลักสูตรกลางจากการจัดการความรู้จากพื้นที่ต้นแบบ

๓) สื่อสารประชาสัมพันธ์ สื่อสารกับผู้บริโภคถึงอันตรายการใช้สารเคมี มีกลยุทธ์ สื่อสารประชาสัมพันธ์ ถ่ายภาพสวยๆ พัฒนาเป็นหลักสูตรกลาง

๔)กลไกขับเคลื่อน อยากให้มีกขป.จังหวัด(คณะทำงานระดับจังหวัด) นำร่องที่ จ.สตูล

Relate topics