เครือข่ายผู้ผลิตเกษตรปลอดสารเกษตรปลอดภัยพบโรงพยาบาล ก้าวข้ามขีดจำกัดเพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

  • photo  , 960x539 pixel , 61,036 bytes.
  • photo  , 960x539 pixel , 60,466 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 102,637 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 123,107 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 111,645 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 98,684 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 91,559 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 80,784 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 81,842 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 77,569 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 79,810 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,885 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,701 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 66,425 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,464 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 80,754 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 62,229 bytes.
  • photo  , 960x539 pixel , 70,348 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 185,037 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 182,042 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 197,476 bytes.

ผู้ผลิตพบโรงพยาบาล ก้าวข้ามขีดจำกัดเพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย  กรณี "ส่งผักกับโรงพยาบาลหาดใหญ่"

เครือข่ายผู้ผลิตร่วม ๓๐ กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และใกล้เคียง มาร่วมกำหนดแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมเกษตรสุขภาพ

โดยการประสานงานของรพ.หาดใหญ่และมูลนิธิชุมชนสงขลา(ร่วมกับ ๔PWสงขลาและงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒) สนองตอบนโยบายการเปิดพื้นที่อาหารสุขภาพ อาหารปลอดภัยให้กับประชาชน และรับซื้อผลผลิตเกษตรปลอดภัยจากเกษตรกร โดยมี สสจ. สสอ.หาดใหญ่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด รพ.หาดใหญ่ บ.ประชารัฐฯสงขลาเข้าร่วม

ผลผลิตมีหลากหลายทั้งข้าว ผัก ผลไม้ สมุนไพร มีทั้งรายย่อย รายใหญ่ คนกลาง บ้างมาเป็นบุคคล บ้างเป็นกลุ่ม บ้างเป็นวิสาหกิจ บ้างเป็นผู้ประกอบการ ที่น่าดีใจก็คือมีเกษตรกรรุ่นใหม่จำนวนมาก

ปัญหาพื้นฐานของการส่งผลผลิตก็คือ ผลผลิตไม่เพียงพอ/ไม่ต่อเนื่อง ไม่หลากหลาย ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ข้อจำกัดการจัดซื้อจัดจ้าง/ระเบียบของโรงพยาบาล(ปัจจุบันมีนโยบายไม่ให้จ่ายเงินสด) ราคาที่แตกต่างระหว่างผักทั่วไปกับผลผลิตปลอดภัย ขณะที่รพ.มีความต้องการจำนวนมาก วัตถุดิบบางอย่างที่มีมูลค่าสูงจำเป็นต้องเปิดประมูลจากเอกชน แต่ผลผลิตผัก ผลไม้ รพ.จะเปิดช่องทางสนับสนุนเกษตรกร

ได้แนวทางคร่าวๆดังนี้

๑)รพ.หาดใหญ่ จะมีความร่วมมือ ๒ ลักษณะได้แก่ ๑.เปิดตลาดกรีนทุกวันศุกร์(เช้าถึงเย็น) เบื้องต้นจะมีบูธจำหน่ายราว ๒๐ ร้านเครือข่ายที่มาวันนี้ได้จับจองมีส่วนร่วมกันเต็มโควต้าแล้ว ๒.ส่งผลผลิตตามเมนูสุขภาพที่จะบอกกันล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๒ เดือนเพื่อให้แต่ละเครือข่ายสามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้า แต่ละเมนูจะบอกด้วยว่าต้องการผลผลิตปริมาณเท่าไร ราคากลางเท่าไร(หากเป็นผลผลิตเกษตรสุขภาพจะให้ราคาสูงขึ้นกว่าราคาปกติตามท้องตลาด แต่ไม่เกิน ๓๐%) โดยรพ.จะมีการจัดทีมลงตรวจถึงแปลง และสุ่มตรวจเข้าห้อง lap

๒) ให้มีตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรทำหน้าที่เป็นคนกลางทำสัญญากับรพ.โดยรพ.จะไม่ทำสัญญาตรงกับรายย่อย มีข้อเสนอให้บ.ประชารัฐฯทำหน้าที่นี้

๓) ร่วมดำเนินการในนามเครือข่ายเกษตรสุขภาพสงขลา แต่ละเครือข่ายมีรวมตัวกับสมาชิก จัดระบบกลุ่มในพื้นที่ มีจุดรับส่งผลผลิตรวมของกลุ่ม มีหัวหน้ากลุ่มที่จะมาร่วมกับกลุ่มอื่นๆทำงานร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา บ.ประชารัฐฯ รพ.หาดใหญ่ สสอ. เกษตรอำเภอ ธกส. จัดทำมาตรฐานรับรองการผลิตแบบมีส่วนร่วมจังหวัดสงขลา(PGS) มีการวางแผนการผลิตร่วมกัน พัฒนาระบบข้อมูลการผลิต การกระจายผลผลิตและจัดส่งผลผลิต รายรับรายจ่าย การทำ Green credit แต่ละกลุ่มย่อยมีระบบ Qr code ของตนตรวจสอบผลผลิตแบบย้อนกลับ บันทึกการรับส่งและตรวจสอบผ่านดำเนินการผ่าน App: Hatyai go green ที่มูลนิธิชุมชนสงขลาและโปรแกรมเมอร์ ภาณุมาศ นนทพันธุ์ ออกแบบขึ้น (เริ่มเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ผลิตไปแล้วกว่า ๒๐๐ ราย) หรืออาจมีแบรนด์ร่วมระดับจังหวัดเป็นแบรนด์แม่ร่วมกัน โดยมีบรรจุภัณฑ์กลางที่จังหวัดจะสนับสนุนภายใต้มาตรฐานร่วมเดียวกัน

๔)พัฒนาระบบโดยนำร่องการทำงานกับรพ.หาดใหญ่ให้ครบวงจร พร้อมเปิดพื้นที่ให้เครือข่ายใหม่ๆเข้าร่วม เครือข่ายจะมีการพบปะทำแผนการผลิตร่วม สร้างมาตรฐานร่วม สร้างความสัมพันธ์และทำงานในลักษณะเครือข่ายแนวราบ พัฒนาช่องทางตลาดใหม่ๆ เช่น ส่งปิ่นโตสุขภาพให้กับผู้ป่วย การจัดอาหารว่างหรืออาหารสำหรับการประชุม การส่งต่อผลผลิตที่เหลือให้กับเครือข่ายร้านค้า โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ตลาดกรีนอื่นๆ เป็นต้น

๕)มีการสื่อสารกลาง ไลน์กลุ่ม “เกษตรสุขภาพสงขลา”

๖) นัดหมายครั้งต่อไป วันที่ ๒๖ กรกฏาคม เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้อง ๒๒๑๐ ชั้น ๒ ตึกอุบัติเหตุ รพ.หาดใหญ่ พบผู้บริหาร รพ.หาดใหญ่ ดูข้อมูลเมนูสุขภาพ กำหนดประเภทผัก ผลไม้ที่ต้องการในช่วง ๒-๓ เดือน เครือข่ายเกษตรกรทำแผนร่วมกับสมาชิกในกลุ่มของตนนำข้อมูลการผลิตมาดูร่วมกัน และร่วมกำหนดมาตรฐานการผลิตที่จะนำมาสู่การรับรองแบบมีส่วนร่วม

#เกษตรและอาหารสุขภาพสำหรับคนเมือง #เครือข่ายมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์และความไว้วางใจไม่ใช่เงิน

Relate topics