เรียนรู้ "ประชาสังคมกับบทบาทงานพัฒนา" ในงานมหกรรมชุมชนสุขภาวะปี ๒๕๖๒

  • photo  , 960x719 pixel , 125,164 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,512 bytes.
  • photo  , 1316x640 pixel , 114,618 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,020 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 89,551 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 104,668 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 93,218 bytes.

ในฐานะภาคประชาสังคมมีบทบาทในการพัฒนาอย่างไร

๑.เปิดพื้นที่ทางความคิด เป็นพื้นที่กลางที่จะเอื้อให้เกิดการ "เปลี่ยนผ่าน" ที่ผสมผสานโครงสร้าง "แนวดิ่ง" เชิงอำนาจ และรวมศูนย์จากส่วนกลาง กับ "แนวระนาบ" ที่ใช้พื้นที่เป็นฐาน ทั้งในรูปแบบต่อรอง ถกแถลง หรือจับมือผสมผสานข้อดีของแต่ละฝ่ายทำไปด้วยกัน พัฒนาไปสู่ "สิ่งใหม่" ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของบริบทแห่งสังคมใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

๒.พัฒนากลไกกลาง ที่นำระดับปฎิบัติ "ตัวจริง" ของแต่ละภาคส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาทำงานร่วมกัน ในรูปของคณะทำงานมากกว่าเน้นภาวะผู้นำ มีลักษณะนำแบบรวมหมู่

๓.ข้อมูลกลาง พัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อเป็นจุดอ้างอิงในการจัดทำแผนฯและติดตามผลโดยฐานประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายและพิ้นที่ พัฒนาไปถึงระดับวัดผลรายบุคคล ระบบข้อมูลจะถักทอเชื่อมโยงคนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาทำงานร่วมกัน

๔.กติกากลาง จากข้อมูลกลางพัฒนาไปสู่ "ความรู้" ที่ผสานกับ "ความจริง"ของพื้นที่ ไม่ได้เป็นความรู้จากการวิจัยจากภายนอกเดี่ยวโดด แต่เกิดจากความรู้จากการปฎิบัติลองผิดลองถูก พัฒนาไปสู่กติกา ข้อตกลง หรือนโยบายสาธารณะที่เป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้เสียเปรียบ

๕.กองทุนกลาง แต่ละพื้นที่ควรจะต้องมีไว้เพื่อเสริมเติม อุดช่องว่างและเพื่อความเป็นอิสระ พึ่งตนเอง สามารถดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นไปในรูปแบบใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่เกิดประโยชน์สูงสุดและสมดุล

นำแนวคิดดังกล่าวไปเสนอไว้ในงานมหกรรมชุมชนสุขภาวะปี ๒๕๖๒ วันที่ ๑๗-๑๘ กันยายน ๒๕๖๒  รวม ๓ วันที่ผ่านมา พร้อมแอพฯ iMed@home

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics