สมัชชาพังงาแห่งความสุขครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๒

  • photo  , 960x720 pixel , 237,821 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 217,580 bytes.
  • photo  , 1000x462 pixel , 117,316 bytes.
  • photo  , 1000x462 pixel , 99,288 bytes.
  • photo  , 1386x640 pixel , 194,691 bytes.
  • photo  , 1386x640 pixel , 126,896 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 148,501 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 205,559 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 207,102 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 170,301 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 197,906 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 157,367 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 151,781 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 241,326 bytes.
  • photo  , 1000x462 pixel , 111,090 bytes.

สมัชชาพังงาแห่งความสุขครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๒

เขียนโดย ไมตรี จงไกรจักร์

สรุปการจัดงานสมัชชาพังงาแห่งความสุข ครั้งที่ ๗ ครั้งนี้ ในหัวข้อ“ก้าวข้ามขีดจำกัด จากผังยุทธศาสตร์การพัฒนา สู่พังงาแห่งความสุข”

เราจะเห็นว่า จากรายงานสถานการณ์สุขภาพจิตคนไทย ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ และการสำรวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือนตลอดปี พ.ศ.๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ และวิเคราะห์ข้อมูลการ สำรวจที่ได้ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิระดับจังหวัดอื่นๆ ที่มีอยู่ จังหวัดที่ครองแชมป์สุขมากที่สุด ต่อเนื่องติดต่อกันสองปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ คือ จังหวัดพังงา ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ จากการสำรวจของเอแบคโพลล์ ได้รายงานว่าจังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขอันดับที่ ๓ รองจากจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนปีพ.ศ.๒๕๕๕ และ ปีพ.ศ.๒๕๕๖ จังหวัดพังงาอยู่อันดับ ๓ รองจากจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ จังหวัดพังงากลับมาเป็นที่ ๒ รองจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน

มีเป้าหมายร่วมกันคือ การสร้าง “พังงาแห่งความสุข” ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการระดับชุมชน ตำบล เป็นยุทธวิธีที่สำคัญในการสร้างพลังประชาชน การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ด้วยการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ในทุกเรื่อง ทุกพื้นที่ทุกเครือข่ายประเด็น เพื่อให้เกิดรูปธรรมและขยายไปสู่พื้นที่อื่นไปพร้อมๆกันอย่างกว้างขวางและหลากหลายรูปแบบ

โดยมีผู้สนับสนุน

๑.)สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดพังงา

๒.)สถาบันพันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง ทั้งกระบวนการและงบประมาณตรงที่สภาองค์กรชุมชน

๓.)สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สนับสนุนงบประมาณ ผ่านหอการค้าจังหวัดพังงา เพื่อจัดทำผังการพัฒนาสู่พังงาแห่งความสุข

๔.)มูลนิธิชุมชนไท โดยการสนับสนุนงบประมาณ สสส.ในการขับเคลื่อนพังงาเมืองปลอดภัยจากภัยพิบัติ ร่วมกับเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนจังหวัดพังงา

๕.)หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำท้องที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนทรัพยากรในส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ

ทั้งหมดเป็นความร่วมมือ ได้ขับเคลื่อนมาให้เกิดผลรูปธรรมในพื้นที่แล้วหลากหลายรูปแบบที่น่าชื่นชม เช่นเกาะยาวน้อยแห่งความสุข บางนายสีแห่งความสุข ตำบลบางวันปลอดขยะ อำเภอคุระบุรีปลอดโฟม จังหวัดพังงาปลอดโฟม ถนนปลอดภัยสวยงาม เกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย สวัสดิการชุมชน ๕๐ ตำบล จัดการภัยพิบัติชุมชน ๑๔ ตำบล การท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน “พังงาแห่งความสุข” เกิดแผนงานการขับเคลื่อนร่วม เพื่อให้เกิดเป็นเป็นสัญญาประชาคมร่วมกัน ทางเครือข่าย ที่มาจากทุกภาคส่วน มารวมตัวกันในวันนี้ โดยอาศัยกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ จึงเกิดงาน สมัชชาพังงาแห่งความสุข ครั้งที่ ๗ ในหัวข้อ“ก้าวข้ามขีดจำกัด จากยุทธศาสตร์การพัฒนา สู่...พังงาแห่งความสุข”

สมัชชาพังงาแห่งความสุข ครั้งที่ ๗ ปีนี้ เริ่มตั้งแต่เช้าเป็นต้นมา มีการเสนอมติสมัชชาจังหวัด เรื่อง “การสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย สู่พังงาแห่งความสุข” การจัดรับฟังข้อเสนอ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา” การบันทึกความร่วมมือ เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัด ระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยมีผู้เข้า จากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ องค์กรชุมชน และภาคประชาสังคม ในจังหวัดพังงา รวมมากกว่า ๒,๐๐๐ คน และนำปิ่นโตสุขภาพ เพื่อลดขยะ ลดโลกร้อน อีกจำนวน ๑,๓๕๑ เถา ที่มาร่วมรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน ลดขยะ ลดโลกร้อน ไปพร้อมกัน

เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.  ทีมสมัชชาพังงาแห่งความสุข เปิดวง พูดคุยกับท่านรองนายกรัฐมนตรี โดยมีตัวแทน จากภาคส่วนต่างๆ ดังนี้

๑.หอการค้า นำเสนอ ๕ เรื่อง โดย คุณสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์

๑)โครงการสร้างสนามบิน จ.พังงา

๒)โครงการก่อสร้างทางรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว

๓)โครงการสร้างถนน 4 เลน

๔)สะพานเชื่อมเกาะคอเขา

๕)อ่างเก็บน้ำลำรู่ใหญ่

๒.สภาเกษตรกรจังหวัดพังงา นำเสนอ 3 เรื่อง โดย คุณธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์

๑)ที่ดินทำกินของเกษตรกร

๒)หนี้สินเกษตรกร

๓)การสร้างความยั่งยืนภาคเกษตร

๓.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา นำเสนอ ๒ เรื่อง โดย คุณองอาจ อติเศรษฐ์

๑)เรื่ิองผังเมืองที่เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนา

๒)เรื่องประกาศกระทรวงทรัพย์

๔.สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา นำเสนอ ๑ เรื่อง โดย คุณนันทิดา อติเศรษฐ์

๑)ขอความชัดเจนในการจัดการการท่องเที่ยวในฤดูกาลท่องเที่ยวหมู่เกาะสิมิลัน

๕.ภาคประชาชน นำเสนอ ๑ เรื่อง โดย คุณนายไมตรี จงไกรจักร์

๑).การสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ชุมชน

๖.สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ โดยคุณกิจก้อง เรื่องการสนัยสนุนข้อเสนอ สภาเกษตร สภาอุตสาหกรรม สมาคมการท่องเที่ยว

๗.เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน เสนอให้มีกรรมการการส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนพังงาขึ่น

๘.คุณจตุพร ข่างเหล็ก เสนอให้ทบทวนมาตรการในการจัดเก็บค่าเข้าอุทยาน ในพังงา ให้สามารถลดหย่อนภาษีได้

๙.คุณสิทธิโชค ทองชุมนุม ประธานจัดงาน เสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจ ในการส่งเสริมจังหวัดจัดการตนเอง หลังจากนั้นมีตัวแทนยื่นหนังสือ ๓ ฉบับ เพิ่มของ กำนันตำบลตากแดด ด้วย

Relate topics