ดีเดย์เปิดตลาดหาดใหญ่กรีนสมายเดือนธันวาคมปี 2562

  • photo  , 960x540 pixel , 31,522 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,274 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,448 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,770 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,248 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,861 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,055 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 98,536 bytes.
  • photo  , 695x960 pixel , 61,890 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 43,216 bytes.

"ดีเดย์เปิดตลาดหาดใหญ่กรีนสมาย ๑๓ ธันวาคมนี้"

วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒  นัดกรรมการเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา(Songkhla green smile) หาข้อสรุปเรื่องสำคัญๆ

๑)ใบรับรองมาตรฐาน SGS-PGS ใช้แบบตามแนวตั้งขนาด A๔ มีข้อความ Qr code และภาพถ่ายเกษตรกร มีผู้ลงนามรับรอง ๓ คน ประกอบด้วยเลขาธิการเครือข่ายฯ รพ.หาดใหญ่ และประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา การตรวจแปลงจะมีปีละ๓ ครั้ง คือมค. พค.และกย.

๒)นัดเปิดตลาดหาดใหญ่กรีนสมาย (Hadyai Greensmile Market) วันที่ ๑๓ ธันวาคมนี้ ตลาดแห่งนี้จะจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน PGS หรืออินทรีย์เท่านั้น(รับมาตรฐานPGSอื่นได้ด้วย) เบื้องต้นจะมี ๕ เต็นท์ขนาด ๓x๓ เมตร วางในพื้นที่ใกล้สวนหย่อม มีเครือข่ายหลัก ๕ กลุ่มรับผิดชอบ ประสานกับเครือข่ายอื่น ได้แก่ กลุ่มพะตง ควนลัง คูเต่า ทุ่งตำเสา สทิงพระ ภายในเตนท์/บูธ เกษตรกรจะต้องแสดงใบรับรอง มีระบบสอบย้อนผลผลิต Qr code ที่มาวางจำหน่าย แสดงราคาผลผลิต จะเป็นตลาดปลอดโฟมและพลาสติก(ยกเว้น reuse) โดยจะเปิดจำหน่ายทุกศุกร์เวลา ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ น.

งานนี้จะมีถุงผ้าจากสมาคมอาสาสร้างสุขที่จะสร้างงานให้คนพิการจำหน่ายสำหรับผู้ต้องการ

จะมีบูธกลางนำเสนอนิทรรศการความเป็นมา แนวคิดของตลาด และกิจกรรมกลางให้ความรู้ผู้บริโภค

๓)ธรรมนูญเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา(SGS-PGS)เกษตรกรที่เข้าร่วมจะต้องลงนามรับรองกติกาดังกล่าว ใช้สำหรับประกอบการดำเนินงานในส่วนมาตรฐาน PGS

๔) Application : Green smile รองรับการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้สนับสนุนให้ทำงานบน Platform เดียวกัน ซึ่งจะเป็นทิศทางของอนาคตรองรับการขยายเครือข่าย การวางแผนการผลิตที่จะทำในระยะต่อไป ระยะสั้นจะพัฒนาให้ทันใช้ในวันเปิดตลาด

ข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่าหลังรับผลผลิตในส่วนมาตรฐานGapมาตั้งแต่กันยายน ข้อกังวลว่าราคาผลผลิตจะสูงกว่าที่ซื้อจากตลาดสด ปรากฏว่าผ่านระบบเครือข่ายกลับได้ราคาที่ถูกกว่า แถมมีการรับรองอีกด้วย แต่จะต้องเรียนรู้และปรับตัวกันทั้งรพ.และเกษตรกรในเรื่องการเน่าเสียของผลผลิต ระยะเวลาการรวบรวมและขนส่ง ในส่วนระบบอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วยในรพ.ยังจะต้องพัฒนาต่อไป ด้วยเกี่ยวข้องหลายฝ่าย เมื่อมีโปรแกรมตามเมนูออกมา แม้แต่การตักใส่จานก็ต้องให้ได้ปริมาณวัตถุดิบครบถ้วน เกษตรกรเองก็ต้องช่วยคัดกรองขนาดของผลผลิตเพื้อให้ฝ่ายโภชนากรนำไปปรุงได้ปริมาณตามกำหนด ในอนาคตเครือข่ายสามารถพัฒนาการส่งปิ่นโตอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่ออกจากรพ.ไปแล้วอีกทางหนึ่งด้วย

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics