SGS-PGS Organic เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา

  • photo  , 1280x720 pixel , 200,024 bytes.
  • photo  , 695x960 pixel , 79,352 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,312 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 100,686 bytes.
  • photo  , 512x512 pixel , 29,323 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 201,755 bytes.

"SGS-PGS Organic เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

อาหารคือต้นธารแห่งสุขภาพ โรคไม่ติดต่อรุนแรงหลายโรคเกิดจากอาหารและพฤติกรรมเสี่ยง เป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพ

กขป.เขต ๑๒ ร่วมกับเครือข่ายสร้าง Platform กลางที่จะให้แต่ละส่วนมาทำงานร่วมกัน

๑.กลไกประสานงาน ภาคเกษตรกรเองจำเป็นจะต้องรวมตัวกัน ในนามเครือข่ายเกษตรสุขภาพระดับจังหวัด มาจากเกษตรกรทั้งใหม่และเก่า รวมถึง NGOs ที่ทำงานเชิงนโยบาย มีทั้งกลุ่มมาตรฐาน GAP อินทรีย์และอื่นๆ ไปแตะมือกับองค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องตรงและทางอ้อม และภาคเอกชน ลดช่องว่างที่ในพื้นที่มีหลายกลุ่ม หลายพวก หลายความคิด พัฒนาให้เกิดกลไกกลางระดับจังหวัดที่ชวนเครือข่ายอื่นๆเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ หรือแยกกันทำตามศักยภาพและความเชื่อ โดยไม่จำเป็นจะต้องคิดเหมือนกัน ให้มีฐานข้อมูลเกษตรกรรายบุคคลฐานเดียวกันทั้งจังหวัดเพื่อจำแนกประเภท พื้นที่ ผลผลิต มาตรฐาน นำมาสู่การจัดทำแผนงานให้กับสนับสนุน

๒.พัฒนามาตรฐานเครือข่ายรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS) ลดช่องว่างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กลางที่เน้นส่งออก ขณะเกษตรกรบ้านเราเป็นรายย่อย กรณีจังหวัดสงขลาจัดตั้งในชื่อ SGS-PGS Organic มีการลงตรวจแปลงปีละ ๓ ครั้ง การกลั่นกรอง ออกใบรับรองพร้อมเงื่อนไขกำกับ โดยมีธรรมนูญเครือข่ายเป็นกติกาใช้ร่วมกัน

แต่ละจังหวัดไม่จำเป็นจะต้องมีเครือข่ายเดียว จังหวัดใหญ่ควรมีอำเภอละ ๑ จุดด้วยซ้ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และสอดคล้องกับความหลากหลายของผลผลิต

๓.ส่งผลผลิตเข้าสู่ตลาด สงขลานำร่องที่ รพ.หาดใหญ่ ใน ๒ ช่องทางคือ ครัวของโรงพยาบาลโดยทางโรงพยาบาลจะมีราคากลาง และข้อมูลวัตถุดิบที่ต้องการรายสัปดาห์ผ่านเมนูสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมาให้วางแผนล่วงหน้า พร้อมให้ราคาสูงกว่ามาตรฐาน GAP ไม่เกิน ๓๐% และเปิดตลาดกรีนสมายรองรับเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานPGS มีผลผลิตไม่มาก มาขายทุกวันศุกร์ เริ่มเปิดตลาด ๑๓ ธันวาคมนี้ ก่อนที่จะประสานตลาดอื่นๆเข้ามาเสริมหนุนรับผลผลิตไปจำหน่ายร่วมกันต่อไป

ผลผลิตที่มาจำหน่ายจะมีระบบสอบย้อนผลผลิตถึงแปลงของเกษตรกร โรงพยาบาลจะสุ่มตรวจ ส่งเข้าห้องแลป ทางสาธารณสุขจังหวัดจะนำผลผลิตไปตรวจสารปนเปื้อนเช่นกัน

๔.พัฒนาผู้ประกอบการผ่านวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือธุรกิจเพื่อสังคม เป็นคนกลางรวบรวมผลผลิต วางแผนการผลิต มีจุดคัดแยก รับส่ง ทำสัญญากับรพ.และอื่นๆ โดยสมาชิกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของหุ้น

๕.พัฒนาแอพฯ Green smile มารองรับทุกกระบวนการที่ว่ามา ให้สามารถมีเครื่องมือในการทำงานเดียวกัน ช่วยกันทำตามหน้าที่ของตัวเอง การพัฒนา platform ของเราเองทำให้มีอิสระ สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มีความต่อเนื่อง สร้างความเป็นเจ้าของร่วม แต่ก็เปิดกว้างที่จะเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ในลักษณะเป็นของพื้นที่ ใช้พื้นที่เป็นฐาน

แนวคิดเช่นนี้จะไปโอบอุ้มถักทอกับโครงสร้างแนวดิ่งของระบบราชการไทยได้ไม่ยาก และไม่ขัดแย้ง

Relate topics