สสม.จัดเวทีสรุปบทเรียนโครงการลดการพึ่งพิงยาสูบ
เวทีสรุปบทเรียนโครงการลดการพึ่งพิงยาสูบ
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทยจากเวทีถอดบทเรียนความสำเร็จโครงการลดการพึ่งพิงยาสูบระหว่างวันที่ 7- 8 มกราคม 2562 ณโรงแรมอัลฟาฮัจย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โดยมีนายสุรินทร์ เหมนุกูล รองประธานมูลนิธิฯเป็นประธานเปิดงาน
นายไฟซอล สะเหร็ม ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวว่า "โครงการลดการพึ่งพิงยาสูบเป็นการควบคุมหรือจำกัดการปลูกยาสูบในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งมีการบริโภคยาสูบนับวันจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆสาเหตุที่ทำให้คนในพื้นที่นิยมบริโภคยาสูบเพราะว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา นั้นมีไร่ยาสูบกระจายอยู่หลายชุมชน และมีโรงงานที่สามารถผลิตยาสูบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง #ใบจาก ซึ่งเป็นยาสูบชนิดหนึ่งที่คนในพื้นที่นิยมเป็นพิเศษ ปัญหาการบริโภคยาสูบจึงมีโอกาสรุนแรงขึ้นในพื้นที่ที่มีการปลูกยาสูบและผลิตใบยาสูบเนื่องจากผู้บริโภคยาสูบเข้าถึงได้ง่ายและสามารถหาซื้อยาสูบมวนเองได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาท้องตลาด
โครงการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.สร้างความเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากการสูบใบยาสูบ
2.เพื่อพัฒนากระบวนการหรือรูปแบบในการลดการพึ่งพิงยาสูบเพื่อใช้ในการขยายผลในระยะต่อไป
มีชุมชนนำร่องเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูลดังนี้
จังหวัดสงขลา 5 ชุมชน ได้แก่
1.บ้านแคเหนือ ม.2 ต.แค อ.จะนะ จะสงขลา
2.บ้านเพนียด ม.4 ต.แค อ.จะนะ จ.สงขลา
3.บ้านเกาะทากเหนือ ม.2 ต.นาหว้า อ.จะนะ จ.สงขลา
4.บ้านตีนคลอง ม.6 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
5.บ้านบนควน ม.6 ต.ท่าชะมวงอ.รัตภูมิ จ.สงขลา
จังหวัดสตูล 5 ชุมชน
1.บ้านนาโต๊ะขุน ม.6 ต.แป -ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล
2.บ้านผังปาล์ม3 ม.2 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล
3.บ้านท่าแพเหนือ (บ้านมุด) ม.3 ถ.ท่าแพ -ซอย3 อ.ท่าแพ จ.สตูล
4.บ้านน้ำร้อน ม.4 ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล
5.บ้านควนบ่อทอง ม.1 ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง
จากการสำรวจผู้ปลูกใบยาสูบในปี 2561 ใน 10 ชุมชนจากทั้งหมด 2,851 ครัวเรือน พบว่า
มีครัวเรือนไม่ปลูกยาสูบ 2,793 ครัวเรือนหรือร้อยละ 98 % และมีครัวเรือนที่ปลูกยาสูบจำนวน 58 ครัวเรือนหรือ 2%
ปลูกยาสูบเพื่อสูบเอง 29.3 %
ปลูกเพื่อขาย 5.2%
ปลูกเพื่อสูบ - ขาย 65.5%
ผู้ปลูกส่วนใหญ่รู้เรื่องโทษของบางคนที่ปลูกเองปลอดภัยไร้สารเคมีสูตรได้ไม่อันตราย
ชนิดและพันธุ์ต้นยาสูบ จากทั้งหมด 58 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกพันธ์ุหางไชไก่ 74.1% และพันธ์ุชูช้าง 25.9%
ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะพันธ์หางไชไก่ เพราะสูบแล้วรู้สึกอร่อย มึน เมา มากกว่าพันหูช้าง และเป็นที่ชื่นชอบของนักสูบใบจาก
มีครัวเรือน 50 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการฯ จาก 58 ครัวเรือน และครัวเรือน 30 ครัวเรือนเลิกปลูกยาสูบหลักจากเข้าร่วมโครงการฯ จากทั้งหมด 50 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯ และลดการปลูกจำนวน 3 ครัวเรือน
ในภาพรวมโครงการฯสามารถลดพื้นที่การปลูกใบยาสูบลงได้ 7,287 ตร.ม. หรือ 4.55ไร่ เทียบเท่ากับลดการผลิตยาสูบ ได้ 127.4 กก. หรือสามารถลดบุหรี่ได้ 182,000 มวน
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)ขอขอบคุณชุมชนทั้ง 10 ชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมจนประสบความสำเร็จ และร่วมกันขับเคลื่อนเป็นชุมชนต้นแบบต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย สสม.
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”