ความร่วมมือระหว่าง พชอ.ควนขนุนและกขป.เขต ๑๒

  • photo  , 2048x1152 pixel , 181,877 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,609 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,483 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,477 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,290 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,340 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 152,838 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 188,094 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 172,719 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 127,737 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 183,133 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 196,990 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 164,704 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 119,988 bytes.
  • photo  , 1152x2048 pixel , 140,963 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 164,071 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 160,468 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 194,605 bytes.

วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๓  ร่วมแลกเปลี่ยนหารือการทำงานร่วมกันระหว่างกขป.เขต ๑๒ กับพชอ.ควนขนุน จ.พัทลุง ในการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมโดยการประสานงานของ สสอ.ควนขนุน

มีเครือข่ายทั้ง สสจ.  อปท.  รพ.สต. อสม.  สมาคมสวัสดิการฯ  ท้องที่  ร่วม ๔๐ คน มาร่วมกิจกรรม

พบเป้าหมายที่ตรงกัน แตกต่างที่จุดเน้นบางอย่าง และวิธีการทำงานซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ หลังจากต่างฝ่ายได้นำเสนอเป้าหมาย วิธีการ ต้นทุน และจุดเน้นของตนก็ได้ร่วมแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นโจทย์ที่จะหาข้อสรุปต่อไป

การพบกันรอบนี้มีเรื่องน่าสนใจหลายอย่างที่อยากจะนำเสนอไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกันต่อไป

๑.งานของ กขป.กับ พชอ.มีลักษณะใกล้เคียงกัน ต่างเชื่อมั่นแนวคิดการใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง การทำงานเน้นความร่วมมือซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการ ความเชื่อ ประสบการณ์ของแกนนำ รวมไปถึงศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งไม่อาจเร่งรัด สั่งการณ์ให้เกิดรูปธรรมที่พบได้ระยะสั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากการมีภาวะผู้นำที่ดี บนฐานความไว้วางใจที่มีมาก่อนหน้าของทีมงานกับเครือข่าย ค่อยๆสะสมความสำเร็จ มากกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

๒.งานกขป.เขต ๑๒ เสนอการสร้างสนามพลัง (platform) ผ่านกลไกกลาง(เก้าอี้ ๔ ขา) กติกากลาง ข้อมูลกลาง กองทุนกลางเพื่อการเปลี่ยนแปลง เริ่มจากวิธีการทำงานจากการสั่งการณ์หรือใช้ภาวะผู้นำมาสู่ระบบทีม เพื่อมิให้ผูกติดกับตัวบุคคลที่หากเปลี่ยนแปลง

ระบบทีมจะทำให้ทุกคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน  มีระบบข้อมูลรายบุคคลเป็นข้อมูลกลาง ปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน รายงานผลได้ นำไปจัดทำแผนร่วมกันได้ มีการสร้างกติกาที่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำไปปฎิบัติด้วยตัวเอง

ทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียมมากกว่าทำให้

๓.กับดักพื้นฐานในการทำงานร่วมกันที่มักพบก็คือ การทำงานแบบแยกส่วน ต่างคนต่างทำ ทำตามความคุ้นชิน ทำงานได้กับแกนนำบางคน หรือเชื่อว่าในพื้นที่หาคนมาร่วมกิจกรรมไม่ได้ ด้วยติดกับความเชื่อว่าในพื้นที่ไม่มีคนจิตอาสาบ้าง ไม่มีความร่วมมือกันบ้าง แต่มองข้ามความจริงที่ว่า เราเองก็ทำให้เกิดภาพลวงตาเหล่านั้นขึ้นจากวิธีการทำงานที่มุ่งผลที่ได้ตามนโยบายแบบเร่งด่วน อยากเห็นผลสำเร็จทันที ทำให้ละเลยการสร้างรากฐาน การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางกับกลุ่มเป้าหมาย ใครใกล้ใคร ทำงานกับใครได้ก็ชักชวนแต่คนนั้น ขณะที่มีคนอีกมากไม่สามารถเข้ามาร่วมได้ด้วยติด "คอขวด" การทำงานดังกล่าว หรือไม่มีวิธีในการสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ให้เข้ามาทำงานด้วยบนฐานประโยชน์ที่พึงได้ร่วมกัน มิใช่มาสนองประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

๔.การปรับเปลี่ยน Mindset การทำงานร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก่อนที่จะก้าวเดินต่อไป เราจึงจะหลุดพ้นภาวะได้แต่ output แต่ไม่ได้ outcome เหล่านี้ควรมีเวลาได้ใคร่ครวญ เรียนรู้ ถอดตัวเองอย่างเข้มข้น มีกระบวนการที่ดีมาดำเนินการ จะทำให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งที่มี


ขอบคุณ ทีมสสอ.ควนขนุน และพชอ.ควนขนุนที่เปิดพื้นที่การทำงานร่วมกัน

ชาคริต โภชะเรือง  เลขานุการ กขป.เขต ๑๒  รายงาน

Relate topics