ตำบลแคร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะด้วยสายสัมพันธ์แห่งพหุวัฒนธรรม

  • photo  , 960x720 pixel , 101,482 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 115,576 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 71,829 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 85,392 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,856 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,463 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 145,881 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,025 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,326 bytes.

"ตำบลแค"

ครูหมัด-อะหมัด หลีขาหรี เป็นลูกหม้อในพื้นที่ตำบลแค อำเภอจะนะ ครั้งหนึ่งเคยถูกประกาศว่าเป็นหมู่บ้านคนเสื้อแดง จนเป็นที่มาของปัญหาสถานการณ์การเมือง “แยกสีเสื้อ” ในชุมชน ครูหมัดเกิดและเติบโตที่นี่ เขาเลือกที่จะใช้วิทยาลัยทุ่งโพธิ์มาเป็นองค์กรพัฒนา ใช้การทำ "นูหรี" ที่เป็นกิจกรรมประเพณีที่เจ้าภาพเลี้ยงอาหารอย่างไม่เป็นทางการของมุสลิม ชักชวนสมาชิกในชุมชนมาหุงข้าวกินกันทุกวันอาทิตย์ พร้อมกับใช้ "บาลายเซาะ" เป็นจุดประสานงาน ถือเป็นงานบุญกลาง

ใช้วิถีชุมชน ฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่เริ่มแตกแยกขัดแย้ง หลอมรวมจิตใจผู้คน ทุกครั้งจะมีหนังสือเชิญถึงตัวให้มาเข้าร่วมกิจกรรม หนังสือเชิญอย่างเป็นทางการทำให้ทุกคนรู้สึกมีเกียรติ และใช้เสียงตามสาย เป็นสื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวน แจ้งรายการอาหารแต่ละมื้อผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้านปลุกเร้าสร้างความเป็นกันเอง โดยไม่จ้างทำ แต่ให้ทุกคนมาทำอาหารร่วมกัน

ประเด็นในการพูดคุยแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไป ตามสถานการณ์ ไม่ถามคำถามที่ทำให้ชาวบ้านตอบยากๆ เช่น แทนที่จะถามว่าปัญหาคืออะไร แต่จะถามว่าอะไรที่ทำให้บ้านเราน่าอยู่ อะไรที่ทำให้บ้านเราไม่น่าอยู่ นำข้อมูลมาจัดทำหลักสูตร นำทุนที่มีมาแก้ปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาการจัดการขยะ ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง เกิดการรวมกัน เมื่อมองข้ามปัญหาตัวบุคคลทำให้เห็นบรรยากาศคนเสื้อเหลืองเสื้อแดงมากินข้าวร่วมโต๊ะเดียวกัน

ต่อมาได้ยกระดับการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพที่นำความสำเร็จจากระดับหมู่บ้านมาขยายเป็นตำบล จัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ อาศัยคณะทำงานที่ทำงานต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นนายกอบต กำนันผู้ใหญ่บ้าน รพ.สต. โดยหยิบยกประเด็นการจัดการขยะขึ้นมาดำเนินการ วันประกาศใช้ธรรมนูญต่อหน้าเวทีประชาคมก็มีการมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบที่มีการจัดการขยะ และรักษาความสะอาดหน้าบ้านน่ามอง ในการทำงานพัฒนาตำบลแคเดินไปที่ละก้าวและเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ ในพื้นที่ได้มากขึ้น ตอนนี้มีเรื่องของการจัดการขยะแลกบุญในมัสยิด สิ่งที่เห็นชัดมากที่สุดคือ การคัดแยกขยะอันตราย และการจัดการขยะในงานประเพณี

แล้วก็มีโครงการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ครูหมัดใช้”ส้มจุก” เป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตและการฟื้นฟูสวนส้มจุกสร้างรายได้

ตำบลแคเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม มีการทำงานร่วมกันทั้งพุทธและอิสลาม ครูหมัดยกตัวอย่างโครงการที่ทำร่วมกับสมาคมมุสสลิมฯ(สสม.) สามารถทำให้ชุมชนไทยพุทธและมุสลิม ชวนคนเลิกบุหรี่ได้ในหนึ่งปี ครูหมัดเล่าว่าจุดที่เป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือ ความรู้เรื่องบุหรี่มือ ๓ (หมายถึงผลกระทบที่จะเกิดกับลูก หลาน หรือแม้กระทั่งกลิ่นที่ติดตามเสื้อผ้า ม่าน ฯลฯ) เห็นผลคือ มีการเลิกบุหรี่กันค่อนข้างมาก ใขณะที่มาตรการติดสติกเกอร์ในบ้านครอบครัวที่ไม่สูบบุหรี่ ยังส่งผลให้เกิดความเกรงใจ ทำให้ลดการสูบบุหรี่ในงานบุญที่บ้านได้อีกด้วย

ชาคริต โภชะเรือง เล่าเรื่อง

Relate topics