บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒
"บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒"
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นัดทีมชุดเล็กประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒ คุยเตรียมก่อนลงพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เพื่อชวนทำพื้นที่ตัวอย่าง ลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องบุหรี่อย่างครบวงจร จากชุุมชนถึงระบบบริการ เพื่อกระชับเชื่อมโยงงานปัจจัยเสี่ยงที่มีต้นแบบเป็นจุดๆ ให้ครบวงจร
มีแนวคิดสำคัญๆ ที่จะต้องยึดร่วมกันก็คือ
๑.เปลี่ยนการทำงานแบบ "ทำให้" มาเป็น "ทำร่วม" และให้กลุ่มเป้าหมาย "ทำเอง" คืนเรื่องบุหรี่ให้เป็นเรื่องสาธารณะ หากชุมชนใดมีความตระหนักถึงพิษภัยจึงจะเริ่มดำเนินการ
๒.พัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ อาทิ แอพพลิเคชั่น เก็บข้อมูลโดยกลุ่มเสี่ยงเองหรืออาสาสมัคร/คณะทำงาน ออกแบบสอบถามเฉพาะพิจารณาข้อมูลที่ต้องการรู้(ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม) เพื่อประกอบการจัดทำแผนระดับพื้นที่และแผนรายบุคคล
ข้อมูลที่ได้จะทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักก่อนที่จะจัดทำแผนร่วมกัน รวมถึงสร้างแบบคัดกรองตัวเองเพื่อให้รู้ว่าติดบุหรี่หรือยัง
และมีการวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายเพื่อแสดงผลให้เห็นว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ อย่างไร โดยมีระบบเยี่ยมบ้านที่จะรายงานผล รายงานประวัติการเยี่ยมบ้านหรือการปรับพฤติกรรมรายบุคคลเพื่อให้ทราบพัฒนาการ
ข้อมูลกลางจะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของหน่วยงานและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
๓.นัดพื้นที่อำเภอรามันเพื่อหารือความร่วมมือกันวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๓
ชาคริต โภชะเรือง รายงาน
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”