ธรรมนูญออนแอร์ครั้งที่ ๒๐ "บทบาทศาสนสถานในช่วงสถานการณ์โควิด"

  • photo  , 960x540 pixel , 76,817 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,865 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,360 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,165 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,429 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 80,167 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 45,592 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 82,041 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 88,355 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 76,125 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,481 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,432 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,441 bytes.

"บทบาทศาสนสถานในช่วงสถานการณ์โควิด"

โดยสรุปจากการจัด "ธรรมนูญ on air ครั้งที่ ๒๐" พบว่าบทบาทของศาสนสถาน ผูกโยงกับกติกาทางสังคมในขณะนี้ คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม เกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดการแพร่กระจายของโรค ผ่านโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของผู้นำศาสนา

ประเด็นสำคัญคือ การนำไปสู่การปฏิบัติต่อ แต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระบบคูปอง ในระบบคูปองเป็นการจัดระเบียบที่ทำให้เกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้เกิดความปลอดภัย หรือแนวปฏิบัติคือ การอาบน้ำมาจากที่บ้าน ศาสนกิจสามารถทำได้และมีความปลอดภัยได้ ไม่ทำให้เกิดการแพร่ของเชื้อ

อีกส่วนหนึ่งคือภารกิจในการเกื้อกูล เช่น ตู้เติมรัก ตู้ปันสุข กองทุนซะกาต การช่วยเหลือที่เกื้อกูลอยู่ในภาวะยากลำบาก ทำให้เห็นว่าศาสนสถานได้มีการปรับตัว และสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว

๑.วัดบางหยี พระครูประกิตศาสนการ เจ้าคณะอำเภอบางกล่ำและเจ้าอาวาสวัดบางหยี อำเภอบางกล่ำ ได้กล่าวถึงบทบาทของคณะสงฆ์และการปรับตัวว่ามีการช่วยเหลือผู้ยากลำบาก และกรณีภัยพิบัติ น้ำท่วม ไฟไหม้ มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ บทบาทในฐานะเจ้าคณะอำเภอ ได้ดำเนินมาตรการตามคำสั่งของสำนักพระพุทธฯ และคณะกรรมการจังหวัด นำมาปรับใช้กับพื้นที่ ให้มีข้อปฏิบัติกรณีงานศพ ได้แก่ การอาบน้ำศพมีการเว้นระยะห่าง การใช้หน้ากากผ้าปิดหน้า ใช้เจลล้างมือ ในขณะที่พระสวดศพมีการสวมหน้ากากผ้า โยมนั่งห่างกัน ๑ เมตร การเทศนาในช่วงศานสกิจลดเวลาลงเหลือไม่เกิน ๓๐ นาที และจัดงานได้ไม่เกิน ๑ ทุ่ม เท่ากับว่าจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ให้ย่อสั้นลง และกำหนดให้ประชาชนอยู่ในศาลาพิธีได้ไม่เกิน ๕๐ คน เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติในงานบวช จัดพิธีกรรมเท่าที่จำเป็น จำกัดจำนวนคนบนศาลาได้ไม่เกิน ๒๐ คน ส่วนกิจกรรมอาบน้ำผู้สูงอายุทำการยกเลิกการจัดกิจกรรม รวมทั้งงานแต่งงานไม่รับกิจนิมนต์ นอกจากนั้นแล้ววัดยังได้ดำเนินการบริจาคข้าวสารอาหารแห้งในการช่วยเหลือคนยากลำบากในพื้นที่

๒. มัสยิดนูรุดดีน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นอกจากเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีการละหมาดวันละ ๕ เวลา ในวันศุกร์จะมีการละหมาดรวมกัน ถือเป็นกิจพิเศษ มัสยิดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ จัดการศึกษาของสัปปุรุษหมายถึงมุสลิมและมุสลิมะห์ทุกคน เมื่อสถานการณ์โควิด ๑๙ เกิดขึ้นสำนักจุฬาราชมนตรีออกประกาศห้ามการละหมาดในมัสยิด และการงดละหมาดในวันศุกร์ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายมีมาตรการที่ผ่อนปรน ได้มีการมอบอำนาจให้ทางจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการจัดการตามความเหมาะสม ออกมาตรการของตัวเองได้ จังหวัดสงขลามีการอนุญาติให้แต่ละมัสยิดทำการละหมาดวันศุกร์ได้ เริ่มวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ยึดตามมาตรการที่ออกโดยจุฬาราชมนตรีและกรรมการมัสยิดประจำจังหวัดประกาศ รวมทั้งมีเครือข่ายมัสยิด และชมรมต่าง ๆ ช่วยประชาสัมพันธ์และสื่อสารให้เป็นที่รับรู้อย่างทั่วถึง โดยมี วิธีการสื่อสาร โดยปกติช่องทางการสื่อสารจะมีเสียงตามสายที่ประกาศในหมู่บ้าน และปัจจุบันใช้สื่อโซเซียลผ่านไลน์กลุ่ม โดยกรรมการมัสยิดสื่อสารต่อไปยังกลุ่มไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งการบอกกล่าวตัวต่อตัว เป็นการสื่อสารในระดับวงที่กว้างขึ้น

๓.มัสยิดบาเดาะมาตี ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ ร่วมกันทำความสะอาดมัสยิด โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ในส่วนของอำเภอตากใบมีการส่งหนังสือเพื่อขออนุญาตในการละหมาดวันศุกร์ โดยได้รับการอนุญาตจากจังหวัด ให้สามารถละหมาดได้ตามปกติ มีกลไกคณะกรรมการตรวจสอบระดับอำเภอในการละหมาดวันศุกร์ ประกอบด้วย อสม. ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐ เข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ ข้อกำหนดต่าง ๆ ยึดตามระเบียบการประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี บทบาทของผู้นำศาสนา อ้างอิงระเบียบของศาสนา โดยใช้โองการขององค์อัลเลาะห์ เป็นบรรทัดฐาน หลักสำคัญคือเรามีผู้นำในท้องที่ที่ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดที่บอกกล่าวสิ่งดีดีแก่เรา โดยเรามีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม บทบาทในการช่วยเหลือสังคม เนื่องจากผู้นำมีภรรยาเป็นอสม.ด้วย ทำให้ทราบข่าวความเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว มีการติดตามคนที่กลับจากต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย เพื่อนำมาสู่สถานที่กักกัน และช่วยเหลือกลุ่มคนที่ยากลำบาก โดยนำข้าวสารอาหารแห้งไปแจกจ่าย แจกหน้ากาก เจล ร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ซึ่งได้มีการรณรงค์ในเรื่องของการลดละเลิกการสูบบุหรี่ สร้างความเข้าใจตามหลักคำสอนของศาสนา สิ่งใดที่เป็นการทำลายตัวเองและคนอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ โดยมีป้ายประชาสัมพันธ์ติดไว้ที่มัสยิด

๔.มัสยิดกลางยะหา จ.ยะลา มีการเตรียมการค่อนข้างดีในการละหมาดวันศุกร์คือมีการเตรียมคนและเตรียมมัสยิด

๑) การเตรียมมัสยิด โดยทำสติกเกอร์และติดหมายเลขไว้ นำไปแจกตามบ้านเรือนก่อนวันศุกร์ โดยบ้านหลังหนึ่งให้มาร่วมละหมาดได้ ๑ คน เขียนชื่อทั้งสองด้าน และจัดลำดับหมายเลข โดยให้สมาชิกนำมาติดต่อเจ้าหน้าที่ในวันศุกร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการฉีกคูปอง ให้นั่งตามหมายเลขที่ระบุ และมีเจ้าหน้าที่ช่วยดูว่าหมายเลขนั้นอยู่ตรงไหน

๒) ปกติมัสยิดใหญ่ๆ จะสามารถละหมาดได้ ๕๐๐-๖๐๐ คน แต่เมื่อมีการจัดให้มีระยะห่าง สามารถละหมาดในมัสยิดได้เพียง ๒๔๐ คน ส่วนจำนวนที่เหลือให้ละหมาดบนถนนโดยการปิดถนนชั่วคราว

๓) ระบบเรียงลำดับตามหมายเลขดังกล่าวเป็นระบบที่ทำครั้งเดียวและให้ทุกคนจำไว้ ว่าตัวเองได้หมายเลขอะไรยืนตรงไหนเหมาะกับมัสยิดขนาดใหญ่ และกรณีนี้ผู้หญิงไม่มีสิทธิเข้ามัสยิดเลย จะมีการตั้งเต้นท์ไว้ให้บนถนน

๕.มัสยิดบ้านเหนือ ต.คูเต่า จ.สงขลา บทบาทของผู้นำและศาสนสถานต่อการช่วยเหลือสังคม

๑) มีการทำตู้เติมรัก ซึ่งทำมาก่อนสถานการณ์โควิด ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๒ เนื่องจากมีนักเรียนกำพร้าและยากจนในมัสยิดจำนวน ๑๗๓ คน มัสยิดให้การช่วยเหลือในเรื่องอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หลักคิดคือ ใครมีอะไรที่เหลือใช้ก็แบ่งปันกันโดยนำมาใส่ไว้ในตู้ เด็กนักเรียนที่ยากลำบากกว่าก็สามารถมาหยิบไปใช้ได้ตามความต้องการ

๒) มัสยิดไม่ได้มีหน้าที่แค่สถานให้คนมาละหมาด แต่ต้องสร้างและกำหนดแนวทางและทิศทางการพัฒนา ทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลเนื่องจากมัสยิดมีจิตสำนึกด้านจิตวิญญาณอยู่ และมีข้อบัญญัติในเรื่องของเศรษฐกิจต่าง ๆ ต้องมีองค์กรที่ลุกขึ้นมาจัดการ เป็นเจ้าภาพ ซึ่งมัสยิดต้องเป็นเจ้าภาพซึ่งมีอยู่ในทุกชุมชน เรื่องศาสนาเป็นเรื่องของเราที่เราต้องทำเอง อย่างเช่น การมีกองทุนซากาตในการช่วยเหลือกันนำเงินของคนรวยมาช่วยคนจน ในโรงเรียนมีการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่นการทำเกษตร การปลูกผัก เลี้ยงปลา ซึ่งมัสยิดทุกแห่งสามารถดำเนินการได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้นำในแต่ละมัสยิด

๓) การเตรียมแผนในการช่วยเหลือครอบครัวเด็กกำพร้า โดยเตรียมแผนการช่วยเหลือผู้ปกครองในช่วงของการเปิดเทอม เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อน โดยหาเงินซากาตมาช่วยเหลือผู้ปกครอง โดยช่วยเหลือครอบครัวเด็กกำพร้า ๑๐๐ ครอบครัว และกลุ่มเด็กทั่วไปที่พ่อแม่ต้องตกงาน ในเรื่องของมาตรการบรรเทาผลกระทบ

๔) ในการช่วยเหลือประชาชนทั่ว ๆ ดำเนินการในการช่วยเหลือด้านอาหาร เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนรอมฏอน โดยให้ทุกครัวเรือนทำอาหารกล่องครัวเรือนละ ๑-๒ กล่อง จำนวน ๓ วัน เพื่อช่วยเหลือให้คนทั่วไปได้มีอาหารกิน โดยได้รับข้าวกล่องบริจาควันละ ๕๐๐ กล่อง และให้นำมารวมกันที่มัสยิดเพื่อรวบรวมไปแจกจ่ายให้กับคนยากลำบาก ไม่เลือกศาสนาว่าเป็นพุทธหรือมุสลิม เน้นกลุ่มคนยากลำบากเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี

๕) มีการแจกถุงยังชีพไปให้กลุ่มคนยากลำบากในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยได้รับเงินซากาต จำนวน ๒๐ ล้านบาท

๖) นอกจากนี้ได้ร่วมกับร้านอาหารในการทำอาหารแจกให้กับชาวบ้านยากลำบาก เพื่อเป็นการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจให้ร้านอาหารเล็ก ๆ สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วย

ชาคริต โภชะเรือง  รายงาน

Relate topics