ธรรมนูญออนแอร์ครั้งที่ ๒๕ "โควิดคือโอกาสมากกว่าอุปสรรคการทำงานภาคีเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง"

  • photo  , 960x721 pixel , 86,345 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,571 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,354 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,775 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 69,684 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 38,237 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,476 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 50,299 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 44,353 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,700 bytes.

"โควิดคือโอกาสมากกว่าอุปสรรคการทำงาน" คือบทสรุป ธรรมนูญ ON AIR ครั้งที่ ๒๕ ร่วมปฏิบัติการ รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัยโควิด ๑๙

วันเสาร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.

“การลดปัจจัยเสี่ยงบุหรี่ในสถานการณ์โควิด”

๑.สถานการณ์และการขับเคลื่อน

๑.๑ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าใต้ล่าง นายวันอาฟันดี เจ๊ะสาเหาะ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าใต้ล่างมีการทำงานในระดับพื้นที่ คือ ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล สถิติที่เห็นชัด และเป็นบทเรียนสำคัญ จากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศงดการขายเหล้า ทำให้อุบัติเหตุและเหตุทะเลาะวิวาทในพื้นที่ลดน้อยลง จะมีการนำข้อมูลไปเสนอยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นว่าหากไม่มีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ลดอุบัติเหตุได้ ซึ่งมีผลกระทบกับบริษัทเครื่องดื่มเป็นอย่างมาก ซึ่งบริษัทได้มีการปรับตัวด้านการขายโดยมีการบริการเฟสชิล หน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจล บริษัทมีการส่งสินค้าเดลิเวอร์รี่ และสินค้าออนไลน์ รวมทั้งมีการปรับตัวจากขายในผับ เป็นการส่งตามร้านอาหารแทน เช่นเดียวกับการขายบุหรี่ออนไลน์ เดลิเวอรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าตอนนี้มีค่อนข้างเยอะ

ภายใต้วิกฤติโควิด มีโอกาสในเรื่องของการสื่อสารสาธารณะ คือ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสในการเสี่ยงติดโควิดมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากทำให้ปอดอ่อนแอลง ในระดับปฏิบัติการได้มีการขับเคลื่อนในพื้นที่ ๔ มัสยิด ซึ่งใช้การสื่อสารผ่านออนไลน์ ช่องทางแชท

๑.๒ ดร.ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.หาดใหญ่ จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีที่มีการสูบบุหรี่กันมาก สถาบันนโยบายสาธารณะร่วมกับสสส. สธ.และสปสช. ขับเคลื่อนประเด็นบุหรี่สุรายาเสพติด ทั้ง ๑๒ เขต ผ่านกลไกระดับตำบล คือกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล และกลไกระดับอำเภอ ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พอช.) เป็นโครงการที่ทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๖๑ ดำเนินงานไปแล้ว ๒๗ จังหวัด จำนวน ๒๗๖ แผน มีแผนงานด้านบุหรี่ทั้งหมด ๓๐๘ แผน ในพื้นที่ ๑๒ เขต แผนงานด้านยาเสพติด ๓๓๒ แผน ในพื้นที่ภาคใต้ ดำเนินงานทั้งเขต ๑๑ และเขต ๑๒ นำร่องที่ ๗ จังหวัด ๑๖ อำเภอ เน้นการจัดการปัจจัยเสี่ยงสุรายาเสพติด

แนวทางหลักในการทำงาน ได้ให้คำแนะนำกองทุนให้สนับสนุนงบประมาณโครงการที่เกี่ยวข้องสุรายาสูบ และให้หลักคิดในการสร้างเสริมสุขภาพ มีการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ทั้งด้านสมรรถนะส่วนบุคคล และความเข้มแข็งของชุมชน การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ รวมทั้งการผลักดันการสร้างนโยบายสาธารณะ การผลักดันให้เกิดกติกาของชุมชน และขยายความรู้ไปยังพื้นที่เครือข่ายอื่น ๆ ให้กว้างขวางขึ้น

ภายใต้สถานการณ์โควิด ได้มีการจัดทำคู่มือการจัดทำแผนและการจัดการโควิด และการจัดทำแผนปัจจัยเสี่ยง มีศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ สนับสนุนในเรื่องของการพัฒนางานวิจัยโหนดภาคใต้ ทำวิจัยการสำรวจสถานการณ์ยาสูบในช่วงรอมฎอนและพฤติกรรมผู้สูบบุหรี่ในสถานกักกันตัว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการวิเคราะห์และนำเสนอ

๑.๓ มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) คุณกัลยาณา วาจิ เล่าว่ามูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทยเริ่มปี ๒๕๔๖ ทำงานด้านประเด็นสุขภาพ พื้นที่การทำงานคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ มีจังหวัดสุราษฏร์ธานี สงขลา ที่มัสยิดบ้านกลาง และมอ.ปัตตานี เจ้าหน้าที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐ คน กระจายตามศูนย์ต่าง ๆ เป็นการรวมกลุ่มของคณะทำงาน เดิมทำงานภายใต้คณะเศรษฐศาสตร์จุฬา เป็นแผนงานหนึ่ง และภายหลังทีมงานได้มีการพูดคุยในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนขึ้น จึงได้มีการก่อตั้งเป็นมูลนิธิ รวบรวมทุนกันเอง จัดตั้งในปี ๒๕๕๔ การทำงานเริ่มต้นจากมีผู้ใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดจากการประสานพูดคุย

ช่วง ๓-๔ ปี เพิ่งให้ความสำคัญในประเด็นบุหรี่เป็นเฉพาะ เนื่องจากมีงานวิจัยรองรับข้อมูลในการทำงานและวางแผน นำงานวิจัยมาดูก่อน พบว่าในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ อัตราการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูง จึงเน้นเป็นประเด็นหลักในการทำงาน การทำงานจากข้อมูลงานวิจัย พบข้อมูลการสูบบุหรี่ในกลุ่มอุสตาซค่อนข้างเยอะ มีการวางแผนการทำงานกระตุ้นบทบาทครอบครัวและชุมชน มีโครงการย่อย ๆ เช่น โครงการบุหรี่เลิกที่บ้าน โรงเรียนสัญจรเลิกบุหรี่ โครงการมัสยิดครบวงจร ทำงานกับผู้นำชุมชน

ความสำเร็จที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยที่ทำให้เลิกบุหรี่คือภรรยาและบุตร และมีแค่บางส่วนที่เป็นผู้สูงอายุค่อนข้างทำความเข้าใจยาก มองว่าสูบมานานไม่เห็นผลกระทบ เลิกสูบบุหรี่แต่สูบใบจากแทน มองว่าใบจากไม่ใช่บุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไปโดยลดการปลูกใบยาสูบ

ศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ประธานมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย กล่าวว่าบทเรียนการขับเคลื่อนให้เกิดมัสยิดปลอดบุหรี่ คือ หลายมัสยิดตอนเริ่มต้นทำอย่างจริงจัง แต่ค่อยผ่อนคลายลง โต๊ะอิหม่ามเองก็ยังสูบบุหรี่ จึงได้มีปรับแนวคิดการทำโครงการใหม่ คือ สร้างต้นแบบมัสยิดปลอดบุหรี่ และมัสยิดครบวงจร เป้าหมายการทำมัสยิดครบวงจร คือ ขยายไปถึงห้ามการขาย การสูบในพื้นที่ ๕๐ เมตรรอบ ๆ มัสยิดไปด้วย โดยรณรงค์กับร้านค้าให้เห็นโทษของการจำหน่ายบุหรี่ที่จะกระทบกับคนในครอบครัว มีผลเสียมากกว่ากำไรเล็กน้อยซึ่งได้ประโยชน์มาก เพราะมีร้านค้าที่ขายบุหรี่มาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีโครงการบุหรี่เริ่มที่บ้าน เป็นการรณรงค์ในการสร้างความเข้าใจระดับครัวเรือน ซึ่งการทำงานกับครอบครัวเน้นในมิติการลดรายจ่าย และเป็นการป้องกันสุขภาพของคนในครอบครอบครัว

๑.๖ ตัวแทนชุมชนเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงเขต ๑๒ คุณกัลยา เอี่ยวสกุล พบข้อมูลหมู่บ้านหนึ่งมีคนสูบบุหรี่ราว ๑ พันคน ตอนนี้มีการเก็บข้อมูลในเขตเทศบาลจังหวัดปัตตานี กระตุ้นให้ลดละเลิก ให้มีการเขียนโครงการมัสยิด ลดละเลิกบุหรี่ โดยร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ มอบป้ายรณรงค์ในพื้นที่ รพ. บขส. เทศบาลที่ยังมีคนสูบบุหรี่จำนวนมาก มีการทำข้อตกลงกับหน่วยงาน ราชการ ผู้ประกอบการร้านค้า โดยร่วมกับ จังหวัด และการเฝ้าระวัง มอบป้ายให้กับหัวหน้าส่วนทุกภาคส่วน รวมทั้งกิจกรรมถอดบทเรียนการทำงานร่วมกับหน่วยงาน เป้าหมายคือ ลดจำนวนคนที่สูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะลง นอกจากนี้ในระดับชุมชน/หมู่บ้านยังมีการทำข้อตกลงกติกาของชุมชน กิจกรรมการเติมกำลังใจเติมพลังกัน มีพื้นที่ต้นแบบคือ ตะโล๊ดือรามัน

การปรับตัวช่วงโควิด ขาดการลงพื้นที่ มีลงพื้นที่บ้าง และชวนมาแลกเปลี่ยนที่สำนักงาน มีผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ รพ สต โต๊ะอิหม่าม โควิดไม่ได้เป็นอุปสรรค มีการแลกเปลี่ยนกันผ่านระบบไลน์

๑.๘ เครือข่ายงดเหล้าจังหวัดสงขลา คุณธิรดา ยศวัฒนะกุล จากสถานการณ์โควิด ทำให้การทำงานเปลี่ยนไป มีการพบปะทำกิจกรรมที่ต้องพบกับคนจำนวนมากไม่ได้ มีการติดต่อที่ยากและลำบากมากขึ้น ได้มีการคุยกันเรื่องในการวางแผน โดยต้องมีการทำงานบนอากาศมากขึ้น ผ่านรูปแบบการประชุมทางไกล หรือผ่านการใช้เฟชบุ๊ค live เผยแพร่ผ่านยูทูป ซึ่งการทำงานบนอากาศเป็นช่องทางการทำงานใหม่ของพื้นที่ เป็นโอกาสหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะเยาวชน รวมทั้งการแนะนำการใช้สื่ออย่างถูกต้อง การเสพข่าว การสื่อสารกับชุมชน

ผลที่เกิดขึ้นอีกอย่างก็คือ ได้เครือข่ายเพิ่มขึ้น มีกลุ่มเยาวชนของพื้นที่ เด็กเยาวชนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ดีกว่า และจะมาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนได้ นอกจากนั้นแล้วโอกาสที่ได้จากสถานการณ์โควิด หน่วยงานยังไปสนับสนุนการคัดกรอง การผลิตหน้ากากเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเครือข่ายงดเหล้าส่วนกลาง สนับสนุนในเรื่องเจล หน้ากาก ใช้การแบ่งปันในช่วงสถานการณ์โควิดเป็นการสร้างโอกาสการทำงานและมีเครือข่ายมากขึ้น

ที่สำคัญ ได้ร่วมกับศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา ที่มีการทำงานในเรื่องของสื่อสารสาธารณะ เพื่อรณรงค์ในกลุ่มคนที่ติดเหล้า โดยใช้การไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊คเป็นการสื่อสาร โดยไลฟ์สดทุกวันพฤหัสบดี โดยขับเคลื่อนในเชิงความรู้ สร้างความเข้าใจและการสื่อสารกับชุมชนและคนทั่วไป

๑.๙ เครือข่ายผู้นำศาสนาจ.นราธิวาส อีหม่านอัสมี เจ๊ะบือราเฮง ในช่วงสถานการณ์โควิดมีการสื่อสารกับพื้นที่และชุมชน โดยใช้การสื่อสารทางกลุ่มไลน์ เพื่อให้ชุมชนได้รับทราบ และแต่ละพื้นที่กระจายต่อผ่านหอกระจายข่าว หน่วยงานต่าง ๆ ก็เข้ามาร่วม มีการช่วยเหลือ อสม. รพ.สต.ด้วยการทำหน้ากาก เจล เพื่อแจกจ่ายให้กับชุมชนในพื้นที่ ในช่วงฮารีรายอ ได้มีการรณรงค์เว้นระยะห่าง การใช้หน้ากาก และเจลล้างมือ โดยชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

๑.๑๐ สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข คุณอิลฟาน ตอแลมา ทำงานรณรงค์บุหรี่ในสถานศึกษา การจัดทำสื่อสารสาธารณะ โดยให้เยาวชนจัดทำ เผยแพร่ผ่านช่องทางแอพฯ เช่น Tik Tok ทำหนังสั้น ในพื้นที่โรงเรียนสายบุรี การทำงานภายใต้สถานการณ์โควิด มีโอกาสการทำงานรณรงค์มากขึ้น เช่น สื่อถึงกลุ่มเสี่ยงว่าการสูบบุหรี่ทำให้เสี่ยงต่อการติดโควิดมากขึ้น และพรบ.ฉุกเฉิน ทำให้การเดินทางไปซื้อบุหรี่เป็นไปได้ยากขึ้น ประกอบกับการขาดรายได้ทำให้ลดการสูบบุหรี่ไปด้วย การทำงานรณรงค์มีการปรับตัวมาก ในการจัดเวทีประชุม โรงเรียนปิดทำงานไม่ได้ แต่มีการสื่อสารผ่านทางไลน์

๒.ข้อเสนอแนะ

๑.ควรทำงานรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่ในพื้นที่จังหวัดสตูลให้มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่จังหวัดสตูลยังมีการสูบบุหรี่กันมากและไม่มีแนวโน้มลดลง

๒.ผลักดันกองทุนสุขภาพตำบลให้รองรับการของบประมาณที่มีเงื่อนไขสร้างสภาพแวดล้อม การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง รวมถึงการมีข้อตกลงหรือกติกาชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ มากกว่าเน้นกิจกรรมอบรมปรับพฤติกรรมบุคคล

๓.การทำงานทั้งเรื่องบุหรี่และเหล้าต้องแก้ปัญหาจากครอบครัว และสร้างบทบาทให้ผู้นำศาสนาให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น การจัดทำธรรมนูญสุขภาพเพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน ในการลดละเลิกการสูบบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง

๔.สร้างโอกาสและเปิดช่องทางการทำงานกับกลุ่มเยาวชน โดยให้เยาวชนจัดทำสื่อรณรงค์ ใช้เทคโนโลยี ช่องทางสื่อสารต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สามารถสร้างการสื่อสารที่น่าสนใจได้

๕.การทำงานด้านการสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบให้กับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัด การทำงานในการณรงค์การใช้เครื่องดื่มในเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยถอดบทเรียนมาจากการทำงานในพื้นที่ ๗ ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้

๖.ร่วมกันรับมือผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เสริมอาชีพ รายได้ที่จะทำให้กลุ่มเสี่ยงหลุดพ้นจากการเข้าไปหาประโยชน์จากการจำหน่ายบุหรี่และยาเสพติด

๗.การจัดทำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผ่านระบบออนไลน์ การเรียนรู้หลักสูตรต่าง ๆ ผ่านระบบประชุมทางไกล และพัฒนาเป็นช่องทางให้สมาชิกเครือข่ายได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายได้มากขึ้น

๘.การพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย ให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันหลาย ๆ เครือข่าย และเชื่อมโยงข้ามประเด็น

๙.เพิ่มมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงในมัสยิดไปยังสำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อให้มัสยิดมีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนสร้าง New normal นอกจากในเรื่องของการละหมาด เพิ่มการปรับเปลี่ยนสถานที่มัสยิดและนอกรั้วมัสยิดให้ปลอดบุหรี่

ข้อมูลเพิ่มเติม

เว็บไซต์แนะนำ  https://ddc.moph.go.th/odpc12/…

https://www.localfund.happynetwork.org/

เพจ ศจย. https://www.facebook.com/TRCTobaccoControlResearch/

ซอฟียะห์ นิมะ : Sophie Daily Podcast


ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics