เด็กตาดีกาพาเลิกบุหรี่ภารกิจร่วมเพื่อการลดละเลิกบุหรี่ของมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย
เด็กตาดีกาพาเลิกบุหรี่ภารกิจร่วมรณรงค์การลดละเลิกบุหรี่มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลโครงการเด็กตาดีกาพาเลิกบุหรี่ ในช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา นายมูฮามัดอัลอามีน กูนา (หัวหน้าทีม) นายอับดุลรอซะ ยะหริ่ง และนายซัยฟุดดีนล์ ตุยง คณะทำงานโครงการเด็กตาดีกาพาเลิกบุหรี่ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลโรงเรียนตาดีกาในพื้น 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ และประเมินความพร้อมของโรงเรียนตาดีกา
จากการลงพื้นที่ดังกล่าวได้รับการตอบรับจากคุณครูและนักเรียนโรงเรียนตาดีกาเป็นอย่างดี มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมและมีมาตรการป้องกันโควิด-19
โครงการ “เด็กตาดีกาพาเลิกบุหรี่” เป็นโครงการที่ปรับปรุงมาจากโครงการ “สัญจรโรงเรียนพาเลิกบุหรี่” เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้และสันทนาการเพื่อสร้างความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ให้กับเด็กโรงเรียนตาดีกา (ศูนย์อบรมจริยธรรมชุมชน) รวมถึงคุรุสัมพันธ์ในภาคกลาง ตระเวณไปตามมัสยิดต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
โดยมีความคาดหวังให้เด็กๆ เป็นสื่อกลางนำความรู้และทักษะที่ได้ไปสร้างความเข้าใจกับคนในครอบครัวโดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่ จนสามารถสร้างและใช้มาตรการจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด
เด็กตาดีกาพาเลิกบุหรี่
บ้านนี้มีเด็ก
เลิกบุหรี่เริ่มที่บ้าน
เลิกบุหรี่บ้านละคน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”