เตรียมการสู่ "งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12"

  • photo  , 1600x900 pixel , 180,210 bytes.
  • photo  , 1280x851 pixel , 141,509 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 159,650 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 76,222 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 78,205 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 90,504 bytes.
  • photo  , 1360x768 pixel , 181,624 bytes.
  • photo  , 1000x565 pixel , 108,316 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 90,504 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 190,229 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 75,428 bytes.
  • photo  , 1000x707 pixel , 155,495 bytes.

วันที่ 7- 8 กันยายน 2563  ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ ‘64  ภาคใต้แห่งความสุข ในวิถี new normal

งานสร้างสุขภาคใต้ ได้จัดครั้งแรกเมื่อปี 2549 รวมจัดมาแล้ว 11 ครั้ง โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานเชิงนโยบายด้านสุขภาพ เช่น สสส. สช. สธ. สปสช. การจัดงานแต่ละครั้งจะมี theme ที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในประเด็นต่าง ๆ งานสร้างสุขในภาคใต้เป็นเวทีสานงานเสริมพลังของเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แล้วยกระดับไปสู่การสานนโยบาย เพื่อให้ทิศทางการแก้ปัญหาเชิงโยบายมีทิศทางที่ดีขึ้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ในฐานะหน่วยงานแกนนำจัดงานสร้างสุข กล่าวว่า สำหรับการจัดงานสร้างสุขในปี 2564 นี้ มีสโลแกนว่า “สานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New normal”  เป็นครั้งที่ 12 มีแผนจัดในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 มีเวทีหลักที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.  สช. สปสช. สธ. และ พอช. โดยมี สนส. มอ. เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือและเชื่อมการทำงานของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพในภาคใต้ โดยมีเป้าหมายสร้างให้เกิดความมั่นคงทางสุขภาวะใน 4 ด้าน 12 ประเด็นย่อย คือ

1.ความมั่นคงทางสุขภาพ : กลไกระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม  ระบบสุขภาพพหุวัฒนธรรม (แกนประสาน คือ นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย)

2.ความมั่นคงทางอาหาร : ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ (แกนประสาน คือ คุณทวีวัตร เครือสาย)

3.ความมั่นคงทางมนุษย์ : การจัดการปัจจัย (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด)  เด็ก เยาวชนและครอบครัว ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง (แกนประสาน คือ คุณเจกะพันธ์ พรหมมงคล)

4.ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม :  การจัดการภัยพิบัติ การท่องเที่ยวชุมชน การจัดการขยะ (แกนประสาน คือ คุณไมตรี จงไกรจักร์)

โดยประเด็นดังกล่าวนี้ได้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือ SDG  ที่กำหนดประเด็นการพัฒนาหลัก ๆ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านสุขภาพ

สำหรับการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงก่อนงาน เป็นการหนุนเสริมกระบวนการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่ ถอดบทเรียนระดับพื้นที่ สังเคราะห์งานวิชาการ และพัฒนาเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำเข้าสู่งานสร้างสุข โดยเอกสารเชิงนโยบายที่แต่ละประเด็นจะต้องจัดเตรียมเพื่อเข้าสู่งานสร้างสุขนั้น ควรมีประเด็นที่สำคัญ ๆ เช่น มีองค์ความรู้อะไร อย่างไรบ้าง / มีการพัฒนาศักยภาพคนและเครือช่ายอย่างไร / การสังเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่ดี ๆ หรือพื้นที่ต้นแบบ และข้อเสนอเชิงนโยบาย

ช่วงระหว่างงาน เป็นการจัดงานสร้างสุขในรูปแบบ On air และ On ground 2 วัน 1 คืน

ช่วงหลังงาน เป็นการจัดทำแผนขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากงานสร้างสุข จัดประชุมร่วมกับผู้บริหารองค์กรที่มารับข้อเสนอเชิงนโยบาย และภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ด้าน


สำหรับการจัดงานในปีนี้จะแตกต่างกับปีก่อน ๆ  จากการจัดงานใหญ่ในที่เดียว มีผู้เข้าร่วมงานราว 1,500 คน ในปีนี้ จะจัดตั้งคณะทำงานทั้ง 14 จังหวัด แล้วสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่แต่ละจังหวัดมาร่วมกันทำงาน และเป็นพื้นที่จัดงานสร้างสุขในระดับจังหวัด นอกจากนี้ ยังอาศัยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการจัดประชุมด้วยการใช้ระบบ zoom และไลฟ์สดในการจัดประชุมออนไลน์ และรับสัญญาณบางช่วงจากเวทีหลักอีกด้วย คาดว่า ในเวทีหลักจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คน และเวทีระดับจังหวัดอีกเวทีละ 200 คน

สำหรับภาคใต้ พยายามบูรณาการงบประมาณจากหลายหน่วยงานด้านสุขภาพมาสนับสนุนการจัดงานสร้างสุขเพื่อตอบสนองหลายเป้าหมายของทุกหน่วยงานไปในคราวเดียว

ร่างกำหนดการ

24 พฤษภาคม 64  พิธีเปิดและการแสดงเปิดงาน /ปาฐกถาพิเศษ /เสวนาการขับเคลื่อนภาคใต้แห่งความสุขในสถานการณ์ new normal /ประชุมหารือเชิงประเด็น
25 พฤษภาคม 64  วงหารือการขับเคลื่อนกระบวนการสุขภาวะในระดับจังหวัด  และการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเชิงประเด็น และเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด


ทางด้านคุณประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ นักบริหารงานภาคีสัมพันธ์ชำนาญการ สำนักภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส.  นำเสนอว่า จากงานสร้างสุขช่วงแรกที่นำเอาคนที่มีเคมีหรือความชอบเหมือนกัน ทำงานในประเด็นเดียวกันมาเจอกัน แล้วกลับไปพัฒนางานของตัวเองต่อ

แต่สำหรับงานสร้างสุขภาคใต้ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 ถูกพัฒนาและยกระดับมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า สสส. จะพบข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ก็พยายามที่จะรักษางานสร้างสุขไว้ได้ เพราะว่าสามารถตอบโจทย์ของ สสส. ได้

ภูมิภาคอื่น ๆ ก็กำลังเฝ้ามองว่าทำไมเวทีสร้างสุขของภาคใต้ยังสามารถจัดอยู่ได้อย่างต่อเนือง  ซึ่งมองว่าแกนนำ แกนประเด็น แกนจังหวัด และผู้เข้าร่วมงานได้ประโยชน์คือสิ่งที่ทำให้งานสร้างสุขของภาคใต้ยังอยู่ได้จนถึงตอนนี้


สำหรับคุณกรฤทธิ ชุมนูรักษ์  ผู้ชำนาญการ และผู้ประสานงานเขต 12 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ สช. ในฐานะอีกหน่วยงานสนับสนุนการจัดงาน นำเสนอว่า จุดเน้นของ สช. คือการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างมีส่วนร่วม  อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา สช. ก็มีข้อจำกัดด้านงบประมาณเช่นกัน แต่ยังยืนยันว่ายังคงสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ให้สามารถเดินหน้าและขับเคลื่อนได้

สำหรับงานธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ ก็พยายามสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อบูรณาการงานและงบประมาณร่วมกันมากขึ้น นอกจากนี้ สช. ยังได้หนุนเสริมการทำงานของบางประเด็นผ่านทางกลไกต่างๆ เช่น กขป.  สมัชชาพื้นที่ ที่สอดรับกับประเด็นต่าง ๆ ของงานสร้างสุขด้วย


คุณอานท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ ที่มีบทบาทสนับสนุนงานสื่อสารของภาคีเครือข่าย เล่าว่า ทางด้านเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ได้ร่วมสนับสนุนการทำงานของเครือข่าย โดยมีภาคีที่ยินดีร่วมสื่อสารการทำงานในแต่ละประเด็น แบ่งเป็น

-สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงาอันดามัน สนับสนุนการสื่อสารของภาคีภาคใต้ตอนบน

-สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ สนับสนุนการสื่อสารภาคีในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง

-สมาคมอาสาสร้างสุข สนับสนุนการสื่อสารภาคีในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

สำหรับรูปแบบการสื่อสารทั้งการจัดรายการวิทยุ การไลฟ์สด streaming การเขียนบทความข่าว และอื่น ๆ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้สื่อสารในแต่ละประเด็นทั้งก่อนการจัดงานและระหว่างงาน

ติดตามความก้าวหน้าการจัดงานได้ที่ http://hsmi.psu.ac.th

ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ  แดนใต้สร้างสุข

Relate topics