ประชุมเชิงปฏิบัติการสานพลังความร่วมมือลดปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒
ประชุมเชิงปฏิบัติการสานพลังความร่วมมือลดปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒
วันที่ ๒๓-๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ กขป.เขต ๑๒ คณะอนุกรรมการและเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ เขต ๑๒ อาทิเครือข่ายองค์กรงดเหล้าใต้ล่าง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๒ (สคร.) รพ.ธัญญารักษ์สงขลา สกว.สตูล มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย(สสม.) สมาคมจันทร์เสี้ยวฯ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ฯลฯ จัดประชุมเชิงปฎิบัติการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนงานประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ณ โรงแรมคุ้มไทรงาม ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา
เริ่มด้วยการรับฟังเรื่องเล่าดีๆจากพื้นที่ ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ทาง สสอ.หาดใหญ่ รพ.สต.ฉลุง เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ โดย รพ.หาดใหญ่ประสานงานมาเพื่อให้เป็นพื้นที่ดำเนินการตัวอย่างระดับตำบล รพ.สต.ฉลุงจึงได้ประสานเครือข่ายในพื้นที่ จัดตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ ร่วมเรียนรู้สำรวจข้อมูลครัวเรือน เพื่อนำมากำหนดแนวทางแก้ปัญหา โดยมีเป้าหมานร่วม สร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่ การป้องกันเยาวชนเข้าไปเป็นนักสูบหน้าใหม่ การช่วยบำบัดรักษาผู้เสพ และคุ้มครองบุคคลที่ ๓ ที่ได้รับผลกระทบ โดยวางแผนร่วมกับคณะทำงานระดับหมู่บ้าน มีการพัฒนาศักยภาพสร้างความรับรู้และยกระดับความรู้โดยทีมรพ.หาดใหญ่ให้กับผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน อสม. จากนั้นได้ทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่วางไว้ มีทั้งปรับพฤติกรรมด้วยการกดจุดเท้าเพื่อลดความอยากสูบบุหรี่ การบำบัดในมัสยิด การใช้ยาอมสมุนไพร การส่งต่อเชื่อมโยงการบำบัดรักษา การรณรงค์ในหมู่บ้าน การหาคนต้นแบบเลิกบุหรี่ การทำสื่อและประกาศเขตปลอดบุหรี่ การเป่าปอดเพื่อสร้างความตระหนัก การจัดตั้งชมรมฉลุง Kid การปรับสภาพแวดล้อมให้มีร้านอาหารปลอดบุหรี่ ร้านค้า ตลาดนัด ร้านน้ำชา งานบุญ งานแต่ง ร้านชำที่ไม่ขายบุหรี่ และคลีนิคอดบุหรี่
พื้นที่หมู่บ้านกาลันบาตู (ทุ่งส้ม) ต.ตำมะลัง อ.เมือง จ.สตูล ดำเนินการโดยทีมงานสกว.ที่เป็นพี่เลี้ยงพัฒนาศักยภาพแกนนำพื้นที่จังหวัด และแกนนำชุมชนโดยเฉพาะอสม. ที่นี่เป็นพื้นที่ปิดอยู่บนเกาะ ประชากร ๔๗ ครัวเรือน เน้นการมีส่วนร่วมให้ชุมชนจัดการตนเอง ใช้การวิจัยแบบชาวบ้านนำความรู้จากการวิจัยแบบง่ายๆมาทดลองปฏิบัติ ผ่าน ๑๐ กิจกรรมสำคัญ มีการเก็บแบบสอบถาม การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล การสังเกตุพฤติกรรม นำมาสู่การคืนข้อมูล การเยี่ยมบ้าน การรณรงค์ และกำหนดกติกาของชุมชน
พื้นที่ ต.เขาพระ จ.สงขลา ดำเนินการโดยมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย(สสม.) ผ่านกิจกรรมมัสยิดครบวงจร ลดอัตราการสูบบุหรี่โดยกลไกทางศาสนา เริ่มด้วยการวิจัยพบว่าโดยสัดส่วนประชากร มุสลิมสูบบุหรี่มากกว่าคนไทย มีทั้งสูบใบจาก บุหรี่ไฟฟ้า ทั้งจากวิถีวัฒนธรรม ค่านิยม การเลียนแบบพฤติกรรม จึงได้เริ่มแคมเปญ "เลิกบุหรี่เริ่มต้นที่บ้าน" และ "เลิกบุหรี่บ้านละคน" อาศัยความรักและสุขภาพของคนในครอบครัวสร้่างแรงจูงใจในการลด ละ เลิก อาศัยบุคคลที่ ๓ ในครอบครัวกระตุ้นเพราะพบผลกระทบไม่ต่างจากคนสูบ พบว่าลูกสาวสามารถโน้มน้าวได้ดี การดำเนินงานเริ่มจากชักชวนเครือข่ายที่เป็นกรรมการมัสยิด ประสานผู้นำ สร้างแกนนำ หาครัวเรือนที่สมัครใจ ให้ความรู้แก่ชุมชน/เยาวชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลิตสื่อที่เข้าใจง่าย สื่อสารสาระสำคัญ ทำป้ายควบคุม สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ดำเนินการ
พื้นที่ ต.เกะรอ อ.รามัน จ.ยะลา ดำเนินการโดยศูนย์ฺประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าตอนล่าง(ศคล.) ต่อยอดกิจกรรมรณรงค์มาสู่การเปิดคลีนิดเคลื่อนที่ร่วมกับคณะกรรมการมัสยิด คลีนิคฟ้าใส สสอ. รพ. ประกอบกับได้โอกาสจากนโยบายของสสจ.ที่ลงมาในพื้นที่ ได้สร้างมัสยิดต้นแบบ บุคคลต้นแบบ (หัวใจหิน/เหล็ก/เพ็ชร) พัฒนามาเป็นชมรม การเปิดคลีนิคเคลื่อนที่ มีเครื่องวัดคาร์บอนไดออกไซด์ การตรวจออกซิเจน Z หลังละหมาด ทำให้ผู้เข้าละหมาดเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ นำมาสู่การปรับพฤติกรรม เสริมด้วยกิจกรรมบวชใจ ปฎิญาณตน กิจกรรมช่วงรอมฏอม การเชิดชูเกียรติ
ที่ประชุมร่วมสังเคราะห์บทเรียน เห็นทั้งโอกาสและข้อจำกัดที่มีอยู่ และบทเรียนการใช้พลังและกระบวนการทางสังคมมาเสริมระบบบริการบำบัดรักษาและทางกฏหมาย มาปรับพฤติกรรม เห็นการทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่าย มีความเป็นสหวิทยา มีความต่อเนื่อง "ลดช่องว่างการทำงาน" "หากันให้เจอ" "ทำให้เห็นดีกว่าบอกให้ฟัง" "มองปัญหาเป็นโอกาส" "สร้างค่านิยมใหม่กับคนรุ่นใหม่" นำมาสู่ความร่วมมือกับกขป.เขต ๑๒
๑)สร้างกระบวนการเรียนรู้ ยกระดับแกนนำ สร้างแรงบันดาลใจ ให้กำลังใจและเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่าย ผ่านเวทีกลางทั้งรูปแบบประชุมแบบพบหน้่าและประชุมทางไกล
๒)สร้างระบบสนับสนุน นำข้อมูลพื้นที่ต้นแบบ บุคคลต้นแบบ กิจกรรมเด่น องค์ความรู้ สื่อ นำเสนอในภาพรวมของระดับเขต รวมถึงการพัฒนากลไกความร่วมมือในพื้นที่ระดับจังหวัดและตำบล เพื่อประสานให้เกิดระบบข้อมูลกลาง(คนสูบบุหรี่ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ฯลฯ) แนะนำองค์กรภาคีเครือข่าย ใครทำอะไร ที่ไหน งบประมาณ กิจกรรมในการดำเนินการ ผ่าน www.AHsouth.com
๓)สร้างความร่วมมือมีพื้นที่ปฎิบัติการ จังหวัดละ ๑ ตำบล โดยต่อยอดความรู้จากพื้นที่ตัวอย่าง พัฒนา Platform ลดปัจจัยเสี่ยง (เริ่มด้วยค้นหาพื้นที่/แกนประสาน ทีมกลางลงประสานความเข้าใจ จัดตั้งกลไกกลาง(ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา ชุมชน ส่วนภูมิภาค) พัฒนาศักยภาพยกระดับความรู้กำหนดเป้าหมายร่วม จัดตั้งคณะทำงาน ประกาศเชิงนโยบายให้เกิดการรับรู้ การสื่อสารกับชุมชน ค้นหากลุ่มเป้าหมาย ผ่านการสำรวจข้อมูล อาทิ ๑)แบบสอบถาม แบบประเมิน/คัดกรอง ๒)คลินิกเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพ/เป่าปอด
๓)ระบบเยี่ยมบ้าน นำมาสู่การคืนข้อมูลจัดทำแผนจัดการบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงระดับตำบล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ๑)กลุ่มผู้เสพที่ต้องบำบัด ๒)การป้องกันกลุ่มผู้เสพใหม่ ๓)ลดผลกระทบกลุ่มบุคคลที่ ๓ ด้วยมาตรการหรือกติกาสังคม (อาทิ ยกย่องชื่นชมบุคคลต้นแบบ/ครัวเรือนต้นแบบ /จัดการสภาพแวดล้อม ร้านค้า ตลาด วัด/มัสยิด ตาดีกา โรงเรียน/งานบุญประเพณี/กองทุนกลาง) พร้่อมกับทำสื่อรณรงค์ Social media การจัดให้มีเขตปลอดบุหรี่ และพัฒนาระบบบริการ ในส่วนของระบบข้อมูลกลาง ระบบเยี่ยมบ้าน การบังคับใช้กฏหมาย ระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างรพ. รพ.สต.กับชุมชน การเปิดคลีนิคเลิกบุหรี่เชิงรุก การจัดตั้งชมรม/กลุ่ม/เครือข่ายร่วมดำเนินการ
ขั้นตอนต่อไป จัดประชุมกลุ่มย่อยผ่านการประชุมทางไกล พัฒนาแบบสำรวจข้อมูล ค้นหาเป้าหมายร่วมของภาคีความร่วมมือ เพื่อนำไปพัฒนาแอพพลิเคชั่น : ลดปัจจัยเสี่ยง ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา และประสานกับกลไกระดับจังหวัด และตำบลเป้าหมายลงร่วมดำเนินการต่อไป
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”